พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เข้าข่ายธุรกิจประกันชีวิต แม้ใช้ชื่ออื่น แต่ตัวแทนสมาคมไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต
สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ รับสมัครสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ตามระเบียบการของสมาคมเมื่อแรกเข้าเป็นสมาชิกผู้สมัครต้องชำระเงินค่าสมัคร ค่าบำรุง ค่าอุปการะ เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเงินฝากสงเคราะห์ฌาปนกิจ โดยชำระครั้งเดียวหรือผ่อนชำระก็ได้ เมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม ทายาทก็จะได้รับเงินฌาปนกิจศพตามเกณฑ์อายุของสมาชิกและอายุการเป็นสมาชิกลดหลั่นกันไป เช่นนี้ เห็นได้ว่า เมื่อมีผู้เข้ามาเป็นสมาชิกตามระเบียบการของสมาคมย่อมจะเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันระหว่างสมาคมกับสมาชิก อันสามารถบังคับกันได้ตามกฎหมายผลปฏิบัติระหว่างคู่สัญญาหาใช่เป็นการเรี่ยไรเงินระหว่างสมาชิกเพื่อเป็นการกุศลไม่ การส่งเงินฝากสงเคราะห์ฌาปนกิจของสมาชิกต่อสมาคม เป็นวิธีการปฏิบัติดุจเดียวกับการส่งเบี้ยประกันเพื่อประกันชีวิตไว้กับสมาคม สัญญาระหว่างสมาคมกับสมาชิกจึงเข้าลักษณะสัญญาประกันชีวิต การประกอบธุรกิจของสมาคมจึงเป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตอันฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกันชีวิตพ.ศ. 2510 มาตรา 12 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2516)
ความตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 58 วรรค 1
จะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการกระทำที่ฝ่าฝืนโดยทำการเป็นตัวแทนประกันชีวิตให้บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตเท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเพียงตัวแทนประกันชีวิตให้สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ และจำเลยเป็นผู้ปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทจากนายทะเบียนได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 58 วรรคหนึ่งซึ่งมีโทษตามมาตรา 86
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2516)
ความตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 58 วรรค 1
จะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการกระทำที่ฝ่าฝืนโดยทำการเป็นตัวแทนประกันชีวิตให้บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตเท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเพียงตัวแทนประกันชีวิตให้สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ และจำเลยเป็นผู้ปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทจากนายทะเบียนได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 58 วรรคหนึ่งซึ่งมีโทษตามมาตรา 86
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาคมจัดทำสัญญาคล้ายประกันชีวิต ฝ่าฝืนพ.ร.บ.ประกันชีวิต แต่ตัวแทนไม่ต้องรับโทษ
สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ รับสมัครสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ตามระเบียบการของสมาคม เมื่อแรกเข้าเป็นสมาชิกผู้สมัครต้องชำระเงินค่าสมัคร ค่าบำรุง ค่าอุปการะ เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเงินฝากสงเคราะห์ฌาปนกิจโดยชำระครั้งเดียวหรือผ่อนชำระก็ได้ เมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม ทายาทก็จะได้รับเงินฌาปนกิจศพตามเกณฑ์อายุของสมาชิกและอายุการเป็นสมาชิกลดหลั่นกันไป เช่นนี้ เห็นได้ว่า เมื่อมีผู้เข้ามาเป็นสมาชิกตามระเบียบการของสมาคมย่อมจะเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันระหว่างสมาคมกับสมาชิก อันสามารถบังคับกันได้ตามกฎหมายผลปฏิบัติระหว่างคู่สัญญาหาใช่เป็นการเรี่ยไรเงินระหว่างสมาชิกเพื่อเป็นการกุศลไม่ การส่งเงินฝากสงเคราะห์ฌาปนกิจของสมาชิกต่อสมาคม เป็นวิธีการปฏิบัติดุจเดียวกับการส่งเบี้ยประกันเพื่อประกันชีวิตไว้กับสมาคม สัญญาระหว่างสมาคมกับสมาชิกจึงเข้าลักษณะสัญญาประกันชีวิต การประกอบธุรกิจของสมาคมจึงเป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตอันฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 12 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2516)
ความตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 58 วรรคหนึ่งจะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการกระทำที่ฝ่าฝืนโดยทำการเป็นตัวแทนประกันชีวิตให้บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตเท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเพียงตัวแทนประกันชีวิตให้สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ และจำเลยเป็นผู้ปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทจากนายทะเบียนได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 58 วรรคหนึ่งซึ่งมีโทษตามมาตรา 86
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2516)
ความตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 58 วรรคหนึ่งจะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการกระทำที่ฝ่าฝืนโดยทำการเป็นตัวแทนประกันชีวิตให้บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตเท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเพียงตัวแทนประกันชีวิตให้สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ และจำเลยเป็นผู้ปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทจากนายทะเบียนได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 58 วรรคหนึ่งซึ่งมีโทษตามมาตรา 86
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาคมประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยผลประโยชน์จากค่าบำรุงและสงเคราะห์ศพ ถือเป็นการประกันชีวิต
วิธีดำเนินการของสมาคมซึ่งถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตแล้ว(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2516 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาคมจัดเก็บค่าธรรมเนียมลักษณะประกันชีวิต เข้าข่ายประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมาย
วิธีดำเนินการของสมาคมซึ่งถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตนายจ้างกับลูกจ้าง: สิทธิเรียกร้องเงินประกันเต็มจำนวน แม้ไม่มีมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง
1. โจทก์เอาประกันชีวิตลูกจ้างซึ่งขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจะต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง และยังต้องรับผิดจ่ายเงินให้แก่ทายาทผู้อยู่ใต้อุปการะของลูกจ้างผู้ตายตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกอบกับการขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันย่อมต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญและไว้วางใจ เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตลูกจ้างดังกล่าวนี้ได้
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตนายจ้างต่อลูกจ้าง: ความมีส่วนได้เสีย, สัญญาประกันชีวิต vs. ประกันวินาศภัย, การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
1. โจทก์เอาประกันชีวิตลูกจ้างซึ่งขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจะต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง และยังต้องรับผิดจ่ายเงินให้แก่ทายาทผู้อยู่ใต้อุปการะของลูกจ้างผู้ตายตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ประกอบกับการขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันย่อมต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญและไว้วางใจ เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตลูกจ้างดังกล่าวนี้ได้
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889
3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889
3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตโดยมิได้รับอนุญาต: กิจการฌาปนกิจสงเคราะห์เข้าข่ายประกันชีวิต จำเลยมีความผิด
การที่สมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันได้เปิดกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยบริษัทนฤมิตธนาคม จำกัดเป็นผู้ดำเนินงานแทน โดยมีข้อตกลงว่าสมาคมจะใช้เงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อบุคคลผู้เป็นสมาชิกถึงแก่กรรม ตามจำนวนและเงื่อนไขการจ่ายเงินที่กำหนดไว้ในระเบียบการฌาปนกิจสงเคราะห์ ส่วนสมาชิกก็ผูกพันต้องส่งเงินสงเคราะห์ให้แก่สมาคมตามระเบียบ การดังกล่าวนั้น เช่นนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาประกันชีวิต อันถือได้ว่ากิจการของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันดังกล่าวเป็นการรับประกันชีวิตโดยสมาคมกระทำการเป็นผู้รับประกันภัยการดำเนินกิจการดังกล่าวนี้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรี มิฉะนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนและมีโทษตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 12, 74และเมื่อจำเลยกระทำการแนะนำชักชวนเพื่อให้บุคคลเข้าเป็นสมาชิกซึ่งก็เท่ากับเป็นการกระทำเพื่อให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับสมาคมดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนและมีโทษตามมาตรา 72, 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตโดยมิได้รับอนุญาต: ฌาปนกิจสงเคราะห์เข้าข่ายประกันชีวิต จำเลยมีความผิด
การที่สมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันได้เปิดกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยบริษัทนฤมิตธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานแทน โดยมีข้อตกลงว่าสมาคมจะใช้เงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อบุคคลผู้เป็นสมาชิกถึงแก่กรรม ตามจำนวนและเงื่อนไขการจ่ายเงินที่กำหนดไว้ในระเบียบการฌาปนกิจสงเคราะห์ ส่วนสมาชิกก็ผูกพันต้องส่งเงินสงเคราะห์ให้แก่สมาคมตามระเบียบ การดังกล่าวนั้น เช่นนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาประกันชีวิต อันถือได้ว่ากิจการของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันดังกล่าวเป็นการรับประกันชีวิตโดยสมาคมกระทำการเป็นผู้รับประกันภัยการดำเนินกิจการดังกล่าวนี้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรี มิฉะนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนและมีโทษตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 