พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล vs. ประกันชีวิต: สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายและการเข้ารับช่วงสิทธิ
สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตของ ส. เป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่ง การใช้เงินตามความหมายในมาตรา 889 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายในส่วนนี้ที่โจทก์จ่ายไปจำนวน 100,000 บาท ส่วน ค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บของ ก. และค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของ ส. ที่โจทก์จ่ายไปรายละ50,000 บาท เป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลง คุ้มครองหาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายที่ ก. และ ส. ได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ ก. และ ส.แล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิจากก.และส. มาฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสามได้ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ คำพิพากษานี้จึงมีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน180,300 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน 380,300 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 200,000 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง5,000 บาท การที่จำเลยที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์429,617.51 บาท เป็นเงิน 10,640 บาท จึงไม่ถูกต้องต้องคืนค่าขึ้นศาล ส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับการรับช่วงสิทธิ: ข้อจำกัดในการฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหาย
สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตามความหมายในมาตรา 889 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย ดังนี้ โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเกี่ยวกับการตายของผู้เอาประกันที่โจทก์จ่ายไป เมื่อค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บและค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของผู้เอาประกันที่โจทก์จ่ายไป ซึ่งเป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลงคุ้มครอง หาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายที่ผู้เอาประกันได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยเมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันมาฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยผู้ทำละเมิดต่อผู้เอาประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต: ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี
ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนที่เป็นการประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889หาใช่การประกันวินาศภัยแต่เพียงอย่างเดียวไม่ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยการประกันชีวิตไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิได้อย่างกรณีการประกันวินาศภัยดังนั้นแม้โจทก์จะได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน50,000บาทให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปโจทก์ก็หามีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเพื่อฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากการสูญเสียการได้ยิน และข้อยกเว้นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์ ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่ต้องอาศัยการฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบการซ่อมรถและพูดคุยกับลูกค้าเมื่อประสบอุบัติเหตุทำให้ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถในการประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือว่าโจทก์ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงตามสัญญาแล้วหาจำต้องเป็นกรณีขาดกำลังที่จะประกอบการงานถึงขนาดไม่สามารถประกอบอาชีพหน้าที่การงานใดๆในอาชีพประจำหรืออาชีพอื่นได้โดยสิ้นเชิงไม่ ข้อสัญญาตกลงกันว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันภัยต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการ ทุพพลภาพดังกล่าวเป็น ลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรจึงไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"มิได้กำหนดโดยเคร่งครัดว่าต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีโจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตัวเองแต่ ไม่ได้ทำ เป็นหนังสือเพราะใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้และจำเลยได้รับคำ บอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าไม่ติดใจให้โจทก์แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9070/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเมื่อทำสัญญาประกันภัยหลายฉบับ
ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยผู้รับประกันภัยได้จำกัดความรับผิดในกรณีอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ไว้ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อ 1 คน และในกรณีถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกายไว้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อ 1 คน ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะเอาประกันภัยไว้เป็นจำนวนเงินหรือมีทุนประกันเท่าใด ดังนั้น แม้ผู้เอาประกันภัยจะใช้สิทธิเลือกซื้อสัญญาประกันภัยเช่นนี้ไว้กี่ครั้งก็ตาม หากเป็นผู้เอาประกันภัยรายเดียวกันแล้ว ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว คดีนี้ ล. ทำสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ต่อจำเลย 2 ครั้ง ครั้งแรก จำนวนเงินเอาประกันภัย 300,000 บาทระบุให้ ม. และ ศ. เป็นผู้รับประโยชน์ ครั้งที่สองจำนวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ดังนั้น