พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การชำระหนี้ครบถ้วนในคดีหย่า ทำให้ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินสินสมรสได้อีก
ในคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ หากแต่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับ ธ. ซึ่งเป็นสามีซื้อมาในระหว่างสมรสแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นน้อง ธ. ไว้แทนจึงเป็นสินสมรส เมื่อโจทก์กับ ธ. หย่ากันจึงต้องแบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ถ้าไม่ยอมแบ่งก็ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ซึ่งในการแบ่งทรัพย์สินที่ดินแปลงนี้ก็มีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลในชั้นบังคับคดีและศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสโดยระบุจำนวนราคาสินสมรสมาในคำฟ้องและ ธ. ยอมแบ่งสินสมรสตามจำนวนเงินที่ระบุมาในคำฟ้องแก่โจทก์ ถือได้ว่า ธ. ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่อาจที่จะร้องขอให้ขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาได้อีกต่อไป ในคดีนี้โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสในคดีเดิมให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะชนะคดีนี้ในชั้นฎีกา โจทก์ก็ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้ คดีของโจทก์จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่การจะจำหน่ายคดีไปโดยให้คงคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทคืนโจทก์กึ่งหนึ่งไว้ก็เป็นการไม่ชอบเพราะเท่ากับให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้อีก จึงเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน: เหตุต่างกรรมต่างวาระ
แม้ทรัพย์ที่พิพาทกันทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นทรัพย์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยอาศัยมูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ปฏิบัติตามฟ้องและฟ้องแย้งต่างกัน กล่าวคือโจทก์อาศัยเหตุจากการที่เจ้าของที่ดินเดิมปลูกสร้างกันสาดและพื้นคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยโดยสุจริตและจำเลยขัดขวางการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนทรัพย์สินและจดทะเบียนภาระจำยอม ส่วนจำเลยอาศัยเหตุจากการที่โจทก์ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยโดยตรง ขอให้รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไป ประเด็นในคดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งต่างกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม แม้ทรัพย์สินจะอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่หากเหตุแห่งการฟ้องต่างกัน ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
แม้ทรัพย์ที่พิพาทกันทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นทรัพย์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยอาศัยมูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ปฏิบัติตามฟ้องและฟ้องแย้งต่างกัน กล่าวคือโจทก์อาศัยเหตุจากการที่เจ้าของที่ดินเดิมปลูกสร้างกันสาดและพื้นคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยโดยสุจริตและจำเลยขัดขวางการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนทรัพย์สินและจดทะเบียนภารจำยอม ส่วนจำเลยอาศัยเหตุจากการที่โจทก์ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยโดยตรง ขอให้รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไป ประเด็นในคดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งต่างกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีเหตุละเมิดเดียวกัน และการเฉลี่ยความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกสิบล้อหมายเลขทะเบียน 87-3546 กรุงเทพมหานคร ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้เอาประกันภัยไว้ จำเลยที่ 4 ให้การว่ามิได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันดังกล่าวจากจำเลยที่ 3 แต่รับประกันภัยไว้จากบุคคลอื่น ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 4 เป็นการยอมรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องจริง
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกขุดตักดินไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้หลังคาของรถขุดตักดินเกี่ยวสายเคเบิลโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ขึงอยู่กับเสาไฟฟ้าของโจทก์ และดึงรั้งเอาเสาไฟฟ้าของโจทก์หักล้มได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 4 รับประกันค้ำจุนรถบรรทุกสิบล้อดังกล่าว เมื่อคดีนี้และคดีที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดเป็นเหตุละเมิดครั้งเดียวกันและตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ระบุให้จำเลยที่ 4 รับผิดไม่เกิน 250,000 บาทต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง การที่คำพิพากษา 2 สำนวนในเหตุละเมิดครั้งเดียวกันจะบังคับให้จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 4 มีสิทธิยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อคดีที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นโจทก์มียอดเงินค่าเสียหาย 51,247 บาท รวมกับยอดเงินค่าเสียหายคดีนี้260,017.24 บาท แล้วเป็นเงิน 311,264.24 บาท เกินวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทั้งสองคดีในวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยเฉลี่ยตามส่วนความเสียหายแต่ละคดี