12, 74 และเมื่อจำเลยกระทำการแนะนำชักชวนเพื่อให้บุคคลเข้าเป็นสมาชิกซึ่งก็เท่ากับเป็นการกระทำเพื่อให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับสมาคมดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนและมีโทษตามมาตรา 72, 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาประกันภัย, ค่าเวนคืนกรมธรรม์, และสิทธิการรับเงินปันผลเมื่อสัญญาประกันภัยสิ้นผล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 894 ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญาประกันภัยในเวลาใด ๆ ก็ได้ ด้วยการงดส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ถ้าและได้ส่งเบี้ยประกันภัยมาแล้วอย่างน้อยสามปีผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยหรือรับกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จจากผู้รับประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยงดส่งเบี้ยประกันภัย ก็ต้องถือว่าบอกเลิกสัญญาประกันภัยแล้วนับแต่วันที่งดส่งเบี้ยประกันภัยเป็นต้นมา หาจำต้องบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ แม้เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุว่าหากผู้เอาประกันภัยกลับมาต่ออายุสัญญาใหม่ภายในกำหนดห้าปีเบี้ยประกันภัยที่ชำระไว้แล้วจะไม่ถูกริบ ก็กำหนดไว้ด้วยว่าการต่ออายุสัญญาต้องตรวจสุขภาพผู้เอาประกันภัยตามระเบียบ เมื่อผู้เอาประกันภัยมิได้กลับมาต่ออายุสัญญาจนกระทั่งผู้รับประกันภัยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิได้รับเพียงเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์เท่านั้น
เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มเฉลี่ยให้ทุกปีหลังจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยไว้ครบสองปีแล้ว ตามเงื่อนไขนี้หมายความว่าผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้เมื่อสัญญาประกันภัยยังมีอยู่ หากสัญญาประกันภัยเลิกกันแล้วผู้เอาประกันภัยหามีสิทธิได้รับเงินปันผลต่อไปไม่
เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มเฉลี่ยให้ทุกปีหลังจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยไว้ครบสองปีแล้ว ตามเงื่อนไขนี้หมายความว่าผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้เมื่อสัญญาประกันภัยยังมีอยู่ หากสัญญาประกันภัยเลิกกันแล้วผู้เอาประกันภัยหามีสิทธิได้รับเงินปันผลต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาประกันภัย, ค่าเวนคืนกรมธรรม์, และสิทธิรับเงินปันผลเมื่อสัญญาประกันภัยสิ้นสุด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 894 ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญาประกันภัยในเวลาใด ๆ ก็ได้ ด้วยการงดส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ถ้าและได้ส่งเบี้ยประกันภัยมาแล้วอย่างน้อยสามปี ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยหรือรับกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จจากผู้รับประกันภัย
เมื่อผู้เอาประกันภัยงดส่งเบี้ยประกันภัย ก็ต้องถือว่าบอกเลิกสัญญาประกันภัยแล้วนับแต่วันที่งดส่งเบี้ยประกันภัยเป็นต้นมา หาจำต้องบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ แม้เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุว่าหากผู้เอาประกันภัยกลับมาต่ออายุสัญญาใหม่ภายในกำหนดห้าปี เบี้ยประกันภัยที่ชำระไว้แล้วจะไม่ถูกริบ ก็กำหนดไว้ด้วยว่าการต่ออายุสัญญาต้องตรวจสุขภาพผู้เอาประกันภัยตามระเบียบ เมื่อผู้เอาประกันภัยมิได้กลับมาต่ออายุสัญญาจนกระทั่งผู้รับประกันภัยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิได้รับเพียงเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์เท่านั้น
เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มเฉลี่ยให้ทุกปีหลังจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยไว้ครบสองปีแล้ว ตามเงื่อนไขนี้หมายความว่าผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้เมื่อสัญญาประกันภัยยังมีอยู่ หากสัญญาประกันภัยเลิกกันแล้วผู้เอาประกันภัยหามีสิทธิได้รับเงินปันผลต่อไปไม่
เมื่อผู้เอาประกันภัยงดส่งเบี้ยประกันภัย ก็ต้องถือว่าบอกเลิกสัญญาประกันภัยแล้วนับแต่วันที่งดส่งเบี้ยประกันภัยเป็นต้นมา หาจำต้องบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ แม้เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุว่าหากผู้เอาประกันภัยกลับมาต่ออายุสัญญาใหม่ภายในกำหนดห้าปี เบี้ยประกันภัยที่ชำระไว้แล้วจะไม่ถูกริบ ก็กำหนดไว้ด้วยว่าการต่ออายุสัญญาต้องตรวจสุขภาพผู้เอาประกันภัยตามระเบียบ เมื่อผู้เอาประกันภัยมิได้กลับมาต่ออายุสัญญาจนกระทั่งผู้รับประกันภัยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิได้รับเพียงเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์เท่านั้น
เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มเฉลี่ยให้ทุกปีหลังจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยไว้ครบสองปีแล้ว ตามเงื่อนไขนี้หมายความว่าผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้เมื่อสัญญาประกันภัยยังมีอยู่ หากสัญญาประกันภัยเลิกกันแล้วผู้เอาประกันภัยหามีสิทธิได้รับเงินปันผลต่อไปไม่