คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยวัฒน์ ดุลยปวีณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6416/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรองอัยการสูงสุดรักษาราชการแทนอัยการสูงสุดในการอนุญาตฟ้องคดีหลังพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.2534มาตรา33บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวงและมีฐานะเป็นกรมเมื่ออัยการสูงสุดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้รองอัยการสูงสุดจึงเป็นผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534มาตรา46วรรคสามโดยรองอัยการสูงสุดผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุดย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534มาตรา48วรรคหนึ่งและวรรคสามฉะนั้นเมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา9บัญญัติห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา7เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดรองอัยการสูงสุดผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเฉลี่ยทรัพย์ในกรณีสัญญาประนีประนอมยอมความและการหักเงินเดือนชำระหนี้
เงินที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยเป็นเงินที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลโดยจำเลยยอมให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหรือหักเงินเดือนของจำเลยทุกเดือน เดือนละ 5,000 บาทชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนกว่าจะครบ หลังจาก ศาลพิพากษาตามยอม โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีหนังสือแจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยหักเงินเดือนของจำเลยส่งมา ดังนั้นเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งไปยังศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจำเลยไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์
เงินที่ผู้ร้องร้องขอเฉลี่ยเป็นเงินที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาล โดยจำเลยยอมให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหรือหักเงินเดือนของจำเลยทุกเดือนชำระหนี้ ให้แก่โจทก์จนกว่าจะครบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งไปยังศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจำเลยไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: เงินเดือนที่หักตามสัญญาไม่ใช่เงินที่ถูกอายัดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
เงินที่ผู้ร้องร้องขอเฉลี่ยเป็นเงินที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาล โดยจำเลยยอมให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหรือหักเงินเดือนของจำเลยทุกเดือนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนกว่าจะครบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งไปยังศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจำเลยไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์
เงินที่ผู้ร้องร้องขอเฉลี่ยเป็นเงินที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลโดยจำเลยยอมให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหรือหักเงินเดือนของจำเลยทุกเดือนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนกว่าจะครบเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งไปยังศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิใช่เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจำเลยไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิในการขอเฉลี่ยทรัพย์
เงินที่ผู้ร้องร้องขอเฉลี่ยเป็นเงินที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลโดยจำเลยยอมให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหรือหักเงินเดือนของจำเลยทุกเดือนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนกว่าจะครบเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งไปยังศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิใช่เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจำเลยไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6289/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแสดงเจตนาให้ทรัพย์สินหลังเสียชีวิตมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า"พินัยกรรม" ไว้ว่า "เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย"การที่มารดาโจทก์จำเลยทำหนังสือโดยเรียกหนังสือนั้นว่าพินัยกรรมและใช้ถ้อยคำว่า "...ขอ...ยกทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด...ให้แก่ บ.แต่เพียงผู้เดียว..."นั้น ตามความเข้าใจของสามัญชนที่เห็นข้อความดังกล่าวย่อมเข้าใจว่า ส.เจตนาจะนำทรัพย์สินของ ส.ทั้งหมดให้แก่ บ. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ข้อความในหนังสือไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ส.ตั้งใจยกทรัพย์สินของ ส.ให้แก่โจทก์ตั้งแต่ ส.ยังมีชีวิตอยู่ ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายของ ส.เกี่ยวกับทรัพย์สินของ ส. เข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าหนังสือนั้นได้ลงวันเดือนปี ที่ทำขึ้นและ ส.ผู้ทำหนังสือนั้นได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 2 คน และพยานผู้เขียน 1 คน โดยพยานทั้ง 3 คน นั้นได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ในขณะนั้น หนังสือดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 มีผลใช้ได้โดยสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลายื่นคำให้การ – การย่นระยะเวลาโดยเจ้าพนักงานศาล – ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่ง
ศาลมีคำสั่งรับฟ้องและออกหมายเรียกให้จำเลยให้การแก้คดีภายใน 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานศาลทำใบรับในการปิดหมายว่าให้ทำคำให้การแก้คดีภายใน 8 วัน มิใช่เป็นคำสั่งศาลที่ย่นระยะเวลายื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 15 วัน ตามที่ศาลได้สั่งไว้
การที่ศาลมีคำสั่งให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำให้การได้ เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะเพิกถอนและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาให้ถูกต้องต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาเช่าฉางและการฝากทรัพย์ กรณีข้าวเปลือกเสียหายหรือขาดจำนวน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉาง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้าง มีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใด และแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วน และเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม หากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวน เข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 657

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ การรับผิดชอบความเสียหายและขาดจำนวนของข้าวเปลือก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉาง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้าง มีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใดและแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วนและเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมหากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวน เข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657
of 15