พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การคุ้มครองทุพพลภาพถาวรและการคืนเบี้ยประกันภัย
ข้อตกลงในสัญญาใดจะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ต้องยึดหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม ว่าเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนพึงจะคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อพิจารณาใบสมัครเอาประกันภัยที่โจทก์ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขอสมัครเอาประกันภัยไว้ทุกแผ่น จะเห็นได้ว่ามีข้อความที่อธิบายถึงความหมายของคำว่า ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวรไว้หลายที่ โดยเฉพาะในแผ่นที่ 2 จะมีข้อความที่อธิบายถึงความหมายของคำว่าทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวรพิมพ์อยู่เหนือบริเวณโจทก์ลงลายมือชื่อและโจทก์ไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่าโจทก์ไม่ทราบข้อความดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่า โจทก์ทราบถึงเงื่อนไขความรับผิดของจำเลยในกรณีโจทก์ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพในระหว่างอายุสัญญาประกันชีวิตแล้ว หากโจทก์เห็นว่าข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวทำให้เสียเปรียบเกินสมควรโจทก์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่เข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยและเลือกทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยที่โจทก์เห็นว่าข้อจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยเป็นประโยชน์แก่โจทก์สูงสุด โจทก์จึงไม่ได้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบหรือจำยอมก่อนที่จะเข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลย เมื่อโจทก์สมัครใจเข้าทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยก็เท่ากับโจทก์ตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของจำเลยจากกรณีโจทก์ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพตามสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่โจทก์ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่จะตกเป็นโมฆะ
สัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกัน ให้คำจำกัดความของคำว่า ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวร หมายถึง ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพใด ๆ โดยไม่ขาดระยะเป็นอย่างน้อย 180 วัน และไม่มีทางหายเป็นปกติได้หรือกรณีดังต่อไปนี้ ตาบอดทั้งสองข้าง การตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือหรือเท้าทั้งสองข้าง การตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือข้างใดข้างหนึ่งและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ตาบอดข้างใดข้างหนึ่งและการตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อได้ความตามใบรับรองแพทย์ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2560 นายแพทย์ ว. แพทย์ผู้ทำการรักษาโจทก์บันทึกไว้ในใบรับรองแพทย์ว่า โจทก์ต้องพักฟื้นรักษาตัวมีกำหนดสามเดือน นับแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 หลังจากนั้น ยังต้องทำกายภาพบำบัดและรอเวลาใส่ขาเทียม อีก 3 ถึง 6 เดือน เห็นได้ว่าเป็นกรณีโจทก์ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพใด ๆ โดยไม่ขาดระยะเป็นอย่างน้อย 180 วัน และไม่มีทางหายเป็นปกติได้ เข้าเงื่อนไขของการทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวรแล้ว โจทก์มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์ยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย โดยได้รับยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัยคุ้มครองทุพพลภาพและเบี้ยประกันชีวิตที่ครบกำหนดชำระในระหว่างที่ทุพพลภาพถึงสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัยอันจะมีผลให้กรมธรรม์ชีวิตที่สัญญาฉบับนี้ออกควบอยู่ ยังคงมีสิทธิเป็นกรมธรรม์ที่ได้ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนดทุกประการ เมื่อโจทก์เข้ารับการผ่าตัดตัดขาซ้ายออกระดับเหนือเข่าลงมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 นับแต่นั้นมาโจทก์ย่อมตกอยู่ในสภาพทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร ดังนั้น โจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระเบี้ยประกันรายเดือน เดือนละ 2,015.20 บาท ตั้งแต่งวดเดือนธันวาคม 2560 จนครบกำหนดระยะเวลา 7 ปี นับแต่วันที่ 5 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นสัญญาประกันภัย แม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอส่วนนี้มาแต่เป็นกรณีที่จำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้องหรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 39 ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยงวดเดือนธันวาคม 2560 ถึงงวดเดือนกรกฎาคม 2561 โดยวิธีหักจากบัญชีธนาคารเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 16,121.60 บาท จำเลยจึงต้องคืนค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวฐานลาภมิควรได้ เมื่อโจทก์ได้แจ้งการยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัยอันถือได้ว่าเป็นการทวงถามเบี้ยประกันที่โจทก์ชำระไปดังกล่าวคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ชำระ จึงถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ทุจริตและตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์ได้เตือนแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง และมาตรา 415
สัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกัน ให้คำจำกัดความของคำว่า ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวร หมายถึง ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพใด ๆ โดยไม่ขาดระยะเป็นอย่างน้อย 180 วัน และไม่มีทางหายเป็นปกติได้หรือกรณีดังต่อไปนี้ ตาบอดทั้งสองข้าง การตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือหรือเท้าทั้งสองข้าง การตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือข้างใดข้างหนึ่งและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ตาบอดข้างใดข้างหนึ่งและการตัดออกหรือการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานโดยสิ้นเชิงของมือหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อได้ความตามใบรับรองแพทย์ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2560 นายแพทย์ ว. แพทย์ผู้ทำการรักษาโจทก์บันทึกไว้ในใบรับรองแพทย์ว่า โจทก์ต้องพักฟื้นรักษาตัวมีกำหนดสามเดือน นับแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 หลังจากนั้น ยังต้องทำกายภาพบำบัดและรอเวลาใส่ขาเทียม อีก 3 ถึง 6 เดือน เห็นได้ว่าเป็นกรณีโจทก์ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพใด ๆ โดยไม่ขาดระยะเป็นอย่างน้อย 180 วัน และไม่มีทางหายเป็นปกติได้ เข้าเงื่อนไขของการทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงและถาวรแล้ว โจทก์มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์ยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย โดยได้รับยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัยคุ้มครองทุพพลภาพและเบี้ยประกันชีวิตที่ครบกำหนดชำระในระหว่างที่ทุพพลภาพถึงสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัยอันจะมีผลให้กรมธรรม์ชีวิตที่สัญญาฉบับนี้ออกควบอยู่ ยังคงมีสิทธิเป็นกรมธรรม์ที่ได้ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนดทุกประการ เมื่อโจทก์เข้ารับการผ่าตัดตัดขาซ้ายออกระดับเหนือเข่าลงมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 นับแต่นั้นมาโจทก์ย่อมตกอยู่ในสภาพทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร ดังนั้น โจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระเบี้ยประกันรายเดือน เดือนละ 2,015.20 บาท ตั้งแต่งวดเดือนธันวาคม 2560 จนครบกำหนดระยะเวลา 7 ปี นับแต่วันที่ 5 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นสัญญาประกันภัย แม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอส่วนนี้มาแต่เป็นกรณีที่จำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้องหรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 39 ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยงวดเดือนธันวาคม 2560 ถึงงวดเดือนกรกฎาคม 2561 โดยวิธีหักจากบัญชีธนาคารเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 16,121.60 บาท จำเลยจึงต้องคืนค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวฐานลาภมิควรได้ เมื่อโจทก์ได้แจ้งการยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัยอันถือได้ว่าเป็นการทวงถามเบี้ยประกันที่โจทก์ชำระไปดังกล่าวคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ชำระ จึงถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ทุจริตและตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์ได้เตือนแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง และมาตรา 415
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยมิได้มีเจตนาเป็นสามีภริยา และการคืนเงินบำเหน็จตกทอดฐานลาภมิควรได้
จำเลยจดทะเบียนสมรสกับเรือเอก ช. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญของกองทัพเรือโจทก์ เมื่อเรือเอก ช. ถึงแก่ความตายจำเลยได้ขอรับเงินบำเหน็จตกทอดจากโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่จำเลย 207,750 บาท ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสโดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากัน หากแต่กระทำเพื่อต้องการได้รับเงินบำเหน็จตกทอด การสมรสของจำเลยฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว เมื่อศาลพิพากษาว่าการสมรสตกเป็นโมฆะจึงไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา 1498 วรรคหนึ่ง และมีผลเท่ากับจำเลยกับเรือเอก ช. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและสิทธิของจำเลยดังกล่าวก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1499 เพราะจำเลยมิได้สมรสโดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตามาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 406
จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้เรียกคืนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดต่อเมื่อมีการเรียกคืนแล้ว แต่จำเลยไม่คืนให้ จึงจะถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้เรียกคืนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดต่อเมื่อมีการเรียกคืนแล้ว แต่จำเลยไม่คืนให้ จึงจะถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์: การตีความ 'ชุด' และการลดเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
โจทก์ได้ทำสัญญาขายเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งเสร็จแก่จำเลย แล้วต่อมาโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งให้แก่จำเลยไม่ทันกำหนดตามสัญญา โดยสัญญาฉบับพิพาท ข้อ 6 ระบุไว้ว่าโจทก์ผู้ขายจะต้องส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมเสาอากาศและอุปกรณ์ห้องส่งติดตั้งให้จำเลยแล้วเสร็จภายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยช้ากว่ากำหนดไป 132 วัน ซึ่งตามสัญญาข้อ 12 จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดตามสัญญา 12,140,000 บาท คิดเป็นเงินค่าปรับ 3,204,960 บาทและการขายเหมาดังข้อความในสัญญาข้อ 1 นั้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ข้อ 61 ทวิวรรคสี่มีว่า "ในกรณีการซื้อสิ่งของที่คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใดให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด" การที่โจทก์และจำเลยมีเจตนาตกลงทำกันขึ้นประกอบเข้าด้วยกันจากข้อความในสัญญาข้อที่เขียนไว้ว่า "ผู้ซื้อตกลงซื้อและผู้ขายตกลงขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศรวมทั้งอุปกรณ์ห้องส่งขนาดเล็กรวม 1 ชุด พร้อมทั้งการติดตั้งตามสถานที่ที่กำหนด ฯลฯ" กับข้อความในสัญญาข้อ 12 ที่เขียนว่า"ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" แล้วก็จะเห็นได้ว่ามีคำว่า"ชุด" ตรงกัน และพิจารณาประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ดังกล่าว จึงแปลความในสัญญาได้ว่า จากมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดเนื่องจากเครื่องส่งโทรทัศน์อุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศ คือสิ่งของประกอบกันเข้าเป็นชุด วัตถุแห่งสัญญาก็คือการส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมการติดตั้งและสามารถแพร่ภาพออกอากาศได้มิใช่หมายความถึงเฉพาะราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เมื่อโจทก์ส่งมอบของและติดตั้งล่าช้าเกินกำหนดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องชำระค่าปรับตามสัญญาข้อ 12แต่ค่าปรับดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ซึ่งศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ส่วนดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่โจทก์จะได้รับคืนนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับจากความล่าช้าในการส่งมอบและติดตั้งตามสัญญาซื้อขาย การตีความมูลค่าที่ใช้คำนวณค่าปรับ
โจทก์ได้ทำสัญญาขายเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งเสร็จแก่จำเลย แล้วต่อมาโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งให้แก่จำเลยไม่ทันกำหนดตามสัญญา โดยสัญญาฉบับพิพาท ข้อ 6 ระบุไว้ว่าโจทก์ผู้ขายจะต้องส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมเสาอากาศและอุปกรณ์ห้องส่งติดตั้งให้จำเลยแล้วเสร็จภายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยช้ากว่ากำหนดไป 132 วัน ซึ่งตามสัญญาข้อ 12 จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดตามสัญญา 12,140,000 บาทคิดเป็นเงินค่าปรับ 3,204,960 บาท และการขายเหมาดังข้อความในสัญญาข้อ 1นั้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 61 ทวิ วรรคสี่มีว่า "ในกรณีการซื้อสิ่งของที่คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใดให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด" การที่โจทก์และจำเลยมีเจตนาตกลงทำกันขึ้นประกอบเข้าด้วยกันจากข้อความในสัญญาข้อที่เขียนไว้ว่า "ผู้ซื้อตกลงซื้อและผู้ขายตกลงขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศรวมทั้งอุปกรณ์ห้องส่งขนาดเล็กรวม 1 ชุด พร้อมทั้งการติดตั้งตามสถานที่ที่กำหนด ฯลฯ" กับข้อความในสัญญาข้อ 12 ที่เขียนว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" แล้วก็จะเห็นได้ว่ามีคำว่า "ชุด" ตรงกัน และพิจารณาประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ดังกล่าว จึงแปลความในสัญญาได้ว่า จากมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดเนื่องจากเครื่องส่งโทรทัศน์ อุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศ คือสิ่งของประกอบกันเข้าเป็นชุด วัตถุแห่งสัญญาก็คือการส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมการติดตั้งและสามารถแพร่ภาพออกอากาศได้มิใช่หมายความถึงเฉพาะราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เมื่อโจทก์ส่งมอบของและติดตั้งล่าช้าเกินกำหนดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องชำระค่าปรับตามสัญญาข้อ 12 แต่ค่าปรับดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ซึ่งศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ส่วนดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่โจทก์จะได้รับคืนนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับจากสัญญาจ้างก่อสร้างและการไม่เกิดดอกเบี้ยเมื่อมีการหักเงินค่าปรับไว้แล้ว
จำเลยปรับโจทก์ตามสัญญาโดยหักเงินค่าปรับไว้จากเงินค่าจ้างเมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก ให้จำเลยคืนเงินค่าปรับบางส่วนแก่โจทก์โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้างซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกล่าวอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ผู้ขายต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง หากไม่คืนถือเป็นทุจริต
เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะ เงินค่าที่ดินที่ผู้จะขายรับไว้จากโจทก์ผู้จะซื้อผู้จะขายต้องคืนให้โจทก์ฐานเป็นลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืนแต่ผู้จะขายไม่คืนให้ต้องถือว่าผู้จะขายตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืน และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องโจทก์ได้เรียกให้ผู้จะขายหรือจำเลยซึ่งเป็นทายาทคืนเงินให้ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับตั้งแต่วันฟ้อง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินโมฆะ, การคืนเงิน, ทุจริตจำเดิม, ดอกเบี้ยผิดนัด
เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะ เงินค่าที่ดินที่ผู้จะขายรับไว้จากโจทก์ผู้จะซื้อผู้จะขายต้องคืนให้โจทก์ฐานเป็นลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืนแต่ผู้จะขายไม่คืนให้ต้องถือว่าผู้จะขายตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืน และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องโจทก์ได้เรียกให้ผู้จะขายหรือจำเลยซึ่งเป็นทายาทคืนเงินให้ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับตั้งแต่วันฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายตกเป็นโมฆะ ผู้จะขายต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง
เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะ เงินค่าที่ดินที่ผู้จะขายรับไว้จากโจทก์ผู้จะซื้อ ผู้จะขายต้องคืนให้โจทก์ฐานเป็นลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืนแต่ผู้จะขายไม่คืนให้ต้องถือว่าผู้จะขายตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไปเมื่อก่อนฟ้องโจทก์ไม่ได้เรียกให้ผู้จะขายหรือจำเลยซึ่งเป็นทายาทคืนเงินให้ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับตั้งแต่วันฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะ ผู้จะขายต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่ถูกเรียกร้อง
เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะ ผู้จะขายก็ต้องคืนเงินที่รับไว้แก่ผู้จะซื้อฐานเป็นลาภมิควรได้ โดยผู้จะขายต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่ผู้จะซื้อเรียกคืน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายและการเก็บผลประโยชน์จากที่ดิน ศาลไม่อาจบังคับโอนกรรมสิทธิ์ได้หากมีเหตุขัดแย้งจากคดีอื่น
เดิมบิดาและมารดาทำสัญญาประนีประนอมยกที่ดินที่ปกครองร่วมกัน ให้แก่บุตรชาย บุตรหญิงรวม 2 คนคนละ 1 ส่วนเท่าๆ กันแต่บุตรจะเข้าครอบครองได้ต่อเมื่อบิดามารดาตายหมดแล้วทั้งสองคนครั้นบิดาตายไปก่อนคนเดียวมารดาจึงทำสัญญาจะขายที่ดินนั้นแก่ผู้อื่นบุตรชายจึงฟ้องมารดา ในที่สุดศาลพิพากษาบังคับมารดาไม่ให้ขายที่พิพาทนั้นมารดาจึงบอกเลิกข้อผูกพันกับผู้ซื้อ และห้ามมิให้ผู้ซื้อเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป ดังนี้ผู้ซื้อจะมาฟ้องมารดาให้โอนที่ดินส่วนของบุตรหญิงให้ผู้ซื้อตามสัญญาเดิมนั้น ย่อมไม่ได้ และจะเรียกค่าเสียหายในฐานที่ถูกมารดาห้ามไม่ให้เก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทต่อไปก็ไม่ได้
และสำหรับมารดาก็จะฟ้องเรียกค่าผลประโยชน์ที่ผู้ซื้อได้จากที่ดินนั้นคืน ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะมารดาได้มอบที่ดินให้เขาเก็บผลประโยชน์เอาตามสัญญาจะซื้อขาย
และสำหรับมารดาก็จะฟ้องเรียกค่าผลประโยชน์ที่ผู้ซื้อได้จากที่ดินนั้นคืน ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะมารดาได้มอบที่ดินให้เขาเก็บผลประโยชน์เอาตามสัญญาจะซื้อขาย