คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ผล อนุวัตรนิติการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินควร ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมตามสภาวะตลาด
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่โจทก์ประกาศภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เว้นแต่เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่โจทก์ประกาศกำหนด ภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แทนอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งขณะทำสัญญาอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.25, 16.25 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป เสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกในรูปของดอกเบี้ย ค่าปรับ หรืออย่างอื่นก็ได้ เมื่อมีลักษณะดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432-7440/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: ที่ดินสาธารณะคั่นกลาง ทำให้จำเลยไม่ต้องรื้อถอนบ้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934-1936/2534 ที่วินิจฉัยว่า ทางเดินหน้าบ้านจำเลยเป็นที่ดินของโจทก์นั้นเป็นคดีที่โจทก์พิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับบ้านหลังอื่นซึ่งมิใช่บ้านพิพาทของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แม้จำเลยที่ 4 จะเป็นคู่ความด้วยแต่ก็อยู่ในฐานะเจ้าของบ้านเลขที่ 31 ซึ่งเป็นคนละหลังกับบ้านพิพาทของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ ส่วนบ้านพิพาทคดีนี้โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและเจ้าของบ้านเดิมของบ้านพิพาทโดยอ้างเหตุว่าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดปลูกสร้างบนที่ดินโจทก์ คดีถึงที่สุดว่าที่ดินปลูกบ้านพิพาทและทางเดินหน้าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นที่สาธารณะ คำพิพากษาคดีก่อน มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก ดังนั้นบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดจึง ไม่อยู่ติดต่อกับที่ดินโจทก์เพราะมีทางสาธารณะคั่นอยู่ บ้านของจำเลยทั้งเจ็ดย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการที่โจทก์จะสร้างพนังกั้นน้ำหรือทำเขื่อนเพื่อป้องกันดินพัง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อถอนบ้านพิพาทออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432-7440/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนบ้านบนที่ดินสาธารณะ: ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากบ้านไม่ได้อยู่ติดที่ดินโจทก์
เดิมมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934-1936/2534 วินิจฉัยว่า ทางเดินหน้าบ้านจำเลยเป็นที่ดินของโจทก์นั้น ในชั้นฎีกาเป็นคดีที่โจทก์พิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับบ้านหลังอื่น ซึ่งไม่ใช่บ้านพิพาทของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แม้จำเลยที่ 4 เป็นคู่ความด้วยก็อยู่ในฐานะเจ้าของบ้านเลขที่ 31 ซึ่งเป็นคนละหลังกับบ้านพิพาทของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้แต่ในส่วนบ้านพิพาทคดีนี้โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและเจ้าของเดิมของบ้านพิพาทโดยอ้างเหตุว่าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดปลูกสร้างบนที่ดินโจทก์ คดีถึงที่สุดว่าที่ดินปลูกบ้านพิพาทและทางเดินหน้าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นที่สาธารณะ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ไม่ต้องนำมาตรา 145(2) มาใช้ ดังนั้นบ้านจำเลยทั้งเจ็ดไม่อยู่ติดต่อกับที่ดินโจทก์เพราะมีทางสาธารณะคั่นอยู่ บ้านจำเลยทั้งเจ็ดย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการที่โจทก์จะสร้างพนังกั้นน้ำหรือทำเขื่อนเพื่อป้องกันดินพังโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อถอนบ้านออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ การแจ้งผลคำสั่ง และผลของการยื่นคำร้องเพิ่มเติม
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน 15 วัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายหลังจากวันยื่นอุทธรณ์และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องนั้น หามีผลทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: ทราบคำสั่งแล้วถือว่าเริ่มนับเวลา แม้ศาลมิได้แจ้ง
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน15 วัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายหลังจากวันยื่นอุทธรณ์และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบก็ตามแต่การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องนั้น หามีผลทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาฎีกาในข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัดทุนทรัพย์ ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งเรื่องให้ผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้องพิจารณาก่อน
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยได้ยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นคือ ท. และ ส. หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248ท. มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และให้ส่งสำนวนพร้อมคำร้องดังกล่าวไปให้ ส. พิจารณาคำร้องลำดับต่อไป ต่อมา ส. มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และ ส. ให้ส่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการส่งสำนวนพร้อมคำร้องขอไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำสั่งดังกล่าว แต่กลับมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งฎีกาของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยก่อน และมีคำสั่งฎีกาใหม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการรับรองฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และผลกระทบต่อคำสั่งศาล
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยได้ยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นคือ ท.และ ส. หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 ท.มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และให้ส่งสำนวนพร้อมคำร้องดังกล่าวไปให้ ส.พิจารณาคำร้องลำดับต่อไป ต่อมา ส.มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และ ส.ให้ส่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการส่งสำนวนพร้อมคำร้องขอไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำสั่งดังกล่าว แต่กลับมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา243 (2) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งฎีกาของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยก่อน และมีคำสั่งฎีกาใหม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7167/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับจดทะเบียนบริษัทร้าง กรณีมีหลักฐานว่ายังประกอบกิจการอยู่ แม้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ดำเนินการถอนทะเบียนบริษัท พ. เป็นบริษัทร้างและขีดชื่อออกจากทะเบียน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทจากทะเบียน บริษัท พ. ยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ เมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทร้องขอ กรณีจึงมีเหตุที่ศาลจะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7167/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนชื่อบริษัทเข้าทะเบียนหลังถูกถอนทะเบียน กรณีบริษัทยังประกอบการอยู่
นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ดำเนินการถอนทะเบียนบริษัท พ.เป็นบริษัทร้างและขีดชื่อออกจากทะเบียน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทจากทะเบียน บริษัท พ.ยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ เมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทร้องขอ กรณีจึงมีเหตุที่ศาลจะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1246 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7148/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายเงินมีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้จะอ้างเป็นหุ้นส่วนค้าทอง แต่ขาดหลักฐานสนับสนุน
ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิได้รับส่วนกำไรอันเกิดจากกิจการที่ทำนั้น หากไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลกำไรแต่ได้รับเป็นอย่างอื่น ไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วน ปรากฏว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการแบ่งผลประโยชน์ให้กันทุกเดือน เดือนละ 2 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุน โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกำไรหรือขาดทุน แสดงว่าโจทก์ได้รับผลประโยชน์จากเงินที่ลงทุนทุกเดือนโดย ไม่ได้รอผลกำไรจากกิจการแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยเพื่อ ทำกิจการซื้อขายทองรูปพรรณ แต่เป็นกรณีที่จำเลยให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์จากการที่โจทก์ให้เงินจำเลยไปลงทุนทำกิจการเกี่ยวกับทองรูปพรรณอันเป็นกิจการของจำเลยเองจำเลยประกอบธุรกิจค้าขายทองมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ย่อมรู้ดีว่าการลงลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินให้บุคคลอื่นต้องผูกพันตนเองอย่างไร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะยอมสั่งจ่าย เช็คพิพาทให้โจทก์โดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ยืนยันว่ามูลเหตุที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ให้โจทก์มาจากการที่จำเลยกู้เงินโจทก์หลายครั้งรวมยอดหนี้ได้ 1,000,000 บาท จำเลย จึงสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดนำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
of 67