คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 470 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัย: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อพิจารณาไล่ออกเป็นไปตามระเบียบ
ระเบียบบริษัท ฯ จำเลยว่าด้วยการลาได้กำหนดไว้ว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจะได้รับโทษทางวินัยตามลำดับ คือ ขาดงานครั้งแรกจะถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้าได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 ที่ 2 รวมกับครั้งที่ 3 เกินกว่า 10 วันให้ลงโทษไล่ออกฐานมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับของบริษัท ฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ฯ ขาดงาน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกขาดงานรวม 7 วัน ครั้งที่ 2 ขาดงานรวม 1 วันครั้งที่ 3 ขาดงานรวม 6 วัน โจทก์ขาดงานทั้งสามครั้งรวม 14 วัน ต้องด้วยระเบียบข้อบังคับของบริษัท ฯ การที่บริษัท ฯ ไล่โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการลงโทษที่ถูกต้องตามระเบียบนั้นแล้ว หาจำเป็นต้องลงโทษตามขั้นตอนตั้งแต่การขาดงานครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก่อนไม่ เพราะการขาดงานในครั้งที่ 1 และที่ 2 นั้น ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ก็ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษของโจทก์อยู่แล้วซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง ทั้งโจทก์ขาดงานในระยะที่ใกล้เคียงกัน บริษัท ฯ จึงนำการขาดงานทั้งสามครั้งมารวมพิจารณาลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยไม่ผูกพันตามกฎหมาย: สิทธิในการเรียกคืนเงินบำเหน็จ
หลังจากพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการทวีคูณในระหว่างเวลาประกาศใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่1ลงวันที่6ตุลาคมพ.ศ.2519พ.ศ.2519ออกใช้บังคับแล้วจำเลยก็ยังยึดมั่นในความเห็นของตนตลอดมาว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานของจำเลยทั้งยังได้โต้แย้งตลอดมาดังนั้นการที่จำเลยเห็นว่าหากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานแล้วก็อาจเป็นสาเหตุให้กระทรวงอุตสาหกรรมเลิกสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันกับจำเลยทำให้จำเลยต้องเสียหายเป็นเงินจำนวนมากนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเลยคาดคิดเอาเองเป็นส่วนตัวและไม่แน่นอนเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จโดยรวมเวลาทำงานทวีคูณให้แก่โจทก์ไปแล้วกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จคืนจากโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยไม่ผูกพันตามกฎหมาย และสิทธิในการเรียกคืนเงินบำเหน็จกรณีพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการ
หลังจากพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการทวีคูณในระหว่างเวลาประกาศใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2519 ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยก็ยังยึดมั่นในความเห็นของตนตลอดมาว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานของจำเลยทั้งยังได้โต้แย้งตลอดมา ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าหากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานแล้วก็อาจเป็นสาเหตุให้กระทรวงอุตสาหกรรมเลิกสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันกับจำเลย ทำให้จำเลยต้องเสียหายเป็นเงินจำนวนมากนั้น จึงเป็นเรื่องที่จำเลยคาดคิดเอาเองเป็นส่วนตัวและไม่แน่นอน เมื่อจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จโดยรวมเวลาทำงานทวีคูณให้แก่โจทก์ไปแล้วกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จคืนจากโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับขององค์การคลังสินค้า ต้องนับตามระยะเวลาทำงานจริง ไม่ใช่วิธีคำนวณบำเหน็จ
ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานพ.ศ.2528ข้อ9วรรค2ประกอบกับข้อ11ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น.ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลาดังนั้นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอกซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ14นั้นเป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้วโดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงานอนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง6เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น1ปีมาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ ต้องนับตามข้อบังคับขององค์กร โดยระยะเวลาทำงานไม่ครบ 5 ปี ไม่มีสิทธิรับ
ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงาน พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรค 2 ประกอบกับข้อ 11 ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์ และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น. ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลา ดังนั้น เกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอก ซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ 14 นั้น เป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้ว โดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงาน อนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง 6 เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น 1 ปี มาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้ จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากทุจริต/ประมาทเลินเล่อ และสิทธิในเงินทุนเลี้ยงชีพ ความสำคัญของข้อเท็จจริงและการตีความระเบียบ
