พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: ข้อตกลงเกินวงเงินจำนองเป็นโมฆะ, ดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีค้า
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินประกันหนี้ ของจำเลยที่ 1 โดยกำหนดวงเงินไว้ 710,000 บาท 1,120,000 บาท และ 870,000 บาท ตามลำดับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมีความรับผิดชอบตามสัญญาจำนองในต้นเงินดังกล่าว ส่วนข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่กำหนดว่าจำนวนเงินต้น ตามสัญญาไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองจะบังคับจำนองสำหรับต้นเงิน ที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์ รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้นั้น เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะ ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตาม สัญญาจำนองไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดทีได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เฉพาะกรณีดอกเบี้ยหรือ หนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินเท่านั้น สัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาจำนอง ตั้งแต่เมื่อใด คงได้ความตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และ ไถ่ถอนจำนองว่า ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2539 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 4,441,139.09 บาท ซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ไว้ โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีทบต้นตั้งแต่วันดังกล่าวในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีจนถึงวันที่สิ้นสุดคำบอกกล่าวและหักทอนบัญชีได้ หลังจากนั้นต้องคิดดอกเบี้ยอัตราเดิมแบบไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจำนองที่เกินวงเงิน: โมฆะเนื่องจากขัดมาตรา 708 และหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่กำหนดว่าจำนวนเงินต้นตามสัญญาไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองจะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลง ที่ใช้ได้ เพราะผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้ ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกัน เป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นสิ้นสุดเมื่อเลิกสัญญา
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2524 จำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ในวงเงิน 1,500,000 บาท มีกำหนดเวลา12 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชี แล้วจำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นการเดินสะพัดในบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม2526 จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป หลังจากนั้นแม้จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง แต่ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2526 อันเป็นวันครบกำหนดการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ 2
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษคือ ช่วงระยะเวลาที่คู่สัญญายังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ ป.พ.พ.มาตรา 654 กำหนดไว้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญากันแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะถือเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้ เว้นโจทก์จะขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษคือ ช่วงระยะเวลาที่คู่สัญญายังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ ป.พ.พ.มาตรา 654 กำหนดไว้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญากันแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะถือเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้ เว้นโจทก์จะขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นสิ้นสุดเมื่อเลิกสัญญาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2524 จำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงิน เกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ในวงเงิน 1,500,000 บาทมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีแล้วจำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นการเดินสะพัดในบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม 2526จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป หลังจากนั้นแม้จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง แต่ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2526อันเป็นวันครบกำหนดการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ 2 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษคือช่วงระยะเวลาที่คู่สัญญายังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแม้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 กำหนดไว้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญากันแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะถือเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้ เว้นโจทก์จะขอให้จำเลย ชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์ที่ไม่เกินวงเงินที่กฎหมายกำหนด ไม่ตกเป็นโมฆะ เช็คที่ออกเพื่อชำระทุนกองกลางมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6(3)ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ. 2534) ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาทผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 17 แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ตามมาตรา 7แสดงว่ากฎหมายมิได้กำหนดว่าการเล่นแชร์ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด ส่วนการฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องระหว่างสมาชิกวงแชร์ด้วยกันมิได้มีบทบัญญัติรับรองไว้ แต่เป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะเอาโทษแก่ นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น โดยมีเหตุผล อยู่ในหมายเหตุท้ายประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ จึงเห็นได้ว่า กฎหมายมิได้บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดว่าการเล่นแชร์ ของประชาชนทั่วไปเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายทั้งหมด การผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยในฐานะสมาชิกวงแชร์ ที่มี น. ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์จำเลย จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระเงินรวมเข้าเป็นทุนกองกลาง เป็นงวด ๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูล จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความ ในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีระบุพยานไม่ชอบ, ประวิงคดี: การรอสืบพยานต้องมีขอบเขต, ศาลไม่ปล่อยให้ประวิงคดี
