คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ผล อนุวัตรนิติการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิก่อนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดิน
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฯ เป็นเพียงการกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบและสั่งการในกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิกันในการขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดไว้ว่าเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินสั่งการอย่างไรแล้ว ให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งก็ตาม แต่ข้อกำหนดดังกล่าวคงเป็นเพียงการกำหนดขั้นตอนเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติภายหลังจากที่ได้สั่งการไปแล้ว คือหากมีการฟ้องคดีต่อศาลก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดประการใดก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดก็ให้ดำเนินการไปตามที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสั่งหาใช่เป็นเงื่อนไขในการฟ้องคดีต่อศาลไม่ ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ดังที่บัญญัติห้ามไว้ในกฎหมายอื่นดังนั้น เมื่อโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8730/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมชำระหนี้ล่าช้าบัตรเครดิตไม่ใช่ดอกเบี้ย แต่เป็นเบี้ยปรับ โจทก์มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมตามประกาศ
การที่จำเลยตกลงยินยอมตามเงื่อนไขในการใช้บัตรเครดิตที่โจทก์คิดค่าธรรมเนียมชำระหนี้ล่าช้าในอัตรา ต่อเดือนตามที่โจทก์ประกาศและโจทก์จะพิจารณาเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมชำระหนี้ล่าช้าได้โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบเช่นนี้เห็นได้ว่าค่าธรรมเนียมชำระหนี้ล่าช้ามิใช่ดอกเบี้ย แต่เป็นเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7952/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์รวมเมื่อหนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน
การคำนวณค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 150 จะต้องพิจารณาจากคำฟ้องแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ โดยหลักจะต้องคำนวณตามทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนั้น เว้นแต่ทุนทรัพย์แต่ละข้อหาไม่มีความเกี่ยวพันกัน สามารถแยกจากกันได้โดยชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตามสัญญากู้ยืมอีก 2 ฉบับ โดยจำเลยทำคำขอสินเชื่อจากโจทก์และได้รับอนุมัติจากโจทก์ในลักษณะต่อเนื่องกัน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงยินยอมให้โจทก์นำหนี้ในบัญชีกระแสรายวันเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่เบิกเกินบัญชีได้ และจำเลยได้จำนองอาคารชุดและที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ดังกล่าว มูลหนี้ในแต่ละข้อหาจึงมีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกันและกัน การคำนวณค่าขึ้นศาลจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7617/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินตามเช็คพิพาทต้องมีนิติสัมพันธ์ชัดเจน ศาลยกฟ้องหากโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ 74,000 บาท และสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้กู้ยืม จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยมอบเช็คให้แก่โจทก์ โจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทได้ ตามคำฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้กู้ยืมหรือไม่ ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องโจทก์รับโอนเช็คมาจากผู้อื่นโดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองยกมาตรา 916 มาปรับแล้ววินิจฉัยให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องคำให้การ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของบริษัทประกันภัยต่อค่าซ่อมรถและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หลังเกิดอุบัติเหตุ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ 15 ธันวาคม 2540 ทนายโจทก์และทนายจำเลยตกลงนัดวันสืบพยานไว้ล่วงหน้า 2 นัด คือวันที่ 22 มกราคมและ 23 กุมภาพันธ์ 2541 ชอบที่ทนายจำเลยจะเอาใจใส่ไม่นัดความซ้ำซ้อนหากพลั้งเผลอไปนัดวันซ้ำซ้อนก็ควรรีบร้องขอเลื่อนคดีแต่เนิ่น ๆ เพราะศาลชั้นต้นในคดีนี้อาจไม่ให้เลื่อนคดีก็ได้ ซึ่งทนายจำเลยก็ยังไปร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลชั้นต้นในคดีอื่นที่ตนนัดซ้ำซ้อนกับคดีนี้ไว้ได้ อีกทั้งวันที่ 22 มกราคม 2541 ทนายจำเลยก็หาได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีในนัดหน้าต่อศาลชั้นต้นไม่ การที่เพิ่งมอบหมายให้ผู้รับมอบฉันทะมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2541 โดยอ้างว่าทนายจำเลยติดว่าความอยู่ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และในวันใกล้เคียงกันก่อนหน้านี้ก็ติดว่าความอยู่ที่ศาลจังหวัดเชียงรายด้วย จึงจำต้องขอเลื่อนคดีเพื่อสะดวกแก่การเดินทางไปขึ้นศาลทางภาคเหนือในคราวเดียวกันแสดงว่าทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
แม้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่ตัดอำนาจของทายาทที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องทายาท, สัญญาประกันภัย, และข้อยกเว้นความรับผิดชอบในการซ่อมรถยนต์
ทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียวโดยมิได้สนใจต่อพันธะที่ตนมีต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีการับวินิจฉัยให้
แม้กองมรดกของผู้ตายจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของทายาทในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
แม้สัญญาประกันภัยจะเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งออกแบบและควบคุมโดยกรมการประกันภัย แต่คู่สัญญาอาจทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม โดยทำเป็นหนังสือแนบท้ายไว้ได้ เมื่อข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ชัดว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ แล้วได้รถยนต์คืนมา ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอรับรถคืน โดยคืนเงินที่ได้รับชดใช้ไปทั้งหมดแก่ผู้รับประกันภัย ถ้ารถยนต์นั้นเกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยต้องจัดการซ่อมก่อนคืนโดยไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดไว้จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อค่าซ่อมรถยนต์คันพิพาทซึ่งเสียหายให้โจทก์
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้ทำละเมิดชิงทรัพย์เอารถยนต์คันพิพาทไป หากแต่ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันภัย ทั้งตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ปรากฏข้อตกลงชัดแจ้งว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองถึงความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ ดังนี้ จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดในการซ่อมรถและข้อยกเว้นค่าขาดประโยชน์
ทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียวโดยมิได้สนใจต่อพันธะที่ตนมีต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีการับวินิจฉัยให้
แม้กองมรดกของผู้ตายจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของทายาทในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
แม้สัญญาประกันภัยจะเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งออกแบบและควบคุมโดยกรมการประกันภัย แต่คู่สัญญาอาจทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม โดยทำเป็นหนังสือแนบท้ายไว้ได้เมื่อข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ชัดว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์แล้วได้รถยนต์คืนมาผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอรับรถคืน โดยคืนเงินที่ได้รับชดใช้ไปทั้งหมดแก่ผู้รับประกันภัย ถ้ารถยนต์นั้นเกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยต้องจัดการซ่อมก่อนคืนโดยไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อค่าซ่อมรถยนต์คันพิพาทซึ่งเสียหายให้โจทก์
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้ทำละเมิดชิงทรัพย์เอารถยนต์คันพิพาทไป หากแต่ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยทั้งตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ปรากฏข้อตกลงชัดแจ้งว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองถึงความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ ดังนี้จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7379/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบรถยนต์เช่าซื้อเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากยังไม่ได้ส่งมอบ ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจฟ้องบังคับคดีได้ และต้องคืนค่าซ่อม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 537 และมาตรา 546 กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในรถยนต์พิพาทตามวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อ เมื่อฟังได้ว่า ฉ. ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อและรับมอบรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์นำจำเลยทั้งสองมาทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทและสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ หลังจากโจทก์ยื่นฟ้อง ฉ. กับพวกว่าผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาท ให้ร่วมกันส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ ขณะโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อนั้นสภาพรถยนต์พิพาทจอดซ่อมอยู่ในอู่ซ่อมรถโดยไม่มีกระบะท้ายต้องซ่อมเครื่องยนต์และใส่กระบะท้ายใหม่ จำเลยที่ 1 จึงยังไม่ได้รับรถยนต์พิพาทไปใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อมาฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืนไปในสภาพที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินค่าซ่อมไปแล้ว เป็นการได้ประโยชน์ในค่าซ่อมรถยนต์พิพาทโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกคืนค่าซ่อมรถยนต์พิพาทจากโจทก์ในฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยร่วม และพิพากษาโดยไม่แก้ไขกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกัน ร่วมกันชำระค่าเสียหายเนื่องจากรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อจากโจทก์สูญหายไป จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้และอ้างเหตุว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อได้ประกันภัยไว้กับบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ขอให้เรียกบริษัทสินมั่นคงประกันภัยจำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นจำเลยร่วม อันเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยร่วมให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำให้การของจำเลยร่วมจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยทั้งสาม เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ และยกฟ้องสำหรับจำเลยร่วม โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ส่วนจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอชำระค่าเสียหายน้อยลง และขอให้จำเลยร่วมร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยด้วย เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยร่วมยังเป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามและจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้เฉพาะโจทก์โดยไม่ได้ มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้แก่จำเลยร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235 และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสามพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา และที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปโดยมิได้มีคำสั่งให้แก้ไขเกี่ยวกับกระบวนพิจารณา ดังกล่าวเสียก่อน กับที่ศาลชั้นต้นไม่นัดให้จำเลยร่วมมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยมิชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา จึงต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 และต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามฎีกาต่อมายังมิได้ผ่านการพิจารณาและพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามจึงยังไม่มีสิทธิที่จะฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้แก่จำเลยร่วม แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีและยกฎีกาของจำเลยทั้งสาม คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้จำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการประวิงคดี ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทนายจำเลยได้รับการแต่งตั้งเป็นทนายความเรื่องนี้ก่อนวันครบกำหนดยื่นคำให้การเพียงหนึ่งวันจึงไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเหตุให้ปรากฏแล้วว่า จำเลยมิได้ยื่นคำให้การเพราะเหตุใดแต่ตัวจำเลยกลับเพิ่งแต่งตั้งทนายความเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคหนึ่ง แล้ว มิใช่แต่งตั้งทนายก่อนวันครบกำหนดยื่นคำให้การเพียงหนึ่งวันดังจำเลยอ้าง พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าตัวจำเลยไม่สนใจต่อการดำเนินคดี จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยทราบนัดสืบพยานครั้งแรกโดยชอบแล้วไม่มาศาลและมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีออกไปตามคำร้องของโจทก์และปิดหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินการใด ๆ ทนายความของจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าตนติดว่าความที่ศาลอื่นในวันดังกล่าวทนายจำเลยกลับให้ตัวจำเลยนำคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นในวันนัด ซึ่งคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก็มิได้แสดงเหตุให้ปรากฏ และก่อนหน้านี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลายื่นคำให้การมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
of 67