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามคำเบิกความของพยานทุกปากไม่มีผู้ใดยืนยันว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่า อ. เคยทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน พยานโจทก์ทุกปากยืนยันว่าโจทก์ไม่ทราบ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้จึงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนนั้น ปัญหาว่าโจทก์ทราบข้อที่ อ. เคยทุจริตต่อหน้ามาก่อนจริงหรือไม่ ศาลควรรับฟังคำพยานผู้ใด ฝ่ายใด เป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานฯ ระบุว่าพนักงานที่ออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพเว้นแต่ "ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือ เพราะกระทำการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหายและคณะกรรมการธนาคารเห็นว่า ไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้" นั้น เห็นได้ว่า กรณีการทุจริตให้หน้าที่หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดชั้นร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณา ส่วนการเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานมิใช่ความผิดขั้นร้ายแรงจึงต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรให้เงินทุนเลี้ยงชีพแก่พนักงานผู้นั้นหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711-1715/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำผิดวินัยต้องตักเตือนก่อนเลิกจ้าง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่เข้าไปนั่งคุยและนอนคุยในห้องปรับอากาศเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 7.5 ที่ว่าต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน ไม่เอาเวลาของการทำงานไปคุยทำให้เสียหายแก่นายจ้างและข้อ 7.6 ที่จะต้องไม่หยอกล้อเล่นกันในเวลาทำงาน และไม่หลับนอนในระหว่างการทำงาน แต่ตามข้อบังคับหรือระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนดว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จึงจะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) ส่วนจะเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบ ฯ ข้ออื่นหรือไม่ คำสั่งเลิกจ้างหาได้ระบุความผิดดังกล่าวไว้ไม่ จึงไม่มีประเด็นสำหรับความผิดนั้นและไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277-1278/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแม้โรงงานเสียหายจากเหตุสุดวิสัย หากไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้าง และสิทธิลูกจ้างในการเรียกร้องค่าจ้าง
ค่าจ้างเป็นเงินซึ่งกำหนดขึ้นตามข้อตกลงของสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตราบใดที่การจ้างยังไม่ระงับนายจ้างผูกพันต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแม้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องหยุดกิจการเพราะโรงงานถูกเพลิงไหม้จนไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้แต่เมื่อจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างการจ้างจึงยังไม่ระงับและไม่ปรากฏตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าในกรณีเช่นนี้จำเลยมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างจำเลยจึงจะอ้างเหตุที่จำเลยประสบภัยเป็นข้ออ้างเพื่อไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ไม่ได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับช่วงระยะเวลาที่จำเลยหยุดกิจการและโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการเรียกร้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงไม่ถือว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายและเมื่อค่าจ้างกำหนดอัตราแน่นอนและตายตัวศาลจะใช้ดุลพินิจลดอัตราค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์โดยถือเสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายหาได้ไม่ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุคลุมๆแต่เพียงว่าให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยของค่าจ้างแต่ละงวดนับตั้งแต่วันผิดนัดมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าค่าจ้างแต่ละงวดเป็นเงินเท่าใดและจำเลยผิดนัดงวดใดตั้งแต่วันใดนั้นไม่ละเอียดชัดแจ้งเพียงพอศาลย่อมพิพากษาตามคำขอของโจทก์ไม่ได้แต่ในวันที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างนั้นค่าจ้างถึงกำหนดจ่ายแล้วการที่จำเลยไม่จ่ายให้แก่โจทก์ตามกำหนดถือว่าจำเลยผิดนัดจำเลยจึงต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ฟ้องคดีเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811-818/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงหน้าที่งานที่ต่ำกว่าเดิมและกระทบสิทธิประโยชน์ถือเป็นการประพฤติผิดสัญญาจ้าง
เดิมโจทก์ทั้งแปดทำงานฝ่ายช่างและฝ่ายผลิตให้แก่จำเลย มานานจนบางคนได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้างานซึ่งมีเงินเพิ่มประจำตำแหน่ง การที่จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งแปดไปทำงานแผนกทำความสะอาดนั้น เห็นได้ว่าตำแหน่งหน้าที่เดิมของโจทก์ทั้งแปดต้องอาศัยความรู้ความสามารถหรือความชำนาญเป็นพิเศษ ส่วนงานแผนกทำความสะอาดไม่จำต้องอาศัยความรู้ความสามารถเช่นว่านั้น แม้นายจ้างจะมีสิทธิสับเปลี่ยนหน้าที่การงานของลูกจ้างได้ตามความเหมาะสมและตามความจำเป็นแก่สภาพแห่งงานของนายจ้าง แต่เมื่อตำแหน่งหน้าที่ใหม่ต่ำกว่าตำแหน่งหน้าที่เดิม จึงเป็นการสับเปลี่ยนหน้าที่การงานที่เป็นไปโดยไม่สมควร ทั้งทำให้โจทก์บางคนไม่ได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่เคยได้ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสภาพการจ้างเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการจ้างพนักงานฝ่ายจัดการ, การลาออกโดยสมัครใจ, และการสละสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์จากนายจ้าง
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้ เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติโจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกโจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น.
of 47