พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงอายุผู้เสียหายเพื่อปฏิเสธเจตนา เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีมีกำหนด 7 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสองและฐานพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบห้าปีมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 317วรรคสาม โดยให้เรียงกระทงลงโทษ รวมจำคุก 12 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงลงโทษจำคุกรวม 8 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนั้นโทษแต่ละกระทงที่ลดโทษแล้วจึงไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาโดยอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยมิได้รู้ข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายมีอายุไม่เกินสิบห้าปี การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดในข้อเจตนากระทำความผิดนั้น การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าผู้เสียหายมีอายุเท่าใดนั้น เป็นการนำสืบในข้อเท็จจริงและเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาโดยอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยมิได้รู้ข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายมีอายุไม่เกินสิบห้าปี การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดในข้อเจตนากระทำความผิดนั้น การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าผู้เสียหายมีอายุเท่าใดนั้น เป็นการนำสืบในข้อเท็จจริงและเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8486/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองก่อนมีศาลปกครอง และความชอบด้วยกฎหมายของระเบียบพนันชนไก่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จำเลยคัดค้านว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงปนข้อกฎหมาย ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 223 ทวิ แห่ง ป.วิ.พ. ขอให้ยกคำร้อง ซึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยแปลความหมายได้ว่า หากอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงปนอยู่ด้วยก็ไม่คัดค้าน เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยไม่คัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ฟ้องขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกใช้บังคับ โดยอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นคดีปกครอง เมื่อยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมเป็นสถาบันที่มีอำนาจหน้าที่รับฟ้องคดีปกครองเพื่อเยียวยาตรวจสอบกฎหมายหรือระเบียบที่ฝ่ายบริหารตราออกใช้บังคับโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
การที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอให้โจทก์ได้เพราะขัดต่อระเบียบของจำเลย เป็นการปฏิบัติภายในขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบของจำเลย ถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 โดยมีพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ และการออกระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดแหล่งอบายมุข มิให้ประชาชนลุ่มหลงมัวเมาในการพนันอันจะเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมและความยากจนของประชาชน โดยลดจำนวนบ่อนและลดวันอนุญาตเล่นการพนันชนไก่และกัดปลา และกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตว่าต้องมีฐานะมั่นคงพอเชื่อถือได้และมีความประพฤติเรียบร้อย สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมให้อนุมัติได้เดือนละหนึ่งครั้ง และห้ามอนุมัติการอนุญาตเพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเหตุผลของพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ที่ต้องการควบคุมแหล่งอบายมุขโดยมิได้วางระเบียบห้ามเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาเสียเลย ระเบียบกระทรวง-มหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกใช้บังคับ โดยอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นคดีปกครอง เมื่อยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมเป็นสถาบันที่มีอำนาจหน้าที่รับฟ้องคดีปกครองเพื่อเยียวยาตรวจสอบกฎหมายหรือระเบียบที่ฝ่ายบริหารตราออกใช้บังคับโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
การที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอให้โจทก์ได้เพราะขัดต่อระเบียบของจำเลย เป็นการปฏิบัติภายในขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบของจำเลย ถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 โดยมีพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ และการออกระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดแหล่งอบายมุข มิให้ประชาชนลุ่มหลงมัวเมาในการพนันอันจะเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมและความยากจนของประชาชน โดยลดจำนวนบ่อนและลดวันอนุญาตเล่นการพนันชนไก่และกัดปลา และกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตว่าต้องมีฐานะมั่นคงพอเชื่อถือได้และมีความประพฤติเรียบร้อย สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมให้อนุมัติได้เดือนละหนึ่งครั้ง และห้ามอนุมัติการอนุญาตเพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเหตุผลของพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ที่ต้องการควบคุมแหล่งอบายมุขโดยมิได้วางระเบียบห้ามเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาเสียเลย ระเบียบกระทรวง-มหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกดอกเบี้ยจากการจำนอง: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและลำดับการชำระหนี้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปีผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น และการคิดดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยจำนองที่ดินไว้ต่อผู้ร้อง ตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 นั้นก็คือการฟ้องขอบังคับจำนองนั่นเอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วย โดยในส่วนดอกเบี้ยนั้น ลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สู่กว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปีผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัมปทานทำไม้: การสิ้นสุดสัญญาและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่มิชอบด้วยขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องพอสรุปได้ว่าการประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหายตามฟ้องอันเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์ในลักษณะละเมิดและผิดสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียว กรณีไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 68 ทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดในป่าใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้" เนื้อความในสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัด โจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทาน โจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตาม ป.พ.พ.
การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้
คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดในป่าใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้" เนื้อความในสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัด โจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทาน โจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตาม ป.พ.พ.
การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งปิดป่าโดยรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นละเมิด สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยต้องยื่นตามขั้นตอน
โจทก์บรรยายฟ้องพอสรุปได้ว่าการประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหายตามฟ้องอันเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์ในลักษณะละเมิดและผิดสัญญามิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียวกรณีไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 68 ทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้"เนื้อความสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัดโจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทานโจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่าเนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 68 อัฎฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเพิกถอนสัมปทานป่าไม้ และการปฏิบัติตามขั้นตอนการขอรับเงินชดเชย
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า การประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหาย อันเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในลักษณะละเมิดและผิดสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียวจึงไม่อยู่ในบังคับของเงื่อนไขในการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 68 ทศโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ สัมปทานทำไม้เป็นการอนุญาตให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยออกคำสั่งให้สัมปทานการทำไม้หวงห้ามทุกชนิดทั่วประเทศรวมทั้งของโจทก์สิ้นสุดลง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เงินประกันการปฏิบัติตามสัมปทานการทำไม้หวงห้ามเป็นเงิน ที่โจทก์ผู้รับสัมปทานวางไว้เพื่อเป็นประกันในการที่โจทก์ จะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัมปทาน ผู้ให้ สัมปทานจะริบได้ต้องเป็นกรณีมีการเพิกถอนสัมปทานโดย ผู้รับสัมปทานปฏิบัติผิดข้อกำหนดหรือเงื่อนไขตามสัมปทานการทำไม้ ข้อ 33 เท่านั้น แต่กรณีที่รัฐบาลออกกฎหมายและมีคำสั่งให้สัมปทานการทำไม้ทั่วประเทศสิ้นสุดลง มิใช่เป็นการสั่งเพิกถอนตามสัมปทานข้อ 33 จึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินประกันต้องคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยตามมาตรา 68 ทศเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยในวันที่ 22 มกราคม 2533 ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัยเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากการประมูลซื้อสิทธิการเช่าที่ถูกยกเลิก และการคืนเงินมัดจำเมื่อไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวได้จากการขายทอดตลาดในราคา1,940,000บาทผู้ร้องได้ชำระราคาครบถ้วนในวันขายทอดตลาดและกรมบังคับได้มีหนังสือถึงศาลแพ่งให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องแล้วแสดงว่าการซื้อขายเสร็จสิ้นลงแล้วคงอยู่ในระหว่างดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าเท่านั้นแต่จำเลยที่1ร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงงดการบังคับคดีไว้เพื่อรอคำสั่งศาลและได้ให้ผู้ร้องรับเงินค่าซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวคืนไปบางส่วนโดยเหลือเงินไว้ร้อยละ5ของราคาที่ซื้อได้คิดเป็นเงิน97,000บาทปรากฏว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่มีบุคคลอื่นประมูลได้ในราคา2,320,000บาทซึ่งสูงกว่าราคาที่ผู้ร้องประมูลได้กรณีไม่มีความเสียหายใดๆที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา516กรณีไม่มีความเสียหายใดๆที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา516กรมบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินจำนวนนี้จึงต้องคืนเงินจำนวนนี้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาด การงดบังคับคดี และสิทธิในการรับคืนเงินประมูลเมื่อการขายทอดตลาดถูกยกเลิก
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวได้จากการขายทอดตลาดในราคา 1,940,000 บาท ผู้ร้องได้ชำระราคาครบถ้วนในวันขายทอดตลาดและกรมบังคับคดีได้มีหนังสือถึงศาลแพ่งให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องแล้ว แสดงว่าการซื้อขายเสร็จสิ้นลงแล้ว คงอยู่ในระหว่างดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงงดการบังคับคดีไว้เพื่อรอคำสั่งศาลและได้ให้ผู้ร้องรับเงินค่าซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวคืนไปบางส่วน โดยเหลือเงินไว้ร้อยละ 5ของราคาที่ซื้อได้คิดเป็นเงิน 97,000 บาท ปรากฏว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่มีบุคคลอื่นประมูลได้ในราคา 2,320,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่ผู้ร้องประมูลได้กรณีไม่มีความเสียหายใด ๆ ที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516กรมบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินจำนวนนี้ จึงต้องคืนเงินจำนวนนี้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเพื่อทุเลาการบังคับคดีมีผลเฉพาะชั้นอุทธรณ์ เมื่อหนี้ส่วนหนึ่งถูกยกคำพิพากษา สัญญาค้ำประกันนั้นสิ้นผล
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 กฎหมายกำหนดวิธีการอยู่ในอำนาจศาลเป็นชั้น ๆ ไป ไม่ใช่มีผลเป็นหลักประกันในการทุเลาการบังคับคดีในชั้นฎีกาเป็นการล่วงหน้าไปด้วย แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยใช้ข้อความว่าขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลว่าเมื่อคดีถึงที่สุด จำเลยไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ยินยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินที่วางประกันไว้ การประกันก็มีผลในชั้นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในส่วนค่าเสียหายถูกยกไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ด้วยเงินของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยอีกต่อไป เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงขอคืนโฉนดที่ดินที่นำมาวางประกันไว้ตามสัญญาค้ำประกัน จึงต้องคืนโฉนดที่ดินให้จำเลย