คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มหินทร์ สุรดินทร์กูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันเพื่อทุเลาการบังคับคดีมีผลเฉพาะชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง สัญญาค้ำประกันสิ้นผล
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทำขึ้นเพื่อขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ไม่มีผลเป็นหลักประกันในการทุเลาการบังคับคดีในชั้นฎีกาเป็นการล่วงหน้าไปด้วย แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันใช้ข้อความว่าเมื่อคดีถึงที่สุด จำเลยไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ยินยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินซึ่งนำมาวางไว้เป็นประกัน การประกันก็มีผลในชั้นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนค่าเสียหายถูกยกไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ด้วยเงิน ของจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยอีกต่อไป จำเลยขอคืนหลักประกัน ที่วางไว้ไปในระหว่างฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-สิทธิผู้สืบสิทธิ: คดีเดิมพิพากษาตามยอมแล้ว ฟ้องซ้ำมีผลผูกพันตามคำพิพากษานั้น
คดีก่อน ส. เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 อ้างว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรีได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นทับที่ดินที่ ส. เป็นเจ้าของอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ต่อมาคู่ความสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ง.และง.เป็นผู้รับพินัยกรรมของส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. กับจำเลยคดีนี้ถูกฟ้องในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นผู้สืบสิทธิของอธิบดีกรมที่ดินเช่นกัน ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโฉนดที่ดินพิพาทออกทับที่ดินของ ส. อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาให้ยกฟ้องของ ส.โดยไม่ตัดสิทธิส. ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่นั้นไม่มีผลผูกพันจำเลยคดีนี้ เพราะจำเลยคดีนี้ไม่ได้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีที่ดิน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำกับคู่ความเดิม แม้มีคำพิพากษาตามยอมก่อนหน้านี้
คดีก่อน ส.เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 อ้างว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรีได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นทับที่ดินที่ ส.เป็นเจ้าของอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ต่อมาคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ง. และ ง.เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. กับจำเลยคดีนี้ถูกฟ้องในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นผู้สืบสิทธิของอธิบดีกรมที่ดินเช่นกัน ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโฉนดที่ดินพิพาทออกทับที่ดินของ ส.อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามป.วิ.พ. มาตรา 148 คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาให้ยกฟ้องของ ส.โดยไม่ตัดสิทธิ ส.ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่นั้น ไม่มีผลผูกพันจำเลยคดีนี้ เพราะจำเลยคดีนี้ไม่ได้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว คดีใหม่มีประเด็นและคู่ความเดียวกัน ศาลยกฟ้อง
คดีก่อน ส. ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 อ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรีได้ออกโฉนดที่ดินพิพาททับที่ดินที่ ส. เป็นเจ้าของอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ต่อมาคู่ความทำ สัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรม ของ ง.และง. เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ส.โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของส. จำเลยคดีนี้ก็ถูกโจทก์ฟ้องในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นผู้สืบสิทธิของอธิบดีกรมที่ดินเช่นกัน ถือว่า เป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า โฉนดที่ดินออกทับที่ดินของ ส. อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8052/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาโดยปริยายและการห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญา และเรียกเงินมัดจำกับเบี้ยปรับจากจำเลยก็เพราะกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ที่โจทก์ฎีกาว่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคแรก แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายแต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว โจทก์จึงขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและเบี้ยปรับแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยได้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาและโจทก์ฎีกาในข้อนี้อีก ก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8052/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อนผิดนัดและการคืนเงินมัดจำ กรณีคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญา และเรียกเงินมัดจำกับเบี้ยปรับจากจำเลยก็เพราะกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ที่โจทก์ฎีกาว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายแต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายแล้วโจทก์จึงขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและเบี้ยปรับแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยได้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาและโจทก์ฎีกาในข้อนี้อีก ก็ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ต้องสงสัยคดีอาญา และผลกระทบต่อการรับมรดก
ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกล่าวหาว่า ผู้ร้องเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ต่อมาผู้ร้องถูกส่งฟ้องต่อศาลในข้อหาดังกล่าวซึ่งผู้ร้องให้การปฏิเสธ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น ถ้าหากต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องได้เจตนากระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (1) ซึ่งเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผูัจัดการมรดกของผูัตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่ผู้ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อทายาทอาจถูกตัดสิทธิมรดก และผลกระทบต่อผู้สืบสันดาน
ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจ จับกล่าวหาว่า ผู้ร้องเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ต่อมาผู้ร้องถูกส่งฟ้องต่อศาลในข้อหาดังกล่าวซึ่งผู้ร้องให้การปฏิเสธ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น ถ้าหากต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องได้เจตนากระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(1) ซึ่งเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามผู้ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7863/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ใช้บ้านเป็นหลักประกันและตกลงยกให้หากผิดนัดชำระหนี้เป็นโมฆะ หากไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ถ้าโจทก์ผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ตามกำหนดผู้กู้ยินยอมยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง และสัญญากู้ยืมไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ ความตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ได้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองความตกลงของโจทก์และผู้ร้องตามสัญญาข้อนี้จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ดังนั้น แม้โจทก์ยื่นคำแถลงรวมทั้งเบิกความยืนยันว่าขอยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์บ้านจึงยังคงเป็นของโจทก์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ทรัพย์สินแทนเงินกู้: โมฆะหากราคาไม่สมเหตุสมผล
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ถ้าโจทก์ผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ตามกำหนด ผู้กู้ยืนยอมยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง และสัญญากู้ยืมไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ ความตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ได้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง ความตกลงของโจทก์และผู้ร้องตามสัญญาข้อนี้จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ดังนั้น แม้โจทก์ยื่นคำแถลงรวมทั้งเบิกความยืนยันว่าขอยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ บ้านจึงยังคงเป็นของโจทก์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อย
of 20