ในบัญชีระบุพยานของจำเลยลำดับที่ 3 และที่ 4 ได้ระบุชื่อพยานไว้ กับระบุว่า "ที่อยู่จะเสนอต่อศาลในวันขอหมายเรียก" เมื่อบัญชีระบุพยานดังกล่าวมิได้ระบุที่อยู่ของบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าวนั้นได้
นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยาน และไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย มิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยาน และไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย มิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การว่าไม่ใช่ผู้ลงลายมือชื่อเช็ค ถือเป็นการฟ้องผิดคน ศาลไม่รับแก้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ ถูกฟ้องมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ การที่โจทก์ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยเป็น นาย ช. เป็นการแก้ทั้งชื่อและเพศของจำเลย ทั้งเป็นการขอแก้ไข หลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อสู้คดี ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแม้ศาลชั้นต้น จะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตาม แต่ก็ทำให้ปรากฏว่า ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคล ซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาตจะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลยจากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การแล้ว หากเป็นการฟ้องผิดตัวบุคคล ศาลย่อมไม่รับคำขอแก้ไข
เดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยคือนางประไพพรรณหรือซายิดจันจุมอัมพาหรือนางประไพพรรณอับบาส โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ถูกฟ้องดังกล่าวมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ ชื่อสกุล 2 ชื่อ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขหลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การต่อศาลแล้วว่า จำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายคือเจ้าของบัญชีร่วมกับจำเลยแม้ศาลชั้นต้นจะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตามแต่ก็ทำให้ ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคลซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อจำเลย แต่เป็นเรื่อง ที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาต จะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลย จากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ศาลจึงต้องสั่งยกคำร้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่ส่งมอบรถเช่าซื้อตามคำพิพากษา: ภูมิลำเนาจำเลย ไม่ใช่ที่ศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนจำนวน 70,000 บาท โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับพวกส่งมอบรถหรือชำระเงินที่ศาล ทั้งตามคำบังคับที่ศาลชั้นต้นออกให้ตามคำขอของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ส่งมอบรถและสถานที่ใช้เงินไว้ด้วย กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324ที่กำหนดสถานที่ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นแต่ถ้าเป็น การชำระหนี้โดยประการอื่นจะต้องชำระณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนา ปัจจุบันของเจ้าหนี้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษามีหนี้ที่ต้องส่งมอบรถ ที่เช่าซื้อซึ่งเป็นการชำระหนี้ทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ต้องส่งมอบกันณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นปรากฏว่า หนี้ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์เกิดขึ้นเมื่อ ศาลมีคำพิพากษาให้คืน ซึ่งขณะนั้นรถอยู่ในความครอบครองของ จำเลยที่ 1 ก็ต้องส่งมอบรถกัน ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ไม่ใช่ ส่งมอบกันที่ศาล ศาลไม่จำต้องนัดพร้อมโจทก์และจำเลยที่ 1 เพื่อส่งมอบรถให้กันและไม่ต้องสั่งงดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2542 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบรถเช่าซื้อตามคำพิพากษา: สถานที่ส่งมอบ ณ ภูมิลำเนาจำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยกับพวกส่งมอบรถหรือชำระเงินที่ศาล ทั้งตามคำบังคับที่ศาลชั้นต้นออกให้ตามคำขอของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ส่งมอบรถและสถานที่ใช้เงินไว้ด้วย กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 324
หนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อเป็นการชำระหนี้ทรัพย์เฉพาะสิ่ง จึงต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นเมื่อปรากฏว่าหนี้ของจำเลยที่จะต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์เกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้คืน ซึ่งขณะนั้นรถอยู่ในความครอบครองของจำเลย จึงต้องส่งมอบรถกันณ ภูมิลำเนาของจำเลย
หนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อเป็นการชำระหนี้ทรัพย์เฉพาะสิ่ง จึงต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นเมื่อปรากฏว่าหนี้ของจำเลยที่จะต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์เกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้คืน ซึ่งขณะนั้นรถอยู่ในความครอบครองของจำเลย จึงต้องส่งมอบรถกันณ ภูมิลำเนาของจำเลย