พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอนาคต
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วย เพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดอยู่ที่ค่าปลงศพตามกฎกระทรวง แม้มีสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติมตาม ป.พ.พ.
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองผู้ประสบภัยซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น และยังหมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย จึงบังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ บริษัทจะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นซึ่งในกรณีความเสียหายต่อชีวิตหมายถึงค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตาย เป็นไปตามรายการและจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งนี้ตามมาตรา 20 ประกอบด้วยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นนี้จะต้องจ่ายทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าเกิดจากความผิดของผู้ใด เมื่อบริษัทรับประกันภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด ตามมาตรา 31 บัญญัติว่า ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากบุคคลภายนอกหรือจากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย หากเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลดังกล่าว ดังนั้น สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์จึงมีเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 (2) กำหนดให้จำนวนค่าเสียหายเบื้องต้นให้เป็นไปดังนี้ จำนวนหนึ่งหมื่นบาทสำหรับความเสียหายต่อชีวิต โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เพียง 10,000 บาท มิใช่ 50,000 บาท ส่วนบทบัญญัติมาตรา 22 เป็นเรื่องสิทธิของผู้ประสบภัย นอกจากจะได้รับค่าเสียหายในเบื้องต้นแล้ว ไม่ตัดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตาม ป.พ.พ. อีกด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2543)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การรับรอง (Aval) ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย และการยกข้อต่อสู้เรื่องการฉ้อฉล
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายระบุผู้รับเงินคือจำเลยที่ 2โดยมิได้ขีดฆ่าคำว่า ผู้ถือ ในเช็คออก จึงเป็นเช็คผู้ถือผู้จ่ายอาจจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 หรือบุคคลใดก็ได้ที่มีเช็คอยู่ในครอบครอง การที่จำเลยที่ 2สลักหลังโอนให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1ผู้สั่งจ่าย ตามมาตรา 940 วรรคหนึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คอ้างว่าโจทก์รับโอนเช็คมาจากจำเลยที่ 2 ได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบและจะนำสืบได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับหรือปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ เหตุแห่งการนั้นอีกด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ได้ร่วมกันกระทำการโดยไม่สุจริต กล่าวคือ จำเลยที่ 2 ได้โอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับและฉบับอื่นให้แก่โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคำให้การดังกล่าวเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธที่ไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไรจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ แต่ตามคำให้การที่ว่าจำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบ เท่ากับจำเลยที่ 1ต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คมานั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรงเนื่องจากไม่มีมูลหนี้นั่นเอง จำเลยที่ 1ย่อมกล่าวอ้างและนำสืบได้เพราะเป็นการยกขึ้นต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คอ้างว่าโจทก์รับโอนเช็คมาจากจำเลยที่ 2 ได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบและจะนำสืบได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับหรือปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ เหตุแห่งการนั้นอีกด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ได้ร่วมกันกระทำการโดยไม่สุจริต กล่าวคือ จำเลยที่ 2 ได้โอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับและฉบับอื่นให้แก่โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคำให้การดังกล่าวเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธที่ไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไรจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ แต่ตามคำให้การที่ว่าจำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบ เท่ากับจำเลยที่ 1ต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คมานั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรงเนื่องจากไม่มีมูลหนี้นั่นเอง จำเลยที่ 1ย่อมกล่าวอ้างและนำสืบได้เพราะเป็นการยกขึ้นต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การต่อสู้เรื่องการโอนเช็คโดยฉ้อฉลและผลกระทบต่อสิทธิผู้ทรงเช็ค
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ได้ร่วมกันกระทำการโดยไม่สุจริต กล่าวคือ จำเลยที่ 2 ได้โอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับและฉบับอื่นให้แก่โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย คำให้การดังกล่าวเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธที่ไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธว่า คบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ อย่างไรก็ตามคำให้การที่ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบ เท่ากับจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คมานั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรงเนื่องจากไม่มีมูลหนี้นั่นเอง จำเลยที่ 1 ย่อมกล่าวอ้างและนำสืบได้เพราะเป็นการยกข้อต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน มิใช่ข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อผู้ทรงคนก่อน ๆ อันจะเป็นการขัดต่อมาตรา 916
