พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7842/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ด้วยเหตุผลใหม่
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อ้างเหตุแห่งการวินิจฉัยคดีของแต่ละศาลแตกต่างกัน แต่จำเลยฎีกาอ้างเหตุอย่างเดียวกับ ที่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากทรัพย์จำนองในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันสิทธิในการได้รับชำระหนี้บางส่วน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน2,528,918.34 บาท กรณีย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 27, 95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุจกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,528,918.34 บาทแล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีล้มละลาย ผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน 2,528,918.34 บาทกรณีย่อมต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27,95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุลกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1เป็นเงิน 2,528,918.34 บาท แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือมอบหมายทนายความ ความเข้าใจผิดไม่ใช่เหตุขาดนัดพิจารณา
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่เข้าใจในการดำเนินคดีของศาล ทั้งเชื่อโดยสุจริตว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริต ได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว จึงไม่ต้องทำอะไรอีก ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะจำเลยมีหน้าที่ต้องต่อสู้คดีของจำเลยเอง หากไม่เข้าใจวิธีการต่อสู้คดีหรือไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้ ก็ควรต้องมอบหมายให้ทนายความดำเนินการแทน จำเลยจะอ้างเอาความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: หน้าที่ต่อสู้คดีเอง และความรับผิดชอบในการดำเนินการทางกฎหมาย
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่เข้าใจในการดำเนินคดีของศาลทั้งเชื่อโดยสุจริตว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ณสำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้วจึงไม่ต้องทำอะไรอีกก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะจำเลยมีหน้าที่ต้องต่อสู้คดีของจำเลยเองหากไม่เข้าใจวิธีการต่อสู้คดีหรือไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้ก็ควรต้องมอบหมายให้ทนายความดำเนินการแทนจำเลยจะอ้างเอาความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองในความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนและการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นสาระสำคัญ
ความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและฐานพาอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง และ ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตนเองพอสมควรแก่เหตุ และขอให้ยกฟ้องนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
จำเลยฎีกาว่า เมื่อทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดแต่เพียงผู้เดียวแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดเช่นนี้จะต้องยกฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแล้ว ไม่ว่าจำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้อื่นหรือกระทำความผิดตามลำพังก็ตาม จำเลยย่อมต้องถูกลงโทษ ดังนั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจำเลยกล่าวอ้างจึงมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
จำเลยฎีกาว่า เมื่อทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดแต่เพียงผู้เดียวแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดเช่นนี้จะต้องยกฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแล้ว ไม่ว่าจำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้อื่นหรือกระทำความผิดตามลำพังก็ตาม จำเลยย่อมต้องถูกลงโทษ ดังนั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจำเลยกล่าวอ้างจึงมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองในคดีอาวุธปืนและการลงโทษฐานมีและพาอาวุธปืน แม้คำฟ้องเปลี่ยนไปก็ไม่กระทบการลงโทษ
ความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและฐานพาอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนมาตรา7,8ทวิวรรคหนึ่ง,72วรรคสาม,72ทวิวรรคสองและประมวลกฎหมายอาญามาตรา371ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ3เดือนศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตนเอง พอสมควรแก่เหตุ และขอให้ยกฟ้องนั้นเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยฎีกาว่าเมื่อทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแต่เพียงผู้เดียวแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดเช่นนี้จะต้องยกฟ้องนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแล้วไม่ว่าจำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้อื่นหรือกระทำความผิดตามลำพังก็ตามจำเลยย่อมต้องถูกลงโทษดังนั้นข้อแตกต่างดังกล่าวจำเลยกล่าวอ้างจึงมิใช่สาระสำคัญทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7718/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความระเบียบมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ และสิทธิของนักศึกษา
ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2522ข้อ 4 วรรค 2 ระบุว่า "ในการประชุมพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษามาชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ด้วย" นั้น มีความหมายว่า ในวันที่คณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ประชุมพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาผู้ใด นักศึกษาผู้นั้นจะต้องมาเพื่อชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ในกรณีที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ มีข้อที่จะสอบถามเท่านั้น แต่หากไม่มีข้อจะสอบถาม นักศึกษาผู้นั้นไม่จำเป็นต้องชี้แจง กรณีตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่ข้อบังคับว่า คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะต้องให้นักศึกษาชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ เสมอไป
การจะนัดคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์จะต้องพิจารณาวันและเวลาที่คณะกรรมการดังกล่าวแต่ละคนจะมีวันว่างพอที่จะมาร่วมประชุมด้วย และการไม่มาประชุมของจำเลยที่ 5 เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นที่จำเลยที่ 1มิได้แต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทนจำเลยที่ 5 กรณีอาจเป็นเรื่องกะทันหันไม่ทราบว่าจำเลยที่ 5 จะมีเหตุขัดข้องไม่สามารถมาได้ และตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะส่อแสดงได้ว่าจำเลยทั้งเก้ามีเจตนาจะกลั่นแกล้งโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการใช้สิทธิซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์นอกจากจะเป็นคำขอที่ให้โจทก์ได้รับสิทธิพิเศษผิดไปจากนักศึกษาระดับชั้นปริญญาโททั่วไปแล้ว ยังเป็นคำขอที่อยู่นอกเหนือข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาโท พ.ศ. 2520 ข้อ 6และนอกเหนือระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2522ข้อ 4 อีกด้วย จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับให้โจทก์ได้
การจะนัดคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์จะต้องพิจารณาวันและเวลาที่คณะกรรมการดังกล่าวแต่ละคนจะมีวันว่างพอที่จะมาร่วมประชุมด้วย และการไม่มาประชุมของจำเลยที่ 5 เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นที่จำเลยที่ 1มิได้แต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทนจำเลยที่ 5 กรณีอาจเป็นเรื่องกะทันหันไม่ทราบว่าจำเลยที่ 5 จะมีเหตุขัดข้องไม่สามารถมาได้ และตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะส่อแสดงได้ว่าจำเลยทั้งเก้ามีเจตนาจะกลั่นแกล้งโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการใช้สิทธิซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์นอกจากจะเป็นคำขอที่ให้โจทก์ได้รับสิทธิพิเศษผิดไปจากนักศึกษาระดับชั้นปริญญาโททั่วไปแล้ว ยังเป็นคำขอที่อยู่นอกเหนือข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาโท พ.ศ. 2520 ข้อ 6และนอกเหนือระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2522ข้อ 4 อีกด้วย จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7718/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอท้ายฟ้องที่เกินขอบเขตข้อบังคับมหาวิทยาลัย และอำนาจศาลในการบังคับการ
ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์พ.ศ. 2522 ข้อ 4 วรรคสอง มีความหมายว่า ในวันที่คณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ประชุมพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาผู้ใดนักศึกษาผู้นั้นจะต้องมาเพื่อชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนต่อคณะกรรมการในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อที่จะสอบถามเท่านั้น หากไม่มีข้อจะสอบถาม นักศึกษาผู้นั้นก็ไม่จำเป็นต้องชี้แจง จึงมิใช่ข้อบังคับว่า คณะกรรมการจะต้องให้นักศึกษาผู้นั้นชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนต่อคณะกรรมการเสมอไป ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์พ.ศ. 2522 ข้อ 4 ในวันนัดประชุมพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของโจทก์ จำเลยที่ 5 ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์แต่ผู้เดียวก็สามารถจะสั่งให้โจทก์ทำการแก้ไขข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ได้ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยขยายระยะเวลาในการเขียนวิทยานิพนธ์แก่โจทก์อย่างน้อยหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีและให้ถือว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์มีสถานภาพศักดิ์และสิทธิเท่ากับนักศึกษาอื่น ให้จำเลยเปลี่ยนแปลงกรรมการตรวจสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ใหม่ทั้งหมด โดยให้โจทก์มีสิทธิเลือกตัวกรรมการสอบได้ด้วย ให้จำเลยถือว่าโจทก์สอบผ่านเค้าโครงวิทยานิพนธ์แล้วเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ต่อไป และให้โจทก์มีสิทธิเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาใหม่ และให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาให้โจทก์ นอกจากจะเป็นคำขอที่ให้โจทก์ได้รับสิทธิพิเศษผิดไปจากนักศึกษาระดับชั้นปริญญาโททั่วไปแล้วยังเป็นคำขอที่อยู่นอกเหนือข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาโท พ.ศ. 2520 ข้อ 6 เรื่องระยะเวลาการศึกษาและข้อ 16 เรื่อง ค่าธรรมเนียม และนอกเหนือระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์พ.ศ. 2522 ข้อ 4 จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยายจากการเปิดให้ใช้สอยโดยมิได้หวงห้าม
โจทก์ถูกก.กับพวกฟ้องให้เปิดทางจำเป็นเพราะที่ดินของก.กับพวกตกอยู่ในที่ดินแปลงอื่นจนออกสู่ถนนสาธารณะไม่ได้นับแต่ศาลพิพากษาให้โจทก์เปิดทางจำเป็นแล้วปรากฏว่าบุคคลทั่วไปได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกซอยพหลโยธิน28 ไปสู่ถนนพหลโยธินร่วมกันโดยโจทก์มิได้หวงห้ามมานานนับ10ปีแล้วถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่พิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว