คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยวัฒน์ ดุลยปวีณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะคล้ายสัญญาฝากทรัพย์ ความรับผิดชอบต่อความเสียหาย/สูญหายของข้าวเปลือก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉางหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน2เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้างมีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใดและแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วนและเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมหากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนเข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา657

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางมีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ข้าวเปลือกที่ขาดหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉางหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน2เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้างมีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใดและแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วนและเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมหากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนเข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา657

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมาย และจัดการข้อโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดกที่เกิดขึ้นใหม่
ในคดีที่ขอจัดการมรดกศาลจะพิจารณาว่า ผู้ขอมีสิทธิขอจัดการมรดกและสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อดำเนินการแล้วหากมีข้อโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของผู้ตายแต่ประการใด เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกจะต้องดำเนินเป็นคดีอีกต่างหาก เพราะเป็นการโต้แย้งสิทธิในเรื่องทรัพย์มรดกที่เกิดขึ้นใหม่ มิใช่การร้องขอให้ศาลชี้ขาดในเรื่องเดิมที่ขอจัดการมรดกอย่างคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาจ้างก่อสร้าง: ใช้บังคับเมื่อลงมือทำงานแล้ว แต่ไม่แล้วเสร็จ ไม่ครอบคลุมกรณีไม่ลงมือทำงานเลย
สัญญาจ้างข้อ19(1)ระบุว่าถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญาและตามสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อสัญญาว่าถ้าจำเลยไม่ลงมือทำการก่อสร้างเลยได้กำหนดเบี้ยปรับกันไว้อย่างไรเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ19(1)เป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้สำหรับกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากันแล้วเสร็จตามสัญญาซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าจะใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่จำเลยได้ลงมือทำการก่อสร้างแล้วแต่การก่อสร้างนั้นไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยที่ยังมิได้ทำการก่อสร้างตามสัญญาเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ19(1)จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาจ้าง: ใช้บังคับเมื่อลงมือทำงานแล้วเท่านั้น
สัญญาจ้างข้อ 19 (1) ระบุว่า ถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญา และตามสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อสัญญาว่าถ้าจำเลยไม่ลงมือทำการก่อสร้างเลยได้กำหนดเบี้ยปรับกันไว้อย่างไร เบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 19 (1) เป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้สำหรับกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าจะใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่จำเลยได้ลงมือทำการก่อสร้างแล้ว แต่การก่อสร้างนั้นไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยที่ยังมิได้ทำการก่อสร้างตามสัญญาเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 19 (1) จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5367/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ใช้รถและผลความรับผิดในความประมาทของลูกจ้าง นายจ้างต้องรับผิดชอบเมื่อยินยอมให้ลูกจ้างใช้รถโดยไม่มีข้อจำกัด
จำเลยผู้เป็นนายจ้างยินยอมให้ ม.นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและกุญแจรถไปเก็บไว้ที่บ้านของม. ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ม. นำรถยนต์บรรทุกออกไปใช้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่รถยนต์บรรทุกยังไม่กลับมาอยู่กับจำเลยก็ย่อมต้องถือว่า ม.ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้าง ซึ่งจำเลยต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ ม.กระทำด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5367/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ใช้รถยนต์ และความรับผิดในผลละเมิด
จำเลยผู้เป็นนายจ้างยินยอมให้ ม.นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและกุญแจรถไปเก็บไว้ที่บ้านของ ม. ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ม.นำรถยนต์บรรทุกออกไปใช้ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่รถยนต์บรรทุกยังไม่กลับมาอยู่กับจำเลยก็ย่อมต้องถือว่า ม.ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้าง ซึ่งจำเลยต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ ม.กระทำด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5317/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะขายฝาก: เจตนาคู่สัญญาและผลบังคับคดี แม้ไม่มีกำหนดเวลาจดทะเบียน
สัญญาพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดตั้งแต่ชื่อของสัญญาตลอดจนข้อสัญญาทุกข้อว่าเป็นสัญญาจะขายฝาก เพียงแต่ไม่มีกำหนดเวลาว่าจะไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อใดเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสัญญาขายฝากเพราะตามสัญญาได้ระบุความรับผิดของทั้งสองฝ่ายไว้ในกรณีไม่ไปทำหนังสือและจดทะเบียนตามกำหนด แสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้มีเจตนาจะทำสัญญาขายฝากหากแต่ต้องการให้เป็นเพียงสัญญาจะขายฝากซึ่งจะต้องได้มีการทำหนังสือจดทะเบียนกันให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง จึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดของคู่สัญญาไว้ ส่วนที่กำหนดเวลาไถ่คืนไว้ในสัญญานี้ด้วยก็เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่า ถ้าได้ทำหนังสือจดทะเบียนโดยถูกต้องแล้วกำหนดเวลาไถ่คืนต้องเป็นไปตามนั้น ทั้งโฉนดที่ดินที่จะขายฝากอยู่ที่บุคคล-ภายนอก จึงจำเป็นอยู่เองที่คู่กรณีจะต้องทำเป็นสัญญาจะขายฝากไว้ก่อน เมื่อได้โฉนด-ที่ดินมาแล้วจึงไปทำสัญญากันในภายหลัง ดังนั้นเมื่อสัญญาพิพาทมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว โจทก์ก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตามป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5317/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะขายฝากมีผลบังคับใช้ได้หากมีเจตนาชัดเจน แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียน และศาลสามารถบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สัญญาพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดตั้งแต่ชื่อของสัญญาตลอดจนข้อสัญญาทุกข้อว่าเป็นสัญญาจะขายฝาก เพียงแต่ไม่มีกำหนดเวลาว่าจะไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อใดเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสัญญาขายฝากเพราะตามสัญญาได้ระบุความรับผิดของทั้งสองฝ่ายไว้ในกรณีไม่ไปทำหนังสือและจดทะเบียนตามกำหนด แสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้มีเจตนาจะทำสัญญาขายฝาก หากแต่ต้องการให้เป็นเพียงสัญญาจะขายฝากซึ่งจะต้องได้มีการทำหนังสือจดทะเบียนกันให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง จึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดของคู่สัญญาไว้ ส่วนที่กำหนดเวลาไถ่คืนไว้ในสัญญานี้ด้วยก็เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่า ถ้าได้ทำหนังสือจดทะเบียนโดยถูกต้องแล้วกำหนดเวลาไถ่คืนต้องเป็นไปตามนั้นทั้งโฉนดที่ดินที่จะขายฝากอยู่ที่บุคคลภายนอก จึงจำเป็นอยู่เองที่คู่กรณีจะต้องทำเป็นสัญญาจะขายฝากไว้ก่อน เมื่อได้โฉนดที่ดินมาแล้วจึงไปทำสัญญากันในภายหลัง ดังนั้นเมื่อสัญญาพิพาทมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว โจทก์ก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดเรื่องอายุผู้เสียหาย: ไม่มีเจตนาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277, 279
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา277และมาตรา279ผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน15ปีเรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบความผิดด้วยเมื่อจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายแม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิดจำเลยย่อมไม่มีความผิดการที่จำเลยไม่รู้จักผู้เสียหายมาก่อนก็ไม่มีข้อห้ามที่ไม่ให้จำเลยอ้างความสำคัญผิดมาเป็นข้อแก้ตัว
of 15