พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดหลังยื่นฎีกา
ขณะผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 โดยให้เพิ่มวรรคสาม ของมาตรา 288 ว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1)และ (2) ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 บัญญัติว่า"ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้นให้ยื่นฎีกาได้ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ มาตรา 223บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายนี้จะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด" จึงมีความหมายว่า ในการยื่นฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นจะต้องไม่เป็นที่สุด หากเป็นที่สุดไม่ว่าจะในชั้นศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์แล้วต้องห้ามยื่นฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางหลักประกันชำระหนี้ต้องเป็นเงินจริง เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะดำเนินการขายทอดตลาดได้หากหลักประกันไม่พอชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีได้ต่อเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสองมอบให้ผู้อื่นนำสมุดเงินฝากของบุคคลอื่นมาวางเพื่อประกันการชำระหนี้ พร้อมคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้งดการขายทอดตลาดไปยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีจึงมิใช่เป็นการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เข้าหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่อาจงดการขายทอดตลาดได้
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 จะอยู่ในย่านธุรกิจติดทางด่วนก็ตาม แต่เนื้อที่ดินมีจำนวนเพียง 72 ตารางวา ไม่น่าจะนำไปดำเนินการเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายอันจะทำให้ที่ดินมีราคาสูงมากได้ ราคาที่ดินดังกล่าวจึงไม่น่าจะสูงกว่าราคาประเมินมากนัก การซื้อขายที่ดินของการเคหะแห่งชาติก็มิได้กระทำในช่วงเดียวกันกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ ทั้งมีเงื่อนไขในการชำระเงินไม่เหมือนกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ร่วมกันให้ราคาต่ำหรือไม่สุจริตแต่อย่างใด การขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 จะอยู่ในย่านธุรกิจติดทางด่วนก็ตาม แต่เนื้อที่ดินมีจำนวนเพียง 72 ตารางวา ไม่น่าจะนำไปดำเนินการเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายอันจะทำให้ที่ดินมีราคาสูงมากได้ ราคาที่ดินดังกล่าวจึงไม่น่าจะสูงกว่าราคาประเมินมากนัก การซื้อขายที่ดินของการเคหะแห่งชาติก็มิได้กระทำในช่วงเดียวกันกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ ทั้งมีเงื่อนไขในการชำระเงินไม่เหมือนกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ร่วมกันให้ราคาต่ำหรือไม่สุจริตแต่อย่างใด การขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: การประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตทำให้เจ้าของรถต้องรับผิดร่วม
จำเลยที่ 2 ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลรถบรรทุกคันเกิดเหตุ จึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ กฎกระทรวงเงื่อนไข คำสั่งและระเบียบ ซึ่งออกโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวและตามที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลระบุไว้ และต้องเป็นการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ควรทราบดีว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุการที่จำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปประกอบการขนส่ง จึงเป็นการประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 2 อาจทำให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเข้าใจว่าเป็นการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9665/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องกระทำภายในระยะเวลาที่สมควร มิเช่นนั้นถือว่าไม่ได้โต้แย้งและขาดสิทธิอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ จึงต้องให้คู่ความมีโอกาสและระยะเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้น แต่มิได้มีความหมายเลยไปจนถึงกับให้คู่ความใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การเสนอและสนองรับสัญญาโดยปริยาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทย โจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตกลงร่วมมือกันให้บริการโทรศัพท์แก่ผู้เช่าโทรศัพท์ โดยแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้เป็นของโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เช่าโทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีสิทธิใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์ผ่านทางเครื่องโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ โดยจำเลยต้องรับผิดชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่โจทก์ตามระเบียบการใช้โทรศัพท์ดังกล่าว ซึ่งระเบียบนี้องค์การโทรศัพท์ก็ได้พิมพ์ลงไว้ในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เพื่อแจกให้จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์ได้ทราบแล้ว ถือได้ว่ามีการเสนอให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศตามเงื่อนไขในระเบียบดังกล่าวเมื่อมีการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย อันมีลักษณะเป็นการขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามระเบียบดังกล่าวข้างต้น ก็เท่ากับจำเลยตกลงสนองรับเข้าทำสัญญาขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นคู่สัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศกับโจทก์และมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่โจทก์ตามระเบียบนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าบริการดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามสัญญาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการใช้บัตรเครดิตและการหักชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง มีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นรับมาแต่เพียงว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามมาตรา 238ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตามมาตรา 238,243(3) ประกอบมาตรา 247
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่ โจทก์จ่ายแทนไปโดยให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลง แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวนแต่ปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตการที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้นและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มิใช่ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่ โจทก์จ่ายแทนไปโดยให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลง แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวนแต่ปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตการที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้นและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มิใช่ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการใช้บัตรเครดิตและการชำระหนี้ผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ ตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิต การที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าว ตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด เป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น และเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์: สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่าธรรมดา แม้ไม่ทำหนังสือก็มีผลบังคับ
การที่จำเลยให้โจทก์เช่าที่ดินสร้างอาคารโดยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยต้องให้โจทก์เช่าที่ดินตามกำหนดระยะเวลาหนึ่ง แล้วโจทก์จะให้อาคารพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ให้เช่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้เช่าเกินกว่า 3 ปีโดยไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานก็มีผลบังคับมิใช่ต้องลดเหลือ 3 ปี หรือถือว่าเช่าโดยไม่กำหนดระยะเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์: เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ทำหนังสือก็มีผลผูกพัน
การที่จำเลยให้โจทก์เช่าที่ดินสร้างอาคารโดยมีข้อตกลงกันว่า จำเลยต้องให้โจทก์เช่าที่ดินตามกำหนดระยะเวลาหนึ่ง แล้วโจทก์จะให้อาคารพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ให้เช่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้เช่าเกินกว่า 3 ปีโดยไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานก็มีผลบังคับ ไม่ใช่ต้องลดเหลือ 3 ปี หรือถือว่าเช่าโดยไม่กำหนดระยะเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องต่างกันระหว่างเจ้าของรถผู้กระทำละเมิดกับผู้รับประกันภัยค้ำจุน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในมูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง แสดงว่าอายุความฟ้องจำเลยทั้งสองสามารถแยกออกจากกันได้ อีกทั้งมาตรา 295 บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ฉะนั้นการที่คดีของจำเลยที่ 1 ขาดอายุความย่อมเป็นคุณแก่เฉพาะจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับคดีของจำเลยที่ 2 ที่ยังไม่ขาดอายุความแต่อย่างใด