คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 470 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและการสอบสวนทุจริต: การติดต่อผู้กล่าวหาเป็นเงื่อนไขสำคัญในการคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติมหากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูก กล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมา ให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างในการสอบสวนข้อกล่าวหา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติม หากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมาให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำงานเกินเวลาและค่าจ้าง: สัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันและรับค่าจ้างรายเดือนไม่ขัดกฎหมาย หากได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน
กรณีที่อธิบดีกรมแรงงานอนุญาตให้นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายได้นั้น นายจ้างกับลูกจ้างย่อมทำสัญญาให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาและจ่ายค่าจ้างกันเท่าใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยรับค่าจ้างเป็นรายเดือนอันมิใช่เป็นกรณีที่นายจ้างเพิ่มชั่วโมงทำงานในภายหลังและไม่ปรากฏว่าค่าจ้างต่ำกว่าอันตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ข้อตกลงนี้ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและผูกพันลูกจ้างกับนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแทนค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งรถไฟ
จำเลยให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นนายสถานีหรือผู้ช่วยทำงานวันละ 12 ชั่วโมงมานานแล้ว โดยจำเลยจ่ายแต่เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มให้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เพราะงานที่ทำเป็นงานขบวนการจัดงานรถไฟและงานขนส่ง ดังนี้ ลูกจ้างต้องผูกพันได้รับเพียงค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำเกินวันละ 8 ชั่วโมงอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่ในความอุปการะของผู้อื่นเพื่อสิทธิประโยชน์ทางบำเหน็จบำนาญ พิจารณาจากพฤติการณ์และฐานะทางเศรษฐกิจ
บ. ผู้ตายซึ่งเป็นปู่ของโจทก์ได้เลี้ยงดูช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์มาตั้งแต่โจทก์อายุ 7 เดือน จน บ. ถึงแก่กรรม บ. มีอำนาจส่งโจทก์ไปอยู่กับผู้อื่น ณ ที่ใดก็ได้ ยามใดมีโอกาสเลี้ยงดูโจทก์ด้วยตนเองก็รับโจทก์มาอยู่ด้วย ไม่เคยส่งโจทก์ไปอยู่กับบิดาโจทก์ถือได้ว่าโจทก์อยู่ในอุปการะของ บ. ตลอดมา โดยโจทก์จำเป็นต้องมีผู้อุปการะเพราะบิดาโจทก์ฐานะไม่ดี มารดาก็ทอดทิ้งมิได้เหลียวแล ความตายของ บ. ทำให้โจทก์เดือดร้อนเพราะขาดอุปการะโจทก์จึงเป็นผู้อยู่ในอุปการะของ บ. ผู้ตายตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 4 และมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตาม มาตรา 44 โดยอนุโลม
โจทก์ขอรับเงินสงเคราะห์ตกทอด จำเลยปฏิเสธการจ่าย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ: เศษปีถึง 6 เดือนนับเป็น 1 ปี
ขณะลาออกโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานรวม 4 ปี 9 เดือน 9 วันจำเลยมีข้อบังคับว่า พนักงานที่ลาออกหากมีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปีแล้วให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ และวิธีคำนวณระยะเวลาปฏิบัติงานตามข้อบังคับกำหนดว่า เศษของปีถ้าถึงหกเดือนให้นับเป็น 1 ปี ดังนี้ ถือว่าโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปี และมีสิทธิได้รับบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ เศษของปีเกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี
ขณะลาออกโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานรวม 4 ปี 9 เดือน 9 วัน จำเลยมีข้อบังคับว่า พนักงานที่ลาออกหากมีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปีแล้วให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จและวิธีคำนวณระยะเวลาปฏิบัติงานตามข้อบังคับกำหนดว่าเศษของปีถ้าถึงหกเดือนให้นับเป็น 1 ปี ดังนี้ ถือว่าโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปี และมีสิทธิได้รับบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำ และเป็นดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไประยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำในธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ ธนาคารมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขได้
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ระยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำใน ธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและการเลิกจ้างโดยอ้างเงื่อนไขใหม่ที่ลูกจ้างไม่ยินยอม
สัญญาจ้างเดิมไม่มีข้อตกลงที่นายจ้างจะปรับลูกจ้างผู้ลาออกระหว่างปีการศึกษา และไม่มีข้อกำหนดให้ลูกจ้างต้องมีผู้ค้ำประกัน การที่นายจ้างเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นใหม่และเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ฝ่ายเดียว อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานโดยแท้ จึงเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง
ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง
of 47