คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ผล อนุวัตรนิติการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี, การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร, การคำนวณหนี้ที่ถูกต้องตามบัญชี
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ จำเลยทำสัญญากู้เงินเกินบัญชีแล้วมีการเดินสะพัดทางบัญชีในบัญชีกระแสรายวันตลอดมาโดยมีการทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว แม้ยังไม่มีการทำบันทึกต่ออายุสัญญาครั้งต่อไป แต่โจทก์ยังยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาอีก จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้สัญญาเดินสะพัดดังกล่าวยังมีผลต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา การที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกฉบับหนึ่งโดยให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันในบัญชีกระแสรายวันเดิม และต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาเช่นเดียวกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 โจทก์กับจำเลยตกลงเดินสะพัดตามบัญชีเดินสะพัดคือบัญชีกระแสรายวันเดิม โดยถือเงื่อนไขตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 รวมกัน ซึ่งการคิดดอกเบี้ยต้องนำยอดหนี้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ละฉบับมาคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันในแต่ละสัญญาแยกกันก่อน แล้วจึงนำดอกเบี้ยมารวมยอดกันเพื่อทบเป็นต้นเงินใหม่ การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหักชำระหนี้หมดแล้วในวันที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 แล้ว จึงเบิกถอนเงินออกไปใหม่อีกในวันเดือนกัน การคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เบิกถอนออกไปใหม่ยังพอที่ศาลจะพิพากษากำหนดวิธีการคิดยอดหนี้เฉพาะดอกเบี้ยตามอัตราที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องคิดคำนวณเป็นตัวเลขให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์ควรได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร, ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้วมีการเดินสะพัดทางบัญชีในบัญชีกระแสรายวันตลอดมาโดยมีการทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว แม้ยังไม่มีการทำบันทึกต่ออายุสัญญาครั้งต่อไปแต่โจทก์ยังยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาอีกจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้สัญญาเดินสะพัดดังกล่าวยังมีผลต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา การที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกฉบับหนึ่งโดยให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันในบัญชีกระแสรายวันเดิมและต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกเป็นรายลักษณ์ อักษรโดยกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาเช่นเดียวกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ฉบับที่ 2 ดังนี้แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลย ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 โจทก์กับจำเลย ตกลงเดินสะพัดตามบัญชีเดินสะพัดคือบัญชีกระแสรายวันเดิม โดยถือเงื่อนไขตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกและ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 รวมกัน ซึ่งการคิดดอกเบี้ย ต้องนำยอดหนี้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ละฉบับ มาคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันในแต่ละสัญญาแยกกันก่อน แล้วจึงนำดอกเบี้ยมารวมยอดกันเพื่อทบเป็นต้นเงินใหม่ การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดยอดหนี้ที่จำเลย ต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า จำเลยนำเงินเข้าบัญชี หักชำระหนี้หมดแล้วในวันที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ฉบับที่ 2 แล้วจึงเบิกถอนเงินออกไปใหม่อีกในวันเดียวกัน การคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เบิกถอนออกไปใหม่ยังพอที่ศาล จะพิพากษากำหนดวิธีการคิดยอดหนี้เฉพาะดอกเบี้ยตามอัตรา ที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องคิดคำนวณเป็นตัวเลขให้จำเลย ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์ควรได้รับชำระหนี้ จากลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความในคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ ศาลต้องใช้อัตราที่สูงกว่าตามกฎหมาย
ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราที่สูงกว่าเป็นหลัก เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ 24,500 บาท ซึ่งมีอัตราค่าทนายความชั้นสูงในศาลอุทธรณ์ 600 บาทแต่ในส่วนคดีไม่มีทุนทรัพย์มีอัตราค่าทนายความชั้นสูงในศาลอุทธรณ์ 1,500 บาท ดังนั้นต้องถือเอาอัตราค่าทนายความที่สูงกว่ามาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาหลายสำนวนรวมกัน ศาลไม่ต้องวินิจฉัยข้ออุทธรณ์เป็นรายสำนวน
คดีอาญาที่รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน หามีกฎหมาย บทใดกำหนดให้ศาลต้องวินิจฉัยคดีเป็นรายสำนวนไม่ คดีทั้งเจ็ดสำนวนนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานและรวมวินิจฉัยทุกสำนวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยเป็น รายคดีตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดเป็นรายสำนวนไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีหลายสำนวนรวมกัน ศาลไม่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นรายสำนวน
คดีอาญาที่รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันหามีกฎหมายบทใดกำหนดให้ศาลต้องวินิจฉัยคดีเป็นรายสำนวนไม่ คดีทั้งเจ็ดสำนวนนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานและรวมวินิจฉัยทุกสำนวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยเป็นรายคดีตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดเป็นรายสำนวนไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมการพิจารณาคดีอาญา: ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเป็นรายสำนวน
คดีอาญาที่รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน หามีกฎหมายบทใดกำหนดให้ศาลต้องวินิจฉัยคดีเป็นรายสำนวนไม่
คดีทั้งเจ็ดสำนวนนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานและรวมวินิจฉัยทุกสำนวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยเป็นรายคดีตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดเป็นรายสำนวนไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องการเพิ่มทุนโดยการโอนทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่โอนทรัพย์สินให้โจทก์ตามข้อตกลง
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ที่ 2 กับนายสมชัยและจำเลยตกลงเข้าร่วมลงทุนกับโจทก์ที่ 1 โดยจะจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น6,000,000 บาท ในการเพิ่มทุนครั้งนี้โจทก์ที่ 2 และนายสมชัยจะต้องชำระเงินคนละ2,000,000 บาท ส่วนจำเลยจะโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของโจทก์ที่ 1 มาตีราคาในการเพิ่มทุน ต่อมาโจทก์ที่ 2 ชำระเงิน 2,000,000 บาท และนายสมชัยชำระเงิน1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 1 ชำระเงิน 3,000,000 บาท ให้แก่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์ตอนนี้จะบรรยายว่า เพื่อเป็นการซื้อทรัพย์สินจากจำเลย อันมีความหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ตาม แต่เมื่ออ่านฟ้องโจทก์ทั้งหมดโดยตลอดแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีความประสงค์จะให้จำเลยโอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงเข้าร่วมลงทุนโดยมิได้คำนึงว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นของจำเลยหรือเป็นของผู้อื่น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกัน และจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดีได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยชำระเงินค่าทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยไม่ครบถ้วนดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลย โจทก์ที่ 2 และนายสมชัย ไชยศุภรากุล เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ คือกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยให้การว่าในการแต่งตั้งนายสุรัตน์ แสงจันทร์รุ่ง เป็นทนายความดำเนินคดีแทน โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อกรรมการสองคนและประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ให้ถูกต้องตามข้อบังคับการแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องคำให้การจำเลยดังกล่าวไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม คดีย่อมไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง จำเลยชักชวนโจทก์ที่ 2 และ ส.เข้าร่วมลงทุนในบริษัทโจทก์ที่ 1 โดยจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น 6,000,000 บาท โจทก์ที่ 2 และ ส.ลงทุนคนละ 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยนำทรัพย์สินตีราคาเป็นทุน 6,000,000 บาทการเพิ่มทุนของโจทก์ที่ 1 มีการกำหนดสัดส่วนในการลงทุน จำนวนกรรมการและอำนาจกรรมการที่จะลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ที่ 1เป็นเงิน 3,000,000 บาท แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงร่วมลงทุน หากโจทก์ที่ 1 ยังค้างชำระเงินให้แก่จำเลยเท่าใด จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ที่ 1 เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วย L/C ไม่เป็นการแปลงหนี้เดิม และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยตกลงกับธนาคารให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์แทนการชำระหนี้ด้วยเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยโจทก์สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนวิธีการชำระหนี้ ไม่ต่างกับการเปลี่ยนการชำระหนี้โดยใช้ตั๋วเงินชนิดอื่นทั้งเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับธนาคาร โดยโจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องมิได้เข้าทำสัญญากับธนาคารด้วย และมิได้เป็นการแปลงหนี้ด้วยวิธีเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 เพราะธนาคารซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นลูกหนี้ใหม่ไม่ได้เข้ามาให้ความยินยอมทำสัญญาแปลงหนี้ด้วย กรณีจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้ระงับสิ้นไป เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยจึงยังคงต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกัน ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้อ้างเป็นพยาน และขอให้ศาลหมายเรียกมาถึง 4 ครั้ง แต่จำเลยที่ 2ไม่ปฏิบัติตามจึงถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น จำเลยที่ 2 ได้ยอมรับแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาชำระหนี้และสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ ซึ่งระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับค่าดอกเบี้ยจากการชำระหนี้ล่าช้าที่อัตราดอกเบี้ย 12 % ต่อปี จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
ทนายโจทก์แก้ฎีกาเกินกำหนด แต่ศาลรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ถือว่าทนายได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์: การฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนและอำนาจฟ้องของคู่สัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทไว้กับจำเลย โดยกำหนดวงเงินเป็นจำนวนแน่นอน ต่อมาระหว่างอายุสัญญารถยนต์คันดังกล่าวได้สูญหายไปในขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ได้ร้องทุกข์และแจ้งให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าเป็นสัญญาประกันภัยประเภทใด กรมธรรม์เลขที่เท่าใด เริ่มคุ้มครองและสิ้นสุดเมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้แนบกรมธรรม์ประกันภัยมาด้วย แต่มีคู่ฉบับอยู่ที่จำเลยแล้ว จึงเป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ทำสัญญาเช่ารถยนต์จากบริษัท ภ. และได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยโดยให้บริษัท ภ. เป็นผู้รับประโยชน์ โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก มีผลให้บุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ และเมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังไม่ได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375 อย่างไรก็ดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโจทก์มิได้สิ้นสิทธิที่จะฟ้องจำเลย เมื่อระหว่างระยะเวลาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวได้สูญหายไปขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์และจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ในฐานะเป็นคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่า บริษัท ภ. ผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาแล้วหรือไม่ และโจทก์ต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์อยู่อีกหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีบังคับจำนอง: ศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยด้วย คำฟ้องบังคับจำนองที่ดินเช่นนี้ย่อมเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากจะต้องมีการบังคับคดีแก่ตัวทรัพย์นั้น โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ทวิ
of 67