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ได้จากการสอบสวน: การตัดสินใจด้วยตนเองของจำเลย ไม่เข้าข่ายการชักจูง
จำเลยจำหน่ายเฮโรอีน 1 ถุงแก่เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าพนักงาน ตำรวจค้นพบเฮโรอีนของกลางอีก 6 ถุงกับ 35 หลอดที่หลังบ้านเจ้าพนักงานตำรวจได้สอบถามจำเลยแต่จำเลยปฏิเสธว่าเป็นของ ส. พ่อตาจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจจึงให้แม่ยายจำเลยไปตาม ส. แต่แม่ยายจำเลยกลับมาบอกว่าไม่พบ เจ้าพนักงานตำรวจจึงบอกว่า ถ้าจับ ส. ไม่ได้ก็ต้องจับจำเลย แต่ถ้าตาม ส. มาได้ก็จะปล่อยจำเลย แล้วจึงเขียนบันทึกการจับกุมโดยแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยบอกแก่เจ้าพนักงานตำรวจว่า ถ้า ส. ไม่มารับ จำเลยก็ต้องรับ พยานจึงเขียนบันทึกว่าจำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ การที่จำเลยยอมรับเป็นเรื่องที่จำเลยตัดสินใจเองข้อความที่ว่าถ้าได้ตัว ส. มาก็จะปล่อยจำเลยนั้น ก็เห็นได้ว่าคงจะปล่อยสำหรับข้อหามีเฮโรอีน 6 ถุงกับ 35 หลอดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น ซึ่งก็เป็นการกระทำเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำผิดไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ใดกรณียังไม่เข้าลักษณะชักจูงหรือกระทำด้วยวิธีการใด ๆ ที่จะให้จำเลยให้การรับสารภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ต่อมาจะได้รับอนุญาตภายหลัง ก็ไม่ทำให้ความผิดในอดีตสิ้นสุดลง
การที่จำเลยดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งห้ามจำเลยใช้อาคารที่ดัดแปลงดังกล่าว เมื่อจำเลยฝ่าฝืน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดัดแปลงอาคารของจำเลยดังกล่าวได้ตามแบบแปลนที่ได้ยื่นไว้เดิมก็ตาม ก็หามีผลย้อนหลังไปอันจะเป็นเหตุให้ขณะที่จำเลยกระทำการดัดแปลงอาคารโดยยังมิได้รับอนุญาตก่อนนั้นซึ่งเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว กลับเป็นการได้รับอนุญาตโดยชอบแต่อย่างใด เพราะตราบใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่มีการอนุญาตก็ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดอยู่ตลอดมาจนถึงวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นเคหสถานและการจับกุมเกี่ยวกับยาเสพติดโดยไม่ได้รับหมายค้น
ที่จำเลยฎีกาว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับและค้นห้องพักของจำเลยในยามวิกาลโดยไม่มีหมายจับและหมายค้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิฎีกา
เจ้าพนักงานตำรวจได้สืบทราบมาก่อนว่า จำเลยลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน วันเกิดเหตุ (1 พฤษภาคม 2540) ร้อยตำรวจเอก ศ.กับพวกได้วางแผนจับกุมโดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลย เห็นรถบรรทุกสิบล้อประมาณ3 ถึง 4 คัน ขับมาจอดที่หน้าร้านจำเลยโดยไม่ได้เติมน้ำมัน แล้วคนขับรถบรรทุกสิบล้อเข้าไปส่งธนบัตรให้จำเลย จำเลยเอี้ยวตัวไปหยิบสิ่งของจากชั้นวางของด้านหลังส่งให้เชื่อว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้คนขับรถบรรทุกสิบล้อ ร้อยตำรวจเอก ศ.จึงเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และได้แสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานป.ป.ส.ขอตรวจค้นที่ชั้นวางของเป็นจุดแรก พบเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของใกล้กับที่นั่งของจำเลย กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็นที่รโหฐาน ประกอบมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากไม่ดำเนินการทันทียาเสพติดอาจถูกโยกย้าย ร้อยตำรวจเอก ศ.จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถานและจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในเวลากลางคืนหลังจากพระอาทิตย์ตกดินได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ. 2519 มาตรา 14 ทั้งจำเลยก็ยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นแต่โดยดีสิ่งของที่ค้นได้ทั้งหมดรวมทั้งที่ค้นได้จากในห้องพักของจำเลยจึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้กรณีไม่ต้องพิจารณาว่า มีเหตุที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 92(1)ถึง (5) หรือไม่
เจ้าพนักงานตำรวจได้สืบทราบมาก่อนว่า จำเลยลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน วันเกิดเหตุ (1 พฤษภาคม 2540) ร้อยตำรวจเอก ศ.กับพวกได้วางแผนจับกุมโดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลย เห็นรถบรรทุกสิบล้อประมาณ3 ถึง 4 คัน ขับมาจอดที่หน้าร้านจำเลยโดยไม่ได้เติมน้ำมัน แล้วคนขับรถบรรทุกสิบล้อเข้าไปส่งธนบัตรให้จำเลย จำเลยเอี้ยวตัวไปหยิบสิ่งของจากชั้นวางของด้านหลังส่งให้เชื่อว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้คนขับรถบรรทุกสิบล้อ ร้อยตำรวจเอก ศ.จึงเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และได้แสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานป.ป.ส.ขอตรวจค้นที่ชั้นวางของเป็นจุดแรก พบเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของใกล้กับที่นั่งของจำเลย กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็นที่รโหฐาน ประกอบมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากไม่ดำเนินการทันทียาเสพติดอาจถูกโยกย้าย ร้อยตำรวจเอก ศ.จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถานและจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในเวลากลางคืนหลังจากพระอาทิตย์ตกดินได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ. 2519 มาตรา 14 ทั้งจำเลยก็ยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นแต่โดยดีสิ่งของที่ค้นได้ทั้งหมดรวมทั้งที่ค้นได้จากในห้องพักของจำเลยจึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้กรณีไม่ต้องพิจารณาว่า มีเหตุที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 92(1)ถึง (5) หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการตรวจค้นเคหสถานและการจับกุมเกี่ยวกับยาเสพติดโดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม พ.ร.บ. ป.ป.ส. และเหตุสมควรสงสัย
