คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยวัฒน์ ดุลยปวีณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7370/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างโดยเชื่อคำสั่งของเจ้าพนักงาน ย่อมได้รับการยกเว้นโทษฐานบุกรุก
โจทก์ครอบครองเพิงไม้ที่ปลูกอยู่ติดกับข้างอาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 1 เช่าจากเทศบาลตำบลปากช่อง ซึ่งเทศบาลตำบลปากช่องแจ้งให้ภริยาโจทก์รื้อถอนเพิงไม้ดังกล่าว แต่ภริยาโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นเจ้าของเพิงไม้นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปากช่องจึงสั่งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนเพิงไม้ จำเลยที่ 1 เชื่อว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นแม้การที่จำเลยที่ 1 กับพวกรื้อถอนเพิงไม้จะเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ย่อมได้รับยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, การส่งสำเนาเอกสาร, การคัดค้าน, เหตุฟ้องไม่ชอบ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "ฯลฯ ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธินถนนราชวิถีแขวงถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานครขอมอบอำนาจให้ ม. ฯลฯ เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว. ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ" การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม.จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ก) ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาทครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาลก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ถูกต้องและผลของการไม่คัดค้านเอกสารพยานหลักฐาน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "....ฯลฯ.... ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธิน ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ขอมอบอำนาจให้ ม. ....ฯลฯ....เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1.ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว.ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ...." การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม. จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ก) ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์10 บาท ครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก 20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาล ก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้สมบูรณ์ แม้สัมปทานสิ้นสุดก่อนเงื่อนเวลา ชำระเงินแล้วต้องคืน
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป.ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372 วรรคหนึ่ง แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป.จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป.ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติป่าไม้ฯบัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่) นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายและเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้พ้นวิสัยจาก พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และการคืนเงินจากสัญญาที่สมบูรณ์
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป. ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372วรรคหนึ่ง
แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535 ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป
เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป. จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป. ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ บัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่)
นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย และเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้ สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากผู้รับชำระล่วงหน้า ไม่ขาดอายุความลาภมิควรได้
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนายป. ไม่ได้ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นายป.ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา219วรรคหนึ่งก็ตามแต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนายป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา372วรรคหนึ่ง แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนายป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นายป. ได้หลังจากวันที่31พฤษภาคม2535ก็ตามแต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัยโดยจะโทษจำเลยหรือนายป. ไม่ได้จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป เมื่อนายป. ชำระเงิน8,000,000บาทอันเป็นการชำระหนี้ของนายป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วนายป.จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้เมื่อนายป.ตายสิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนายป. จึงเป็นมรดกของนายป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนายป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา63ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่นทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติป่าไม้ฯบัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วยสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯอันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ใหม่) นายป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายและเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406วรรคหนึ่งการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา406ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7076/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ คดีไม่มีกฎหมายกำหนดเฉพาะ ใช้บังคับอายุความ 10 ปี
โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกให้ อ. อ.ตกลงว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในความอารักขาแล้วจะคืนให้โจทก์ หากเสียหายจะชดใช้ราคาให้เมื่อข้าวเปลือกที่ฝากขาดหายไป และผู้ฝากได้ฟ้องเรียกราคาข้าวเปลือกคืนจากผู้รับฝากเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, อำนาจฟ้อง, และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปทำการแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วนเท่าๆกันจำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อราคาที่ดินทั้งหมดซึ่งเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง คำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดที่พิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินแก่จำเลยร่วมไม่ใช่คำพิพากษาที่ได้แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่ดินอันจะมีผลผูกพันบุคคลภายนอกคดีจึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยและจำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อลงในทะเบียนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของจำเลยและจำเลยร่วม กำหนดเวลาให้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375ไม่ใช่เรื่องอายุความแต่เป็นกำหนดเวลาสำหรับฟ้องคดีหากโจทก์ทั้งสามถูกแย่งการครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์และไม่ได้ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ย่อมเสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินทันทีซึ่งเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยและจำเลยร่วมจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยและจำเลยร่วมก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสองการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยเห็นว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611-6612/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์และงดการบังคับคดี ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเหตุตามกฎหมาย
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ประกอบมาตรา 246คือต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ไว้แล้วแต่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมจึงจะกระทำได้ คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นมิได้รับคำฟ้องอุทธรณ์จึงไม่มีตัวคำฟ้องอุทธรณ์ที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้
การที่จะสั่งงดการบังคับคดีได้จะต้องมีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292,293,294 หรือ 296ตามคำร้องของจำเลยเพียงแต่ขอให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์เสียก่อนนั้น จำเลยไม่ได้ระบุอ้างเหตุตามกฎหมายดังกล่าวไว้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งยกคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบชัดเจนก่อนจำหน่ายคดี
โจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้อง หมายเรียกและสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสอง ในครั้งแรกไม่ได้ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนด ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่งอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง และเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2537 แต่ส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า "รอโจทก์แถลง" ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2537 ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า"รอโจทก์แถลง" โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบ ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ได้ ถึง 25 วัน และ 32 วัน ตามลำดับแล้วก็ตามก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
of 15