พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141-142/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน: ข้อบังคับที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและสิทธิลูกจ้างหลังเกษียณ
เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสงเคราะห์กับค่าชดเชยแตกต่างกันเงินสงเคราห์จึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือจากค่าชดเชย และการที่มีข้อบังคับกำหนดให้การจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานนั้น มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงไม่มีผลบังคับ
ลูกจ้างมิได้ทำแผนวันลาพักผ่อนประจำปีตามคำสั่งของนายจ้างเพราะลูกจ้างมีเหตุจำเป็นไม่อาจหาคนอื่นทำหน้าที่แทนได้ และนายจ้างก็มิได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ ดังนี้ เมื่อลูกจ้างเกษียณอายุโดยมิได้หยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 และ 2527 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณดังกล่าวแก่ลูกจ้าง ส่วนปีงบประมาณ 2528 นั้น ลูกจ้างมิได้ทำงานให้นายจ้างแล้ว จึงไม่มีวันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างจะเรียกค่าจ้างโดยอ้างว่าหากไม่ถูกเลิกจ้างก็มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากการทำงานครบ 1 ปีของปีงบประมาณ 2527 หาได้ไม่
ลูกจ้างมิได้ทำแผนวันลาพักผ่อนประจำปีตามคำสั่งของนายจ้างเพราะลูกจ้างมีเหตุจำเป็นไม่อาจหาคนอื่นทำหน้าที่แทนได้ และนายจ้างก็มิได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ ดังนี้ เมื่อลูกจ้างเกษียณอายุโดยมิได้หยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 และ 2527 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณดังกล่าวแก่ลูกจ้าง ส่วนปีงบประมาณ 2528 นั้น ลูกจ้างมิได้ทำงานให้นายจ้างแล้ว จึงไม่มีวันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างจะเรียกค่าจ้างโดยอ้างว่าหากไม่ถูกเลิกจ้างก็มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากการทำงานครบ 1 ปีของปีงบประมาณ 2527 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับระยะเวลาทำงาน
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อน เป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิมการที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จจำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดกับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดกับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างช่วงและลักษณะสัญญาจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้จัดหาลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่ 2 จะสั่งให้ปฏิบัติจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นตามความในข้อ 7 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 ในอันที่จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1จ้าง มาแต่ประการใด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใด โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้ เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใด โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้ เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย การเปลี่ยนแปลงระเบียบ และหลักเกณฑ์การจ่ายที่แตกต่างกัน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงตัวผู้ถือหุ้นและการดำเนินกิจการต่อเนื่อง: สถานะนายจ้าง-ลูกจ้างยังคงเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่
จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่
จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346-3348/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษกรรมกร ห้ามนำไปหักจ่ายค่าชดเชยนายจ้าง
ระเบียบของจำเลยกำหนดให้หักเงินรายได้จากค่าขนส่งสินค้าส่วนที่เป็นของกรรมกรไว้เป็นเงินบำรุงความสุข เพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จพิเศษให้แก่กรรมกรเมื่อถึงแก่กรรม ลาออกหรือถูกให้ออก จำเลยจะจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของจำเลยได้ในกรณีที่มีการหักรายจ่ายจากกองเงินบำรุงความสุขเท่านั้น เงินบำรุงความสุขเป็นเงินของกรรมกร ไม่ใช่เงินของจำเลย และเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย เมื่อค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายมิใช่รายจ่ายที่จำเลยจะพึงใช้สิทธิหักได้จากเงินบำเหน็จพิเศษจำเลยก็จะลดจำนวนบำเหน็จพิเศษตามสิทธิที่กรรมกรจะได้รับลงเพราะเหตุที่จำเลยจะต้องนำไปจ่ายเป็นค่าชดเชยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814-815/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินผลประโยชน์กองทุนฯ หักค่าชดเชยได้ ไม่ถือเป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
โจทก์ออกจากงานได้รับเงินผลประโยชน์ ซึ่งคำนวณตามกฎข้อบังคับว่าด้วยโครงการกองทุนผลประโยชน์ เมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 12(3)ไปแล้ว โดยต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน ตามข้อ 15(1)(ข) เหลือเท่าใดจึงจ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกตามข้อ 12(1) เช่นนี้ เงินผลประโยชน์ที่โจทก์รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วยครบถ้วนแล้ว หาใช่มีเพียงเงินผลประโยชน์เพียงประเภทเดียวไม่
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานลูกจ้างมิใช่การเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาพักงาน
การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง โจทก์จำเลยยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ตามสัญญาจ้าง การพักงานเป็นเพียงนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอาจเป็นเพราะเกรงว่าจะทำให้งานของนายจ้างเสียหาย จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตลอดเวลาที่สั่งพักงานนั้น และเงินนี้เป็นค่าจ้างมิใช่ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาท เมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.73 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาท เมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.73 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยเมื่อเกษียณอายุ และฐานคำนวณค่าชดเชย (ค่าจ้าง, ค่าครองชีพ)
การที่จำเลยมีระเบียบการให้พนักงานออกจากงานเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์เป็นเพียงการกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงจ้างพนักงานโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ (ฉบับที่ 5) ข้อ 2 จะมีข้อความว่าการเลิกจ้างให้หมายความรวมทั้งกรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายด้วย แต่ต่อมาประกาศดังกล่าว (ฉบับที่ 6) ข้อ 2 ไม่มีข้อความนี้ก็ตาม ก็หาใช่เป็นเรื่องประกาศ (ฉบับที่ 6) มิได้ประสงค์ให้ถือว่าการที่ลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่
เมื่อจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนเป็นประจำเพราะเห็นว่าค่าจ้างไม่สมดุลย์กับภาวะการครองชีพ อันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานของพนักงานให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจึงถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่ายังชีพภาคใต้ให้เฉพาะพนักงานใน 14 จังหวัดภาคใต้เท่านั้นเป็นการจ่ายโดยถือลักษณะของท้องที่ที่พนักงานเหล่านั้นประจำทำงานเป็นเกณฑ์ เมื่อพนักงานย้ายออกนอกเขต 14 จังหวัดดังกล่าวก็จะไม่ได้รับค่ายังชีพต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยในค่าชดเชยคงเรียกดอกเบี้ยจากค่าเสียหายเท่านั้น ที่ศาลแรงงานฯ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ (ฉบับที่ 5) ข้อ 2 จะมีข้อความว่าการเลิกจ้างให้หมายความรวมทั้งกรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายด้วย แต่ต่อมาประกาศดังกล่าว (ฉบับที่ 6) ข้อ 2 ไม่มีข้อความนี้ก็ตาม ก็หาใช่เป็นเรื่องประกาศ (ฉบับที่ 6) มิได้ประสงค์ให้ถือว่าการที่ลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่
เมื่อจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนเป็นประจำเพราะเห็นว่าค่าจ้างไม่สมดุลย์กับภาวะการครองชีพ อันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานของพนักงานให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจึงถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่ายังชีพภาคใต้ให้เฉพาะพนักงานใน 14 จังหวัดภาคใต้เท่านั้นเป็นการจ่ายโดยถือลักษณะของท้องที่ที่พนักงานเหล่านั้นประจำทำงานเป็นเกณฑ์ เมื่อพนักงานย้ายออกนอกเขต 14 จังหวัดดังกล่าวก็จะไม่ได้รับค่ายังชีพต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยในค่าชดเชยคงเรียกดอกเบี้ยจากค่าเสียหายเท่านั้น ที่ศาลแรงงานฯ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