ผู้ดำเนินการจับกุมและตรวจค้นคือร้อยตำรวจเอก ศ. ซึ่งสืบทราบ และวางแผนจับกุมจำเลย โดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลยในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ขับรถบรรทุก จากการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีน2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของใกล้กับที่นั่งของจำเลย กรณีจึงมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็น ที่รโหฐานนั้น ประกอบมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดำเนินการทันที ยาเสพติดอาจถูกโยกย้าย เมื่อแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้จำเลยดูแล้ว ร้อยตำรวจเอก ศ. จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถาน และจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ หรือหมายค้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ มาตรา 14 กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(1)-(5)หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นเคหสถานและการจับกุมคดียาเสพติด: อำนาจเจ้าพนักงานและเหตุอันควรสงสัย
ที่จำเลยฎีกาว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับและค้นห้องพักของจำเลยในยามวิกาลโดยไม่มีหมายจับและหมายค้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิฎีกา
เจ้าพนักงานตำรวจได้สืบทราบมาก่อนว่า จำเลยลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน วันเกิดเหตุ (1 พฤษภาคม 2540)ร้อยตำรวจเอก ศ. กับพวก ได้วางแผนจับกุมโดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลย เห็นรถบรรทุกสิบล้อประมาณ 3 ถึง 4 คัน ขับมาจอดที่หน้าร้านจำเลยโดยไม่ได้เติมน้ำมันแล้วคนขับรถบรรทุกสิบล้อเข้าไปส่งธนบัตรให้จำเลย จำเลยเอี้ยวตัวไปหยิบสิ่งของจากชั้นวางของด้านหลังส่งให้เชื่อว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้คนขับรถบรรทุกสิบล้อ ร้อยตำรวจเอก ศ. จึงเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และได้แสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานป.ป.ส. ขอตรวจค้นที่ชั้นวางของเป็นจุดแรก พบเมทแอมเฟตามีน2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของใกล้กับที่นั่งของจำเลยกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็นที่รโหฐาน ประกอบมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากไม่ดำเนินการทันทียาเสพติดอาจถูกโยกย้าย ร้อยตำรวจเอก ศ. จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถานและจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในเวลากลางคืนหลังจากพระอาทิตย์ตกดินได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ. 2519 มาตรา 14 ทั้งจำเลยก็ยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นแต่โดยดีสิ่งของที่ค้นได้ทั้งหมดรวมทั้งที่ค้นได้จากในห้องพักของจำเลยจึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้ กรณีไม่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(1) ถึง (5)หรือไม่
เจ้าพนักงานตำรวจได้สืบทราบมาก่อนว่า จำเลยลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน วันเกิดเหตุ (1 พฤษภาคม 2540)ร้อยตำรวจเอก ศ. กับพวก ได้วางแผนจับกุมโดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลย เห็นรถบรรทุกสิบล้อประมาณ 3 ถึง 4 คัน ขับมาจอดที่หน้าร้านจำเลยโดยไม่ได้เติมน้ำมันแล้วคนขับรถบรรทุกสิบล้อเข้าไปส่งธนบัตรให้จำเลย จำเลยเอี้ยวตัวไปหยิบสิ่งของจากชั้นวางของด้านหลังส่งให้เชื่อว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้คนขับรถบรรทุกสิบล้อ ร้อยตำรวจเอก ศ. จึงเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และได้แสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานป.ป.ส. ขอตรวจค้นที่ชั้นวางของเป็นจุดแรก พบเมทแอมเฟตามีน2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของใกล้กับที่นั่งของจำเลยกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็นที่รโหฐาน ประกอบมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากไม่ดำเนินการทันทียาเสพติดอาจถูกโยกย้าย ร้อยตำรวจเอก ศ. จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถานและจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในเวลากลางคืนหลังจากพระอาทิตย์ตกดินได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ. 2519 มาตรา 14 ทั้งจำเลยก็ยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นแต่โดยดีสิ่งของที่ค้นได้ทั้งหมดรวมทั้งที่ค้นได้จากในห้องพักของจำเลยจึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้ กรณีไม่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(1) ถึง (5)หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4462/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศ ธ.แห่งประเทศไทย และการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย
++ เรื่อง ยืม บัญชีเดินสะพัด จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังได้ยุติว่า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2533 จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.4และในวันเดียวกันจำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามเอกสารหมาย จ.5 โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30146 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เป็นประกันในวงเงิน5,000,000 บาท ตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.6 จำเลยตกลงให้บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 001-1-06240-3 เป็นบัญชีเดินสะพัด ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม 2536 จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์จำนวน 2,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.7 และจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 22653 ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่เป็นประกันตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.8 ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกมีว่า โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินอีก 2 ฉบับ โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบหรือไม่ซึ่งจะได้วินิจฉัยพร้อมกันไป
++
++ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมายจ.4 ข้อ 3 สัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2533 เอกสารหมาย จ.5 ข้อ 3 และสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2536เอกสารหมาย จ.7 ข้อ 3 มีข้อความอย่างเดียวกันว่า หากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้ก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบในเวลาอันสมควร โจทก์นำสืบว่าได้ปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย จ.18 และตามประกาศของธนาคารโจทก์ไว้ที่ธนาคารของโจทก์ทุกสาขา และทำสำเนาบัญชีกระแสรายวันตามเอกสารหมาย จ.11 ส่งให้แก่จำเลยทุกสิ้นเดือน ฝ่ายจำเลยนำสืบว่าได้นำเงินไปผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยตนเองเกือบทุกเดือนไม่ทราบว่าโจทก์ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลูกค้าทราบหรือไม่เพราะไม่ได้สังเกต เมื่อได้รับสำเนาบัญชีกระแสรายวันแล้วจำเลยไม่เคยโต้แย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
++ จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ปิดประกาศไว้ที่ธนาคารโจทก์ทุกสาขาเพื่อให้ลูกค้าทราบแล้วจริง เมื่อตามข้อสัญญาเอกสารหมาย จ.4 จ.5 และ จ.7 ข้อ 3 ไม่ได้กำหนดวิธีการแจ้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้ผู้กู้ทราบว่าจะต้องกระทำโดยวิธีใดการที่โจทก์ปิดประกาศไว้ดังกล่าวถือได้ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ++
++ ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า หลังจากเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราเท่าใด
++ จำเลยฎีกาว่า นับถัดจากวันเลิกสัญญาแล้ว โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ไม่ใช่ร้อยละ 18 ต่อปี นั้น
++ เห็นว่าโจทก์มีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยระหว่างเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่นั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเอกสารหมาย จ.18 หลังเลิกสัญญาแล้วโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ต่อไป มิใช่ต้องคิดในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปีมิฉะนั้นแล้วก็จะกลายเป็นว่าการปฏิบัติผิดสัญญาทำให้จำเลยได้ประโยชน์ ++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.5 และ จ.7 ภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดแล้วได้หรือไม่
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวกำหนดข้อตกลงกันไว้ในข้อ 4 ว่า หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระตามอัตราและข้อกำหนดแห่งระยะเวลาที่กล่าวในข้อ 2 ผู้กู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ เมื่อตามสัญญาในข้อ 3 ตกลงกันให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้แม้หลังวันที่จำเลยผิดนัดแล้ว กรณีเป็นการปรับเปลี่ยนตามข้อตกลงในสัญญามิใช่เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ++
++ ปัญหาข้อสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่
++ นางชุตินันท์ ยุววิทยาพาณิชนิติกรของโจทก์เบิกความว่า ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้บอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2537 โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามที่จำเลยให้ไว้ในสัญญากู้และสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามหนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 การบอกกล่าวทวงถามบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นหน้าที่ของนิติกร ซึ่งตามระเบียบของธนาคารได้มอบอำนาจให้อยู่แล้ว การใดที่นิติกรได้กระทำไปถือว่าธนาคารโจทก์ให้สัตยาบัน จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า โจทก์มิได้นำสืบหรือส่งระเบียบของธนาคารหรือมีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 และ 798นั้น
++ เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งระเบียบหรือหนังสือมอบอำนาจ จึงยังไม่พอฟังว่าได้มีการมอบอำนาจให้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยทำเป็นหนังสือก็ตาม แต่นางชุตินันท์เป็นนิติกรของโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของนางชุตินันท์ เป็นการให้สัตยาบันในการกระทำของนางชุตินันท์ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 5,000 บาทแทนโจทก์. ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังได้ยุติว่า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2533 จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.4และในวันเดียวกันจำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามเอกสารหมาย จ.5 โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30146 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เป็นประกันในวงเงิน5,000,000 บาท ตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.6 จำเลยตกลงให้บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 001-1-06240-3 เป็นบัญชีเดินสะพัด ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม 2536 จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์จำนวน 2,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.7 และจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 22653 ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่เป็นประกันตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.8 ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกมีว่า โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินอีก 2 ฉบับ โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบหรือไม่ซึ่งจะได้วินิจฉัยพร้อมกันไป
++
++ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมายจ.4 ข้อ 3 สัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2533 เอกสารหมาย จ.5 ข้อ 3 และสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2536เอกสารหมาย จ.7 ข้อ 3 มีข้อความอย่างเดียวกันว่า หากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้ก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบในเวลาอันสมควร โจทก์นำสืบว่าได้ปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย จ.18 และตามประกาศของธนาคารโจทก์ไว้ที่ธนาคารของโจทก์ทุกสาขา และทำสำเนาบัญชีกระแสรายวันตามเอกสารหมาย จ.11 ส่งให้แก่จำเลยทุกสิ้นเดือน ฝ่ายจำเลยนำสืบว่าได้นำเงินไปผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยตนเองเกือบทุกเดือนไม่ทราบว่าโจทก์ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลูกค้าทราบหรือไม่เพราะไม่ได้สังเกต เมื่อได้รับสำเนาบัญชีกระแสรายวันแล้วจำเลยไม่เคยโต้แย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
++ จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ปิดประกาศไว้ที่ธนาคารโจทก์ทุกสาขาเพื่อให้ลูกค้าทราบแล้วจริง เมื่อตามข้อสัญญาเอกสารหมาย จ.4 จ.5 และ จ.7 ข้อ 3 ไม่ได้กำหนดวิธีการแจ้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้ผู้กู้ทราบว่าจะต้องกระทำโดยวิธีใดการที่โจทก์ปิดประกาศไว้ดังกล่าวถือได้ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ++
++ ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า หลังจากเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราเท่าใด
++ จำเลยฎีกาว่า นับถัดจากวันเลิกสัญญาแล้ว โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ไม่ใช่ร้อยละ 18 ต่อปี นั้น
++ เห็นว่าโจทก์มีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยระหว่างเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่นั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเอกสารหมาย จ.18 หลังเลิกสัญญาแล้วโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ต่อไป มิใช่ต้องคิดในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปีมิฉะนั้นแล้วก็จะกลายเป็นว่าการปฏิบัติผิดสัญญาทำให้จำเลยได้ประโยชน์ ++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.5 และ จ.7 ภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดแล้วได้หรือไม่
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวกำหนดข้อตกลงกันไว้ในข้อ 4 ว่า หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระตามอัตราและข้อกำหนดแห่งระยะเวลาที่กล่าวในข้อ 2 ผู้กู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ เมื่อตามสัญญาในข้อ 3 ตกลงกันให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้แม้หลังวันที่จำเลยผิดนัดแล้ว กรณีเป็นการปรับเปลี่ยนตามข้อตกลงในสัญญามิใช่เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ++
++ ปัญหาข้อสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่
++ นางชุตินันท์ ยุววิทยาพาณิชนิติกรของโจทก์เบิกความว่า ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้บอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2537 โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามที่จำเลยให้ไว้ในสัญญากู้และสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามหนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 การบอกกล่าวทวงถามบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นหน้าที่ของนิติกร ซึ่งตามระเบียบของธนาคารได้มอบอำนาจให้อยู่แล้ว การใดที่นิติกรได้กระทำไปถือว่าธนาคารโจทก์ให้สัตยาบัน จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า โจทก์มิได้นำสืบหรือส่งระเบียบของธนาคารหรือมีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 และ 798นั้น
++ เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งระเบียบหรือหนังสือมอบอำนาจ จึงยังไม่พอฟังว่าได้มีการมอบอำนาจให้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยทำเป็นหนังสือก็ตาม แต่นางชุตินันท์เป็นนิติกรของโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของนางชุตินันท์ เป็นการให้สัตยาบันในการกระทำของนางชุตินันท์ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 5,000 บาทแทนโจทก์. ++