จำเลยผู้รับประกันภัยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว กล่าวคือ ต้องนำจำนวนเงินเอาประกันภัยหรือทุนประกันตามสัญญาทั้งสองฉบับมารวมกันถือเป็นจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยไว้ทั้งสิ้น เมื่อรวมแล้วเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยเกินกว่า500,000 บาท จำเลยจึงคงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ทั้งสองสัญญารวมกันเพียง 500,000 บาทเมื่อทั้งสองสัญญามีจำนวนเงินเอาประกันภัยจำนวน 300,000 บาทและ 500,000 บาท จึงต้องเฉลี่ยการได้รับค่าสินไหมทดแทนกันตามอัตราส่วนดังกล่าว ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงจำนวน 312,500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตกับประกันอุบัติเหตุ: การตีความตามสัญญาจ้างและกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889ได้วางหลักไว้ว่าในสัญญาประกันชีวิตการใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลของผู้ตายได้ความว่าหากผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุจากการทำงานบริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินให้การจ่ายเงินก็โดยอาศัยความมรณะของผู้ตายจึงเป็นการประกันชีวิตตามกฎหมายมาตราดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้จัดการประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายตามที่ได้ตกลงไว้แล้วส่วนสาเหตุการตายเป็นเพียงเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันและผู้รับประกันจะตกลงกันในการจ่ายเงินเท่านั้นไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตกลับกลายเป็นไม่ใช่สัญญาประกันชีวิตไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตโมฆียะ: ผู้เอาประกันต้องเป็นผู้เปิดเผยข้อมูลสุขภาพที่แท้จริง ผู้รับประโยชน์ไม่ต้องรับผิด
การที่สัญญาประกันชีวิตจะเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ต้องเป็นกรณีที่บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจ จะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้ บอกปัด ไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ ซึ่ง กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นคือบุตรโจทก์ หาใช่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความ จริง ที่ บุตร โจทก์เป็นโรคลมชักให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบ ก็ไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพในการทำประกันชีวิต และผลกระทบต่อความโมฆียะของสัญญา
การที่สัญญาประกันชีวิตจะเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ต้องเป็นกรณีที่ บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขา นั้นรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะจูงใจ ให้ผู้รับประกันให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัด ไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ ซึ่งกรณีตามคำฟ้องของโจทก์ บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นคือบุตรโจทก์ หาใช่โจทก์ซึ่งเป็นเพียง ผู้รับประโยชน์ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะละเว้นเสียไม่เปิดเผย ข้อความจริงที่บุตรโจทก์เป็นโรคลมชักให้จำเลยผู้รับประกันภัย ทราบ ก็ไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาตกลงรับประกันภัย: ผลของหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องที่ส่งถึงผู้รับประกันภัยเกินกำหนด 30 วัน
ตามใบรับเงินชั่วคราวของจำเลยที่มอบให้แก่ผู้ทำคำขอเอาประกันชีวิตมีข้อความระบุว่า "บริษัทจะพิจารณาออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยภายใน 30 วัน (สามสิบวัน)นับแต่วันถัดจากวันที่สำนักงานของบริษัทได้รับใบคำขอเอาประกันภัยและได้รับเงินแล้ว หากบริษัทมิได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ภายในเวลาที่กำหนดหรือปฏิเสธการขอเอาประกันภัยหรือแจ้งเหตุขัดข้องในการรับประกันภัย ให้ถือว่าบริษัทตกลงยอมรับสัญญาประกันภัย"ดังนี้ แสดงว่าการแจ้งเหตุขัดข้องเป็นการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยอยู่กรุงเทพมหานคร ส่วน ต. อยู่จังหวัดเชียงใหม่กรณีจึงเป็นการแสดงเจตนาทำให้แก่ผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง ย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ไปถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้นไป ตามป.พ.พ. มาตรา 130 ดังนั้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องในการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ ต. ส่งทางไปรษณีย์ไปถึงต. เกินกว่ากำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่จำเลยได้รับใบคำขอเอาประกันชีวิต จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงยอมรับสัญญาประกันชีวิตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติให้สัญญาเกิดขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น จะแปลบทบัญญัติไปในนัยกลับกันว่า สัญญาไม่เกิดขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้นหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลผูกพัน แม้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยล่าช้า และตัวแทนยังไม่ได้นำส่งเบี้ยประกัน
เมื่อเงื่อนไขการเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนดมิได้บังคับไว้โดยเด็ด ขาด โดยกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนด บริษัทจำเลยยังผ่อนผันขยายเวลาให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างได้ ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยที่ขาดชำระให้แก่ตัวแทนของจำเลยแล้ว ถือได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตามเงื่อนไขนั้นแล้ว ไม่จำต้องให้จำเลยอนุญาตหรือแสดงเจตนาใหม่ในการรับต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย แม้ตัวแทนจำเลยยังไม่ได้นำเบี้ยประกันภัยส่งให้แก่จำเลย และในวันรุ่งขึ้นผู้เอาประกันภัยถูกรถชนถึงแก่ความตาย จำเลยก็ต้องรับผิด.