คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ผล อนุวัตรนิติการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและประกันภัยแยกกันได้ การฟ้องจำเลยในฐานะผู้ละเมิดขาดอายุความไม่กระทบอายุความฟ้องจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัย
จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง แสดงว่าอายุความฟ้องจำเลยทั้งสองสามารถแยกออกจากกันได้อีกทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้นฉะนั้น การฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลละเมิดจึงขาดอายุความ 1 ปีย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องให้จำเลยที่ 2รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการแทงต่อเนื่องที่อวัยวะสำคัญ และการพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295,83 ผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้องกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้ายขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด ศาลพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288, 80, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295, 83 ผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้อง กระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้าย ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8108/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่มิชอบ ศาลต้องสอบถามจำเลยก่อนสืบพยานและรับฟังคำให้การ
ในคดีมโนสาเร่ จำเลยไปศาลตามหมายเรียกในวันนัดสืบพยานและมิได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยว่าจะให้การด้วยวาจาหรือกำหนดให้จำเลยให้การด้วยวาจาหรือไม่ หรือจำเลยไม่ให้การหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไป โดยไม่มีคำสั่งเรื่องคำให้การของจำเลยเสียก่อน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและการที่ศาลชั้นต้นรับฟังคำให้การเป็นพยานของจำเลย โดยถือเสมือนเป็นคำให้การต่อสู้คดีไปในตัวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะจำเลยจะต้องให้การเสียก่อนมีการสืบพยานเพื่อให้ทราบข้อทุ่มเถียงของจำเลยอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี รวมทั้งหน้าที่นำสืบ แม้จะไม่ต้องทำการชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 ก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งนำสืบภายหลังโดยโจทก์ไม่มีโอกาสนำสืบ แสดงพยานหลักฐานให้เป็นไปอย่างอื่น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังการให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน ปัญหานี้ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งนั้นเสียได้ แม้จำเลยจะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 195, 243, 246 และ 247 ศาลฎีกาพิพากษา ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ ถูกต้อง แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยถูกบังคับข่มขู่ และการลดโทษจากเหตุพิเศษ
แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นและคำรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนของจำเลยเป็นเพียงพยานบอกเล่าก็ตาม แต่ในข้อที่จำเลยให้การว่าอย่างไร ตลอดถึงการนำชี้ที่เกิดเหตุและการนำไปเอามีดของกลางที่ใช้แทงผู้ตายนั้น เจ้าพนักงานตำรวจเป็นพยานรู้เห็นโดยตรง
ปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำผิดเพราะความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยและ บ. สามีอยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา ทั้งจำเลย เป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. อาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ พาจำเลยมาถึงที่เกิดเหตุจำเลยร้องไห้และเล่าถึงเหตุที่ บ. บังคับให้นัด ผู้ตายมาพบเพื่อฆ่า หากไม่นัดจะฆ่าจำเลยและผู้ตายทั้งสองคนให้ฟัง ทั้งผู้ตายยอมทำตามที่จำเลยชักชวนโดยไม่ระแวงสงสัย ชี้ให้เห็นว่า จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถ หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยถึงกับยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(1),69 แต่เมื่อผู้ตายเองก็มี ส่วนก่อเหตุอยู่ด้วยโดยมาติดพันจำเลยจนได้เสียเป็นชู้กันทั้งที่รู้อยู่ว่า จำเลยมีครอบครัวอยู่แล้ว จึงสมควรกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความจำเป็นและความรับผิดทางอาญา: การกระทำภายใต้ความบังคับและการลดโทษ
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดเพราะความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในข้อนี้ แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยกับผู้ตายลักลอบได้เสียกัน ต่อมา บ. สามีจำเลยทราบเรื่องและจะให้โอกาสจำเลยกลับตัว แต่ต้องทำตามที่สั่ง ถ้าไม่เช่นนั้นจะฆ่าเสียทั้งสองคน จำเลยและ บ. อยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา จำเลยเป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. สามีอาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง ด้วยความกลัวจำเลยจึงยอมทำตาม บ. บอกแผนให้จำเลยนัดผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุและกำชับว่าให้พาผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุให้ได้ ไม่งั้นเตรียมตัวตาย จำเลยจึงไปหลอกชวนผู้ตายให้ไปร่วมหลับนอนกันอีกในวันรุ่งขึ้น วันเกิดเหตุเมื่อจำเลยพาผู้ตายมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้ตายถูก บ. ฆ่าตาย จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็นตาม ป.อ. มาตรา 67 (1), 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7988/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเช็คเพื่อแลกเงินสด: ผู้ถือเช็คต้องได้มาโดยชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแลกเช็คกันเพื่อให้แต่ละฝ่ายนำไปแลกเงินสดจากบุคคลภายนอกและเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายก็เรียกเก็บเงินไม่ได้โดยโจทก์มิได้ชำระเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์จึงไม่ใช่การออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ตามที่ฟ้อง โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือย่อมต้องเป็นการได้เช็คมาไว้ในความยึดถือที่เป็นไปโดยชอบด้วย เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7977/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิดตามเช็ค แม้มีการโอนสิทธิ แต่ต้องพิสูจน์ไม่มีการฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของจำเลยชำระหนี้ให้แก่บริษัท ย. ต่อมาบริษัท ย. ได้สลักหลังโอนขายลดให้โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงและจำเลยผู้ลงลายมือชื่อของตน ในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 904 จำเลยหาอาจต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916, 989 คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่ามูลหนี้ในเช็คพิพาท ตามฟ้องได้มีการชำระหนี้ไปเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น ไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่ใคร หากชำระ ให้ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ได้รับโอนมาด้วยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ อย่างใด จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7856/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินต่ำเกินจริงในการบังคับคดี ทำให้เกิดความเสียหายแก่ลูกหนี้ ศาลมีอำนาจเพิกถอนกระบวนการได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก อาจเป็นเหตุให้ต้องยึดทรัพย์ของลูกหนี้หลายสิ่งเกินกว่าความจำเป็น และอาจสั่งให้รวมขายไปด้วยกัน จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการประเมินราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจมีผลให้เกิดความเสียหายแก่ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการโดยสุจริตก็ตาม จึงถือได้ว่าได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยจึงอาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนวิธีการบังคับคดีเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินควร ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมตามสภาวะตลาด
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่โจทก์ประกาศภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เว้นแต่เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่โจทก์ประกาศกำหนด ภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แทนอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งขณะทำสัญญาอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.25, 16.25 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป เสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกในรูปของดอกเบี้ย ค่าปรับ หรืออย่างอื่นก็ได้ เมื่อมีลักษณะดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 67