พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน, การฉ้อฉล, การผิดสัญญา, ละเมิด: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิหน้าที่ของผู้ซื้อ-ผู้ขาย และความรับผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย20,000บาทแก่โจทก์จำเลยที่3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิได้อุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยจำเลยที่3และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไรกลับฎีกาว่าจำเลยที่3และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิดซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1และที่3ร่วมกับจำเลยที่2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่1จะขายให้แก่น.ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของน.เสียเปรียบและจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่4เป็นทนายให้จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วยซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับน. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1แล้วแล้ว200,000บาทคงค้างชำระอีก190,000บาทเมื่อน.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของน.ชำระค่าที่ดิน290,000บาทและรับโอนที่ดินในวันที่7กรกฎาคม2532หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าวจำเลยที่1ขอบอกเลิกสัญญาดังนี้เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของน.ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่8มิถุนายน2532แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่20กรกฎาคม2532ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควรจะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่1ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ290,000บาททั้งๆน.ค้างชำระเพียง190,000บาทโจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาจำเลยที่1ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่1เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่2ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์แต่ขณะทำนิติกรรมนั้นจำเลยที่2มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้และการกระทำของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้นยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการฉ้อฉลและผิดสัญญาซื้อขาย: การกระทำที่มิใช่ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย 20,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิด ซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ น. ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.เสียเปรียบ และจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่ 4เป็นทนายให้จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกัน ต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วย ซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้ การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ น. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้ น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 200,000 บาท คงค้างชำระอีก 190,000 บาท เมื่อ น.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ชำระค่าที่ดิน 290,000 บาท และรับโอนที่ดินในวันที่ 7กรกฎาคม 2532 หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขอบอกเลิกสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน2532 แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่ 20 กรกฎาคม 2532 ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควร จะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ 290,000 บาท ทั้ง ๆ น.ค้างชำระเพียง 190,000 บาท โจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้ และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่ขณะทำนิติกรรมนั้น จำเลยที่ 2 มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้น ยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 420 จึงไม่เป็นละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ น. ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.เสียเปรียบ และจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่ 4เป็นทนายให้จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกัน ต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วย ซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้ การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ น. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้ น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 200,000 บาท คงค้างชำระอีก 190,000 บาท เมื่อ น.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ชำระค่าที่ดิน 290,000 บาท และรับโอนที่ดินในวันที่ 7กรกฎาคม 2532 หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขอบอกเลิกสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน2532 แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่ 20 กรกฎาคม 2532 ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควร จะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ 290,000 บาท ทั้ง ๆ น.ค้างชำระเพียง 190,000 บาท โจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้ และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่ขณะทำนิติกรรมนั้น จำเลยที่ 2 มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้น ยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 420 จึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8506/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกระทรวงกลาโหมต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการในสังกัดตามมาตรา 76
จำเลยที่ 1 รับราชการในกองทัพบกจำเลยที่ 3 และกระทำการในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3เป็นส่วนราชการของกองบัญชาการทหารสูงสุดและกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมจำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 3 และเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำในหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนที่ดินจากผู้รับโอน กรณีประพฤติเนรคุณ ต้องมีพฤติการณ์ร้ายแรงตามกฎหมาย
ข้ออ้างของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องนั้น มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ได้ประทุษร้ายต่อโจทก์ทั้งสองเป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา หรือจำเลยที่ 1 ได้ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองอย่างร้ายแรง หรือจำเลยที่ 1 ได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ทั้งสองในเวลาที่โจทก์ทั้งสองยากไร้และจำเลยที่ 1 ยังสามารถจะให้ได้แต่อย่างใดแม้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ขับไล่โจทก์ทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายมาด้วยว่าจำเลยที่ 1 ขับไล่โจทก์ทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทด้วยการกระทำหรือด้วยวาจาอย่างใดอันจะฟังได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่ 1 ได้ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองอย่างร้ายแรง ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ ก็ไม่มีเหตุที่จะถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสองอันจะทำให้โจทก์ทั้งสองเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 531 แต่อย่างใด โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1ได้ และเมื่อโจทก์ทั้งสองไม่อาจเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ทั้งสองก็ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2และนิติกรรมการขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 และที่ 4 ได้ด้วย
ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองจะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาหากศาลฎีกาเห็นสมควร ก็ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองจะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาหากศาลฎีกาเห็นสมควร ก็ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้ที่ดิน - เนรคุณต้องปรากฏการประทุษร้ายหรือการทำให้เสียชื่อเสียง จึงจะเรียกคืนได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่1ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องนั้นมิได้บรรยายว่าจำเลยที่1ได้ประทุษร้ายต่อโจทก์ทั้งสอง เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญาหรือจำเลยที่1ได้ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองอย่างร้ายแรงหรือจำเลยที่1ได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ทั้งสองในเวลาที่โจทก์ทั้งสองยากไร้และจำเลยที่1ยังสามารถจะให้ได้แต่อย่างใดแม้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาว่าจำเลยที่1ขับไล่โจทก์ทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่1ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ก็มิได้บรรยายมาด้วยว่าจำเลยที่1ขับไล่โจทก์ทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทด้วยการกระทำหรือด้วยวาจาอย่างใดอันจะฟังได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่1ได้ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองอย่างร้ายแรงดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีเหตุที่จะถือได้ว่าจำเลยที่1ได้ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสองอันจะทำให้โจทก์ทั้งสองเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531แต่อย่างใดโจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่1ได้และเมื่อโจทก์ทั้งสองไม่อาจเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที1แล้วโจทก์ทั้งสองก็ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2และนิติกรรมการขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่2กับที่3และที่4ได้ด้วย ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองจะขอให้บังคับจำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองได้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่1จะมิได้ฎีกาหากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ แม้ที่ดินจำเลยไม่ติดกับที่ดินผู้ใช้ทาง ศาลกำหนดความกว้างทางจำเป็นตามความเหมาะสม
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยออกตามทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินของโจทก์ซึ่งกว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร แล้วผ่านทางพิพาทยาวประมาณ 100 เมตร และผ่านทางสาธารณประโยชน์ยาวประมาณ 100 เมตร สู่ถนนซอยอมรพันธุ์นิเวศน์ 4ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลย จึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้ว เจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดิน ที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่น แม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000 บาท ไม่ใช่ 10,000 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง 8 เมตร และควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง3.50 เมตร ซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนในรถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นแม้ที่ดินจำเลยไม่ติดกับที่ดินโจทก์ และการกำหนดขอบเขตทางจำเป็นที่สมควร
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยออกตามทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินของโจทก์ซึ่งกว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร แล้วผ่านทางพิพาทยาวประมาณ 100 เมตร และผ่านทางสาธารณประโยชน์ยาวประมาณ 100 เมตรสู่ถนนซอยอมรพันธุ์นิเวศน์ 4 ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลย จึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้ว เจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่น แม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้
ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000 บาท ไม่ใช่ 10,000 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง 8 เมตร และควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนให้รถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้ว เจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่น แม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้
ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000 บาท ไม่ใช่ 10,000 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง 8 เมตร และควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนให้รถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ที่ดินถูกล้อมรอบสิทธิใช้ทางแม้ไม่ติดกัน ศาลกำหนดความกว้างทางพอสมควร
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะแต่โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยออกตามทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินของโจทก์ซึ่งกว้างประมาณ8เมตรยาวประมาณ300เมตรแล้วผ่านทางพิพาทยาวประมาณ100เมตรและผ่านทางสาธารณประโยชน์ยาวประมาณ100เมตรสู่ถนนซอยอมรพันธ์ุนิเวศน์4ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลยจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้วเจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้นดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่นแม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000บาทไม่ใช่10,000บาทดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุดจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง8เมตรและควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง3050เมตรซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนในรถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค กรณีหนี้เดิมและการทำสัญญากู้เงิน
จำเลยเป็นผู้สลักหลังเช็คที่ ย.สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าว จำเลยซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คย่อมต้องรับผิดร่วมกับ ย.ชำระหนี้ให้โจทก์
เมื่อหนี้เดิมจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามเช็คแต่ต่อมาได้ทำสัญญากู้เงินกันแทน หนี้จำนวนนี้ย่อมเป็นหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมายแม้ตอนทำสัญญากู้เงินจำเลยมิได้รับเงินจากโจทก์ แต่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนแล้วตามจำนวนหนี้ที่ ย.สั่งจ่ายเช็คและจำเลยเป็นผู้สลักหลัง โดยจำเลยไม่จำต้องเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ร่วมกับ ย. จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้รายนี้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้มีการทำสัญญากู้เงินกันแทน ถือว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามกฎหมาย แม้ในวันทำสัญญากู้เงินจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คโดยลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
เมื่อหนี้เดิมจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามเช็คแต่ต่อมาได้ทำสัญญากู้เงินกันแทน หนี้จำนวนนี้ย่อมเป็นหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมายแม้ตอนทำสัญญากู้เงินจำเลยมิได้รับเงินจากโจทก์ แต่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนแล้วตามจำนวนหนี้ที่ ย.สั่งจ่ายเช็คและจำเลยเป็นผู้สลักหลัง โดยจำเลยไม่จำต้องเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ร่วมกับ ย. จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้รายนี้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้มีการทำสัญญากู้เงินกันแทน ถือว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามกฎหมาย แม้ในวันทำสัญญากู้เงินจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คโดยลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คเพื่อชำระหนี้เดิมและการทำสัญญากู้เงินใหม่ การผิดนัดชำระหนี้ตามเช็คถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยเป็นผู้สลักหลังเช็คที่ ย.สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวจำเลยซึ่งเป็นผู้สลักหลังย่อมต้องรับผิดร่วมกับย. ชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อหนี้เดิมจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามเช็คแต่ต่อมาได้ทำสัญญากู้เงินกันแทนหนี้จำนวนนี้ย่อมเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแม้ตอนทำสัญญากู้เงินจำเลยมิได้รับเงินจากโจทก์แต่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนแล้วตามจำนวนหนี้ที่ ย.สั่งจ่ายเช็คและจำเลยเป็นผู้สลักหลังโดยจำเลยไม่จำต้องเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ร่วมกับ ย. จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้รายนี้เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์และได้มีการทำสัญญากู้เงินกันแทนถือว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามกฎหมายแม้ในวันทำสัญญากู้เงินจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คโดยลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงินการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค