คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยวัฒน์ ดุลยปวีณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และขอบเขตค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับ
ส.เป็นเพียงลูกจ้างขับรถคันที่ถูกจำเลยกระทำละเมิดในกิจการรับขนสินค้าของโจทก์ไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา445โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดประโยชน์จากแรงงานของส. จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกขายของปลอมเป็นของโบราณ
การที่จำเลยนำของกลางมาขายให้ผู้เสียหายและบอกผู้เสียหายว่าของกลางเป็นวัตถุโบราณสมัยทวาราวดีหรือลพบุรี ซึ่งเป็นความเท็จ โดยจำเลยทราบดีว่าของกลางไม่ใช่ของจริง แต่หลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อเพื่อจะได้เงินจากผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกง และกรณีมิใช่ผิดสัญญาทางแพ่งเพราะมิใช่มีเจตนาซื้อขายกันแล้วจำเลยผิดสัญญาแต่เป็นเจตนาหลอกลวงเอาเงินผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ศาลต้องพิจารณาตามรูปคดี หากจำเลยต่อสู้
เรื่องอายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองโจทก์จึงไม่ต้องกล่าวในฟ้องว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดเมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีชอบที่ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาต่อไปตามรูปคดีศาลจะมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเสียอายุความ: แม้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว การยอมรับชำระหนี้ภายหลัง ถือเป็นการละเสียอายุความได้
โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงาน สิทธิของโจทก์ในการเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นคือค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากจำเลย มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (7)เดิม โจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องนั้นภายใน 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวของโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว แต่ที่จำเลยมีถึงโจทก์ตอบที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้แก่โจทก์ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของโจทก์ได้ขาดอายุความแล้ว ปรากฏว่าแม้ข้อความในหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่จำเลยต่อว่าโจทก์ถึงข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานของพนักงานของโจทก์และแจ้งให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงการทำงานของพนักงานของโจทก์ แต่ตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวก็มีข้อความในทำนองว่าจำเลยยอมรับผิดชอบชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่โจทก์ทวงถามและยินดีผ่อนชำระให้โจทก์เดือนละ 500 บาท จนกว่าจะหมด การที่จำเลยมีถึงโจทก์เช่นนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิมแล้ว
การที่จำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นมิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 เดิม อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความตามมูลหนี้เดิมขึ้นใหม่ ดังนั้นแม้โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อเลยกำหนดเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แล้ว จำเลยก็หาอาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ไม่
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ ปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่รวมอยู่ในประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วย และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ โดยได้วินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย จ.13 ไปถึงโจทก์ไม่เป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ดังนั้นปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่ จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์นั้น เป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเสียซึ่งอายุความจากการตอบรับหนี้บางส่วน และผลกระทบต่อการยกอายุความขึ้นต่อสู้
โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานสิทธิของโจทก์ในการเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นคือค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศระหว่างวันที่ 12 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2528 จากจำเลยมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) เดิมโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความแต่การที่จำเลยมีหนังสือตอบหนังสือทวงถามของโจทก์เพื่อให้จำเลยชำระเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วโดยในตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวมีข้อความทำนองว่าจำเลยยอมรับผิดชอบชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่โจทก์ทวงถามและยินดีผ่อนชำระให้โจทก์เดือนละ 500 บาท จนกว่าจะหมดนั้นถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 เดิม แล้ว การที่จำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความมิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความตามมูลหนี้เดิมขึ้นใหม่ดังนั้นแม้โจทก์จะนำคดีนี้มาฟ้องเมื่อเลยกำหนดเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยมีหนังสือตอบหนังสือทวงถามของโจทก์จำเลยก็หาอาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ไม่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่จึงรวมอยู่ในประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วยและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความโดยได้วินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์ไม่เป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความดังนั้นปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยทราบถึงการฟ้องคดีแล้ว
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 และให้แก่จำเลยที่ 2 โดย น.รับแทนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่17 กรกฎาคม 2534 จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าว และต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณา: ดุลพินิจศาลเมื่อจำเลยทราบเรื่องฟ้องแล้ว
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่1โดยการปิดหมายเมื่อวันที่22มิถุนายน2534และให้แก่จำเลยที่2โดยน.รับแทนเมื่อวันที่23กรกฎาคม2534แต่ปรากฏว่าวันที่17กรกฎาคม2534จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าวและต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่2จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: ดุลพินิจศาล และการทราบข้อฟ้องของจำเลย
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534และให้แก่จำเลยที่ 2 โดย น. รับแทนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่ 17 กรกฎาคม 2534 จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าว และต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องคำนึงถึงการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมและเหตุผลความสมควร
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่1โดยการปิดหมายเมื่อวันที่22มิถุนายน2534และให้แก่จำเลยที่2โดยน. รับแทนเมื่อวันที่23กรกฎาคม2534แต่ปรากฏว่าวันที่17กรกฎาคม2534จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าวและต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่2จึงไม่มีเหตุผลสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถว: การโอนขายโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ชอบ ศาลยกฟ้อง
ที่ดินและตึกแถวพิพาทจำเลยได้มาขณะจำเลยเป็นสามี ส.แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันที่ดินและตึกแถวพิพาทก็เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและ ส. คนละครึ่งในฐานะเป็นหุ้นส่วนกันเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนของ ส. จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ ร. ซึ่งเป็นทายาทการที่ ร. จดทะเบียนโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของตนแต่ผู้เดียวจึงไม่ชอบและไม่มีอำนาจนำที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนของจำเลยไปขายให้แก่โจทก์โดยจำเลยไม่ยินยอมโจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลย
of 15