คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 470 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของพนักงานฝ่ายจัดการที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามข้อบังคับสำหรับพนักงานทั่วไป และการสละสิทธิเรียกร้องเงินสมทบกองทุน
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการ โจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้
เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติ โจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีก โจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและอายุการทำงานใหม่: สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ระบุการนับอายุงานเดิม
เลิกจ้างเพราะการปฏิบัติงานไม่เป็นที่พอใจไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานใหม่มิได้กล่าวถึงอายุการทำงานว่าจะนับต่อกับอายุการทำงานเดิมหรือไม่ต้องเริ่มนับอายุการทำงานใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาป่วย กรณีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ และการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้. จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลากิจจำเป็นเร่งด่วน ลูกจ้างมีสิทธิลาได้แม้ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า หากมีเหตุผลอันสมควร และการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้ จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาออกของลูกจ้าง: จำเลยไม่อาจกำหนดวันลาออกอื่นนอกเหนือจากที่ลูกจ้างยื่นได้
จำเลยมีข้อบังคับว่าพนักงานที่ประสงค์จะลาออกจะต้องยื่นใบลาออกจากงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30วันและวันที่จำเลยอนุมัติให้ลาออกได้เป็นวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานข้อบังคับนี้มีความหมายเพียงกำหนดระเบียบการลาออกของพนักงานว่าจะต้องยื่นใบลาล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าใดและวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานเป็นวันใดมิใช่หมายความว่าจำเลยมีสิทธิหรือมีอำนาจกำหนดการลาออกจากงานของโจทก์เป็นวันอื่นนอกจากใบลาได้การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาออกเมื่อใดก็ได้ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโจทก์ยื่นใบลาออกถูกต้องตามข้อบังคับเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกำหนดวันลาออกของตนได้จำเลยไม่ชอบที่จะอนุมัติวันลาเป็นประการอื่นการที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกก่อนกำหนดทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับค่าจ้างที่จะได้รับถึงวันที่โจทก์ประสงค์ลาออกอย่างแท้จริงจำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาออกของลูกจ้าง: จำเลยไม่อาจกำหนดวันลาออกอื่นนอกเหนือจากที่ลูกจ้างแจ้งได้ แม้มีข้อบังคับกำหนดระยะเวลาแจ้งลาออก
จำเลยมีข้อบังคับว่า พนักงานที่ประสงค์จะลาออก จะต้องยื่นใบลาออกจากงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และวันที่จำเลยอนุมัติให้ลาออกได้เป็นวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงาน ข้อบังคับนี้มีความหมายเพียงกำหนดระเบียบการลาออกของพนักงานว่า จะต้องยื่นใบลาล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าใด และวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานเป็นวันใด มิใช่หมายความว่าจำเลยมีสิทธิหรือมีอำนาจกำหนดการลาออกจากงานของโจทก์เป็นวันอื่นนอกจากใบลาได้ การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาออกเมื่อใดก็ได้ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ยื่นใบลาออกถูกต้องตามข้อบังคับ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกำหนดวันลาออกของตนได้ จำเลยไม่ชอบที่จะอนุมัติวันลาเป็นประการอื่น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกก่อนกำหนดทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับค่าจ้างที่จะได้รับถึงวันที่โจทก์ประสงค์ลาออกอย่างแท้จริง จำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าผูกพันลูกจ้างที่เข้ามาทำงานภายหลังการบังคับใช้ หากลาออกก่อนกำหนดสิทธิจะสิ้นสุด
บริษัทจำเลยได้วางระเบียบเงื่อนไขในการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าให้แก่พนักงานขายไว้ว่าจะจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงานขายต่อเมื่อยังคงเป็นพนักงานขายของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินรางวัลให้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และโจทก์ทั้งสองเข้ามาเป็นลูกจ้างของจำเลยภายหลังที่เงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดยโจทก์ทั้งสองตกลงเข้ามาเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยและประสงค์จะได้รับเงินรางวัลดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อปรากฏว่าในวันกำหนดการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้านั้น โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยโดยการลาออกแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงหมดสิทธิได้รับเงินรางวัล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลสำหรับพนักงานขายที่ลาออก
บริษัทจำเลยได้วางระเบียบเงื่อนไขในการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าให้แก่พนักงานขายไว้ว่าจะจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงานขายต่อเมื่อยังคงเป็นพนักงานขายของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินรางวัลให้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและโจทก์ทั้งสองเข้ามาเป็นลูกจ้างของจำเลยภายหลังที่เงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับแล้วโดยโจทก์ทั้งสองตกลงเข้ามาเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยและประสงค์จะได้รับเงินรางวัลดังกล่าวเงื่อนไขดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อปรากฏว่าในวันกำหนดการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้านั้น โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยโดยการลาออกแล้วโจทก์ทั้งสองจึงหมดสิทธิได้รับเงินรางวัล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้จัดการ: การมอบหมายงานนโยบายและการกระทำละเมิดของผู้ช่วย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ตามข้อบังคับของโจทก์ข้อ 53 ระบุว่า หากผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้จัดการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องทำให้เกิดความเสียหาย ผู้จัดการต้องรับผิดชอบด้วย แต่ในการแต่งตั้งจำเลยที่ 1 นั้นจำเลยที่1 ขอรับหน้าที่เฉพาะงานนโยบายเท่านั้นซึ่งคณะกรรมการของโจทก์ตกลงยินยอมด้วย ส่วนการบริหารงานร้านโจทก์นั้นปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานของโจทก์แต่ผู้เดียวตลอดมา ดังนี้จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่บริหารงานของโจทก์ และการบริหารงานของจำเลยที่ 2 มิใช่การทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับข้อ 53 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงจะอาศัยข้อบังคับดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อผู้ช่วยฯ กระทำละเมิด โดยผู้จัดการมีหน้าที่จำกัดเฉพาะงานนโยบาย
จำเลยที่1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์จำเลยที่ 2เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ตามข้อบังคับของโจทก์ข้อ 53 ระบุว่าหากผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้จัดการ ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องทำให้เกิดความเสียหายผู้จัดการต้องรับผิดชอบด้วย แต่ในการแต่งตั้ง จำเลยที่1 นั้นจำเลยที่1 ขอรับหน้าที่เฉพาะงานนโยบายเท่านั้นซึ่งคณะกรรมการของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยส่วนการบริหารงาน ร้านโจทก์นั้นปรากฏว่าจำเลยที่2 เป็น ผู้บริหารงานของโจทก์ แต่ผู้เดียวตลอดมาดังนี้จำเลยที่ 1ไม่มีหน้าที่บริหารงานของโจทก์ และการบริหารงานของจำเลยที่2 มิใช่การทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับข้อ 53 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับ จำเลย ที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงจะอาศัยข้อบังคับดังกล่าว ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วยหาได้ไม่
of 47