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกขุดตักดินไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้หลังคาของรถขุดตักดินเกี่ยวสายเคเบิลโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ขึงอยู่กับเสาไฟฟ้าของโจทก์ และดึงรั้งเอาเสาไฟฟ้าของโจทก์หักล้มได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 4 รับประกันค้ำจุนรถบรรทุกสิบล้อดังกล่าว เมื่อคดีนี้และคดีที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดเป็นเหตุละเมิดครั้งเดียวกันและตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ระบุให้จำเลยที่ 4 รับผิดไม่เกิน 250,000 บาทต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง การที่คำพิพากษา 2 สำนวนในเหตุละเมิดครั้งเดียวกันจะบังคับให้จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 4 มีสิทธิยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อคดีที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นโจทก์มียอดเงินค่าเสียหาย 51,247 บาท รวมกับยอดเงินค่าเสียหายคดีนี้260,017.24 บาท แล้วเป็นเงิน 311,264.24 บาท เกินวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทั้งสองคดีในวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยเฉลี่ยตามส่วนความเสียหายแต่ละคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175-5176/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานแวดล้อมเพียงพอพิสูจน์ความผิดฐานวางเพลิง เผาทรัพย์ แม้ไม่มีพยานรู้เห็นเหตุการณ์
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยาน แต่เจ้าพนักงานตำรวจพบจำเลยทั้งสามในบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุวางเพลิงเผาทรัพย์เกือบจะทันทีทันใดภายหลังเกิดเหตุโดยมีอุปกรณ์ซึ่งสามารถใช้ในการกระทำผิด อุปกรณ์บางอย่างเก็บไว้ในที่ซึ่งบุคคลทั่วไปไม่ใช้เป็นที่เก็บ โดยเศษผ้าลายชุบน้ำมัน 2 ผืนอยู่ในกระเป๋ากางเกงของจำเลยที่ 2 และตามเนื้อตัวเสื้อผ้าของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีรอยเปื้อนน้ำมัน นอกจากนี้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์โดยไม่เปิดไฟหน้าในลักษณะคล้ายกับกระทำผิดมาแล้วจะหลบหนี เมื่อเห็นจุดตรวจจำเลยที่ 2 ได้ขว้างขวดทิ้ง จากการตรวจพบว่าเป็นขวดแก้วมีคราบน้ำมันเป็นพิรุธถือได้ว่าพยานโจทก์เป็นพยานแวดล้อม กรณีบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากทำให้การพิจารณาคดีไม่สิ้นสุด
จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นครั้งที่สองหลังจากสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ตามขอการพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยก็ไม่มีที่สิ้นสุด แม้จำเลยจะอ้างว่า คำให้การที่ขอแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็หามีผลลบล้างพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ กรณีไม่มีเหตุอนุญาตให้แก้ไขคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานจำเลย ศาลไม่อนุญาตหากทำให้การพิจารณาไม่สิ้นสุดและไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นครั้งที่สองหลังจากสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ตามขอการพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยก็ไม่มีที่สิ้นสุด แม้จำเลยจะอ้างว่า คำให้การที่ขอแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็หามีผลลบล้างพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ กรณีไม่มีเหตุอนุญาตให้แก้ไขคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีซื้อขายเช็ค: สถานที่ทำสัญญาเป็นมูลคดี แม้ปฏิเสธการจ่ายเช็คอยู่ที่สาขาอื่น
คำว่า มูลคดีเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1) หมายถึงเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ระบุว่า โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1เช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกัน มิได้ฟ้องแต่เพียงให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชำระเงินตามเช็คเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องจึงเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อและอำนาจฟ้องของโจทก์เมื่อยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยเพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอนาคต
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วย เพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้