คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 470 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของระเบียบสวัสดิการพนักงาน: การสมทบและมอบเงินต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ดุลพินิจ
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุงานครบ 10 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นไป จำเลยจะสมทบให้อีกร้อยละร้อยของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออก และพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปี ขึ้นไปเมื่อลาออก จำเลยจะพิจารณามอบเงินให้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ เมื่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยสวัสดิการพนักงาน มีข้อความว่า บริษัทจำเลยได้ตระหนักถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทุกคนที่ทำงานอยู่กับบริษัท บริษัทจึงได้จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ขึ้น ให้แก่พนักงานเพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ ตลอดจนให้พนักงานมีความรู้สึกที่มั่นคงในการทำงานกับบริษัท ซึ่งบริษัทถือว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานขึ้น และในระเบียบว่าด้วยเงินสะสมพนักงาน มีข้อความว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่า จะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากการกระทำความผิด บริษัทจึงได้ตระหนักถึงความมั่นคงในอนาคตของพนักงาน จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมของพนักงานไว้ ดังนี้ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าที่ได้วางระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไว้ก็เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นสวัสดิการคือเงินสะสม ซึ่งเป็นของพนักงานที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งหากพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปีขึ้นไป ลาออกก็จะได้รับเงินจากจำเลยอีกไม่ต่ำกว่า 180 วันของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ ฉะนั้น จำเลยจะหยิบยกคำว่า "จะสมทบให้" หรือคำว่า "จะพิจารณามอบเงินให้" ก็ดี มาแปลความหมายว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์หรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สวัสดิการเงินสะสมและเงินตอบแทนกรณีลาออก: เจตนาของระเบียบข้อบังคับคือการให้สิทธิพนักงาน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุงานครบ 10 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นไปจำเลยจะสมทบให้อีกร้อยละร้อยของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออก และพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปี ขึ้นไปเมื่อลาออก จำเลยจะ พิจารณามอบเงินให้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ของรายได้ ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ของจำเลยว่าด้วยสวัสดิการพนักงานมีข้อความว่า บริษัทจำเลยได้ตระหนักถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ทุกคนที่ทำงานอยู่กับบริษัท บริษัทจึงได้จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ขึ้น ให้แก่พนักงานเพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ ตลอดจน ให้พนักงานมีความรู้สึกที่มั่นคงในการทำงานกับบริษัท ซึ่งบริษัท ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการ ของพนักงานขึ้น และในระเบียบว่าด้วยเงินสะสมพนักงาน ก็มีข้อความว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่าจะได้รับเงิน จำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากการกระทำความผิด บริษัทได้ตระหนักถึงความมั่นคงในอนาคตของพนักงานจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมของพนักงานไว้จึงเห็นเจตนาของจำเลยที่ได้วางระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไว้เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นสวัสดิการคือเงินสะสมซึ่งเป็นของพนักงานที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลย จะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งหากพนักงานที่มีอายุงาน เกิน 15 ปีขึ้นไป ลาออกก็จะได้รับเงินจากจำเลยอีกไม่ต่ำกว่า 180 วันของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ ฉะนั้น จำเลยจะหยิบยกคำว่า"จะสมทบให้" หรือคำว่า "จะพิจารณามอบเงินให้" มาแปลความหมายว่า เป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทำร้ายร่างกายหัวหน้างาน โดยมีประกาศบริษัทกำหนดเกณฑ์การเลิกจ้าง
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัทส. ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้นกำหนดห้ามลูกจ้างโดยเพียงแต่ลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงานนายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้วแต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538กำหนดห้ามลูกจ้างโดยการทะเลาะวิวาทกันนั้นต้องถึงขั้นชกต่อยตบตีทำร้ายร่างกันกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่เมื่อเป็นดังนี้ประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตามเพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดว่า"ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้อาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับลูกจ้างทุกคน"นั้นหมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้างและเมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้ายร. ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา56วรรคสองการกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538กรณีมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับบริษัทและการเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิด ประกาศใหม่มีผลบังคับใช้ได้แม้ไม่ได้ปรึกษาหารือ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัท ส.ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้น กำหนดห้ามลูกจ้าง โดยเพียงแต่ลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงาน นายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้ว แต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 กำหนดห้ามลูกจ้างโดยการทะเลาะวิวาทกันนั้นต้องถึงขั้นชกต่อย ตบตี ทำร้ายร่างกายกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่ เมื่อเป็นดังนี้ ประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์พ.ศ.2538 ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตาม เพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดว่า "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้ อาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับลูกจ้างทุกคน" นั้น หมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้าง และเมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้าย ร.ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 กรณีมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9403-9495/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และหน้าที่ปฏิบัติตามข้อตกลง
การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นหาได้จำต้องเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ จำเลยเคยจ่ายเงินพิเศษแก่ลูกจ้างปีละ15วันแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแทนลูกจ้างของจำเลยหาได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านประการใดไม่ตรงกันข้ามกลับยอมรับเอาผลการเปลี่ยนแปลงโดยยอมรับเอาคูปองค่าอาหารแทนเงินพิเศษตลอดมาจึงมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ190บาทต่อเดือนนั้นคูปองค่าอาหารที่จ่ายให้มีลักษณะเป็นสวัสดิการอันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งเมื่อลูกจ้างยอมรับเอาและจำเลยก็ได้จ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือมี2กรณี คือกรณีแรกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา10วรรคแรกซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในกรณีนี้จะต้องมีข้อความดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11ส่วนกรณีที่สองข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้างและสามารถตกลงกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา18ซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้วนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีจะต้องลงลายมือชื่อและต้องนำไปจดทะเบียนอีกด้วย จำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารโดยมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือดังนี้จำเลยจะยกเบิกการจ่ายคูปองค่าอาหารซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยที่มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13หาได้ไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนที่จำเลยจะยกเลิกจ่ายคูปองค่าอาหารจำเลยได้ตกลงกับตัวแทนลูกจ้างแล้วนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังมาว่าไม่ได้มีการเจรจาสองฝ่ายให้ยกเลิกการจ่ายคูปองค่าอาหารอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินโบนัสและคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะเพิ่มเงินโบนัสแก่ลูกจ้างแต่การที่จำเลยยกเลิกการจ่ายคูปองอาหารอันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับคูปองอาหารย่อมไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจำเลยจะแก้ไขยกเลิกโดยลำพังโดยที่มิได้ดำเนินการตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลแรงงานกล่าวไว้ในส่วนของคำวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าอาหารแก่โจทก์แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายอาหารแก่โจทก์นั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารแก่ลูกจ้างเดือนละ190บาทซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแก่โจทก์ทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6876-6877/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างมีกำหนดอายุ 1 ปี สิ้นสุดตามสัญญา แม้มีประกาศปรับค่าแรงภายหลัง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่โจทก์ทั้งสองอ้างถึงได้ระบุระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดผลการบังคับใช้ไว้โดยชัดแจ้งเพียง1ปีนับแต่วันที่1มกราคม2536ถึงวันที่31ธันวาคม2536เป็นกรณีพิเศษแตกต่างจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้ออื่นซึ่งเป็นหลักทั่วไปในข้อตกลงร่วมทั้งหมดแสดงให้เห็นเจตนาพิเศษของคู่สัญญาที่ประสงค์ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับใช้เพียงชั่วระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้นซึ่งคู่สัญญามีสิทธิที่จะทำได้โดยชอบและมีผลตามกฎหมายเป็นข้อยกเว้นการบังคับใช้แห่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทั่วไปข้ออื่นๆและเมื่อใช้บังคับครบกำหนด1ปีในวันที่31ธันวาคม2536แล้วก็จะสิ้นสุดทันทีไม่มีผลใช้บังคับต่อไปอีก1ปีตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา12วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและคำสั่งโยกย้ายพนักงาน มิใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากไม่กระทบสิทธิประโยชน์เดิม
ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 23 ว่าด้วยการจัดระเบียบการบริหารงาน ข้อ 33 กำหนดว่า "การกำหนดอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายข้อบังคับนี้" และบัญชีอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดหน่วยงานและจำนวนพนักงานในแต่ละหน่วยงานว่ามีจำนวนเท่าใดอยู่ในระดับใดบ้างเท่าใด เช่นนี้ข้อบังคับของจำเลยข้อนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งหน่วยงานโดยกำหนดอัตรากำลัง และระดับในแต่ละหน่วยงานอันมีลักษณะเป็นวิธีการบริหารงานบุคคลในหน่วยงานเท่านั้นไม่มีลักษณะที่เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมิได้มีลักษณะที่เป็นเงื่อนไขในการทำงาน กำหนดวันเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการการเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคสามและมาตรา 11 จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขได้เพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารงานบุคคลตามฐานะแห่งกิจการของจำเลยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องแจ้งข้อเรียกร้องหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์จากตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการบริหารระดับ 9 ไปรักษาการตำแหน่งหัวหน้าผู้ตรวจสอบภายใน ระดับ 9 เช่นเดิมมิใช่เป็นการลดระดับโจทก์และโจทก์ได้รับเงินเดือน ผลประโยชน์และสวัสดิการเท่าเดิม เช่นนี้เป็นการใช้ดุลพินิจ กำหนดบุคคลในตำแหน่งงานที่เหมาะสม มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างส่วนที่อ้างว่าการโยกย้ายโจทก์ไปทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสิทธิในการใช้รถยนต์อันเป็นสวัสดิการเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ข้อนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ตามความเหมาะสม แม้ตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จะไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่งก็ตามไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เท่ากับศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า รถยนต์ที่โจทก์มีสิทธิได้รับอยู่ก่อนนั้นมิใช่เป็นสวัสดิการ ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่ารถยนต์ที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นสวัสดิการ จึงเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน: การพักงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการลงโทษ, การเลิกจ้างจึงไม่เป็นการลงโทษซ้ำซ้อน
ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการลงโทษทางวินัยของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดมาตรการลงโทษพนักงานที่กระทำความผิดไว้หลายประการรวมถึงการให้พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งพักงานโจทก์เป็นเวลา7 วัน เพื่อทำการสอบสวน และจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามปกติดังนี้ การพักงานกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการลงโทษในความผิดที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการลงโทษซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จพนักงานยาสูบที่ถึงแก่กรรมจากการประพฤติชั่วร้าย แม้เป็นการฆ่าตัวตายเพื่อหนีความผิด ก็ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
ตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ. 2500 ได้กำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จแก่พนักงานไว้ว่าพนักงานยาสูบมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อถึงแก่กรรม และการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าพนักงานที่ถึงแก่กรรมและไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจะต้องเป็นการถึงแก่กรรมเพราะถูกบุคคลอื่นฆ่าตายเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนั้นไม่ว่าพนักงานจะถึงแก่กรรมเพราะเหตุใดก็ตาม ถ้าเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงแล้วก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ การที่ ท. ใช้อาวุธปืนยิง ย. ในที่ทำงานและในเวลาทำงานล่วงเวลาของโรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้าง ถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงในเวลาต่อเนื่องกันหลังจากประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ท. ได้ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองจนถึงแก่ความตาย การฆ่าตัวตายของ ท. ก็เพื่อหนีความรับผิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั่นเอง การถึงแก่กรรมของ ท.จึงเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ท. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จพนักงานยาสูบ: การประพฤติชั่วร้ายแรงเป็นเหตุให้ทายาทไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
ตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ. 2500ได้กำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จแก่พนักงานไว้ว่าพนักงานยาสูบมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อถึงแก่กรรม และการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าพนักงานที่ถึงแก่กรรมและไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจะต้องเป็นการถึงแก่กรรมเพราะถูกบุคคลอื่นฆ่าตายเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนั้นไม่ว่าพนักงานจะถึงแก่กรรมเพราะเหตุใดก็ตาม ถ้าเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงแล้วก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ การที่ ท. ใช้อาวุธปืนยิง ย. ในที่ทำงานและในเวลาทำงานล่วงเวลาของโรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้าง ถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงในเวลาต่อเนื่องกันหลังจากประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ท. ได้ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองจนถึงแก่ความตาย การฆ่าตัวตายของ ท. ก็เพื่อหนีความรับผิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั่นเอง การถึงแก่กรรมของ ท.จึงเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ท. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ.
of 47