พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดิน: ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอน หากปฏิบัติได้ตามคำขอหลัก คำขอค่าเสียหายไม่จำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติให้ใช้ค่าเสียหายศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแลกเปลี่ยนตอบแทนกัน ส่วนคำขอที่เรียกค่าเสียหายให้ยก โดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นการพิพากษาในประเด็นค่าเสียหายและพิพากษาตามคำขอในฟ้องครบถ้วนแล้ว เพราะโจทก์ฟ้องบังคับให้แลกเปลี่ยนที่ดินเป็นประธาน ส่วนค่าเสียหายเป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อสามารถปฏิบัติตามคำขอประธานแล้วก็ไม่จำต้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำต่อเนื่องอีก และมิใช่กรณีที่จำเลยจะเลือกชำระได้ตามลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน และเบี้ยปรับจากสัญญา
จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภริยากันและเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกัน การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยร่วม คงสมบูรณ์มีผลผูกพันเฉพาะที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อาจบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาททั้งแปลงตามสัญญาได้ก็ตาม แต่โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยได้ การที่จำเลยไม่ยอมโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของตนให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญามีว่าถ้าจำเลยไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาและเรียกค่าเสียหาย 60,000 บาท ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแล้ว และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ต้องเสียหายอย่างไร ทั้งมิได้นำสืบไว้ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
สัญญามีว่าถ้าจำเลยไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาและเรียกค่าเสียหาย 60,000 บาท ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแล้ว และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ต้องเสียหายอย่างไร ทั้งมิได้นำสืบไว้ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: อำนาจฟ้องของผู้รับโอนสิทธิในสามยทรัพย์
ภารจำยอมเป็น ทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสามยทรัพย์แม้หากทางพิพาทบนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นทางภารจำยอมก็เป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินดังกล่าวโดยได้ยกให้แก่บุตรสาวแล้วโจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมไม่ได้และเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันสัญญาเช่าเมื่อสัญญาเลิกก่อนกำหนด และสิทธิหักกลบลบหนี้
แม้สัญญาเช่าตึกแถวข้อ 2 จะได้ระบุว่า โจทก์ผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันความเสียหายแก่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วก็ตาม แต่ในกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าหรือจำเลยผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่า 2 ปีตามสิทธิที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมต้องคืนเงินประกันความเสียหายนั้นให้แก่จำเลยผู้เช่าหลังจากหักเงินประกันดังกล่าวชำระหนี้ค่าน้ำประปาไฟฟ้า โทรศัพท์ และความเสียหายของตึกแถวที่แล้วด้วย เพราะเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของจำเลยที่วางไว้แก่โจทก์เพียงเพื่อประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการเช่าดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าตึกแถวต่อกันแล้ว โจทก์ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันความเสียหายดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่า และเมื่อปรากฏว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะขอให้หักกลบลบหนี้ดังกล่าวกับเงินประกันความเสียหายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้กับเงินประกันความเสียหายจากการเช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือถูกบอกเลิก
แม้สัญญาเช่าตึกแถวข้อ2จะได้ระบุว่าโจทก์ผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันความเสียหายแก่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วก็ตามแต่ในกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าหรือจำเลยผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่า2ปีตามสิทธิที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าข้อ12โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมต้องคืนเงินประกันความเสียหายนั้นให้แก่จำเลยผู้เช่าหลังจากหักเงินประกันดังกล่าวชำระหนี้ค่าน้ำประปาไฟฟ้าโทรศัพท์และความเสียหายของตึกแถวที่แล้วด้วยเพราะเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของจำเลยที่วางไว้แก่โจทก์เพียงพอเพื่อประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการเช่าดังกล่าวเท่านั้นดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าตึกแถวต่อกันแล้วโจทก์ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันความเสียหายดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าและเมื่อปรากฏว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำเลยจึงมีสิทธิที่จะขอให้หักกลบลบหนี้ดังกล่าวกับเงินประกันความเสียหายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับผิดชอบหน้าที่โดยไม่มีมูลหนี้เดิม ไม่ถือเป็นหนังสือรับสภาพหนี้
จำเลยที่ 2 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะทำหนังสือยอมรับผิดชอบตามหน้าที่ไว้ ก็หาทำให้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้เพราะไม่มีมูลหนี้เดิมอันเกิดจากการละเมิดที่จะให้รับสภาพหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ต้องมีมูลหนี้จากการละเมิด หากไม่มีมูลหนี้เดิม การทำหนังสือรับสภาพหนี้ก็ไม่ผูกพัน
จำเลยที่2มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่2จะทำหนังสือยอมรับผิดชอบตามหน้าที่ไว้ก็หาทำให้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้เพราะไม่มีมูลหนี้เดิมอันเกิดจากการละเมิดที่จะให้รับสภาพหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการแก้ไขคำพิพากษา: ข้อจำกัดการฎีกาเมื่อไม่ยกข้อต่อสู้ในชั้นต้น
ปัญหาว่าโจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดูแลบ่อปลาแทนโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ไม่ใช่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ขุดลอกคลองให้อยู่ในสภาพเดิม ให้โจทก์เป็นผู้กระทำโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงาน-บังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ขุดลอกคลองให้อยู่ในสภาพเดิม ให้โจทก์เป็นผู้กระทำโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงาน-บังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ดูแลบ่อปลา และการบังคับคดีขุดลอกคลอง: ข้อจำกัดในการฎีกาและอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ปัญหาว่าโจทก์ที่2เป็นเพียงผู้ดูแลบ่อปลาแทนโจทก์ที่1จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ใช่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำฟ้องการจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่ขุดลอกคลองให้อยู่ในสภาพเดิมให้โจทก์เป็นผู้กระทำโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิเพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดและการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงาน-บังคับคดีที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากการขายทอดตลาดและรายการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากไม่อาจเพิกถอนได้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง แล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ศาลไม่อาจพิพากษาตามฟ้องโจทก์ได้ และชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) แม้โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายด้วยก็ตาม