พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยายจากการเปิดทางจำเป็นและการยินยอมใช้ร่วม
โจทก์ถูก ก.กับพวกฟ้องให้เปิดทางจำเป็นเพราะที่ดินของ ก.กับพวกตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่นจนออกสู่ถนนสาธารณะไม่ได้ นับแต่ศาลพิพากษาให้โจทก์เปิดทางจำเป็นแล้ว ปรากฏว่าบุคคลทั่วไปได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกซอยพหลโยธิน 28 ไปสู่ถนนพหลโยธินร่วมกัน โดยโจทก์มิได้หวงห้ามมานานนับ 10 ปีแล้วถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่พิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน: คำวินิจฉัย คชก.ต้องถึงที่สุดก่อนฟ้องบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่3ที่4ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียวซึ่งทำให้จำเลยที่3ที่4ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคหนึ่งศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลจะชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของคชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งจำเลยที่3ที่4ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่3ที่4ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคชก.จังหวัดเท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยคชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุดซึ่งตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคสองประกอบมาตรา56วรรคสองคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อคชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วและคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดแต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่3ที่4ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดแต่คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านคชก.ตำบลและเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่าคชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบเพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งแม้จำเลยที่3ที่4ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้งแต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่3ที่4ย่อมฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัย คชก. ไม่ถึงที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคหนึ่ง ศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของ คชก.ตำบล ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3ที่ 4 ให้การต่อสู้ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คชก.จังหวัด เท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัย คชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุด ซึ่งตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคสองประกอบมาตรา 56 วรรคสอง คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้ว และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว ซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 3ที่ 4 ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด แต่ คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่าน คชก.ตำบล และเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่า คชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบ เพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าว ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้ง แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง ทั้งเจ้าของเดิมและผู้รับโอน
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้รับโอนที่ดินจาก ม.ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า 10 ปี อันมีผลทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจาก ม.ได้ภาระจำยอมในการใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับทางสาธารณะก็ตาม แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินแปลงเดิมที่ได้รับโอนมาจาก ม.ไปแลกเอาที่ดินแปลงใหม่มาจากจำเลยเสียแล้วเมื่อ พ.ศ.2528 ซึ่งระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 6 ปีเศษ และโจทก์ที่ 3เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2534 นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเพียง 1 ปีเศษ ดังนั้นแม้จะฟังว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่ได้ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของตนกับทางสาธารณะตลอดมาถึงวันฟ้องด้วยอำนาจปรปักษ์ ก็มีระยะเวลายังไม่ถึง 10 ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินแปลงใหม่
เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ครั้นโจทก์ที่ 4ถึงที่ 7 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมา แม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาที่ ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภาระจำยอมในการที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1385
เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ครั้นโจทก์ที่ 4ถึงที่ 7 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมา แม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาที่ ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภาระจำยอมในการที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการใช้ทางร่วมกันของเจ้าของที่ดินหลายช่วง
แม้โจทก์ที่1และที่2ซึ่งได้รับโอนที่ดินจากม.ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า10ปีอันมีผลทำให้โจทก์ที่1และที่2ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจากม.ได้ภารจำยอมในการใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์ที่1และที่2กับทางสาธารณะก็ตามแต่โจทก์ที่1และที่2นำที่ดินแปลงเดิมที่ได้รับโอนมาจากม. ไปแลกเอาที่ดินแปลงใหม่มาจากจำเลยเสียแล้วเมื่อพ.ศ.2528ซึ่งระยะเวลาที่โจทก์ที่1และที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลา6ปีเศษและโจทก์ที่3เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ศ.2534นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเพียง1ปีเศษดังนั้นแม้จะฟังว่าโจทก์ที่1ถึงที่3ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่ได้ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของตนกับทางสาธารณะตลอดมาถึงวันฟ้องด้วยอำนาจปรปักษ์ก็มีระยะเวลายังไม่ถึง10ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงใหม่ เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่4ถึงที่7ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วครั้นโจทก์ที่4ถึงที่7ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมาแม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ10ปีก็ตามแต่เมื่อนับระยะเวลาที่ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่4ถึงที่7ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ10ปีแล้วที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภารจำยอมในการที่โจทก์ที่4ถึงที่7จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่4ถึงที่7ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบด้วยมาตรา1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: แม้เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้สอบสวนเปรียบเทียบ ก็ฟ้องได้หากสิทธิถูกโต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จากผู้มีชื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอให้รังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจาก น.ส.3เป็น น.ส.3 ก. เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอไปรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินให้โจทก์ จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านที่ดินอำเภออ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลย ดังนี้ แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จาก น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก.เป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นผู้คัดค้านการที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจาก น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก. ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนเปรียบเทียบและดำเนินการตามระเบียบต่อไปโดยได้ส่งหนังสือให้จำเลยตามที่อยู่ของจำเลยแล้ว แต่เมื่อถึง วันนัดจำเลยไม่ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหนังสือนัดหมาย ทางพนักงานเจ้าหน้าที่จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถสั่งการใด ๆ ให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามได้และตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 60 หาได้มีข้อห้ามมิให้โจทก์ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ แม้เจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้สอบสวน หากสิทธิถูกโต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)จากผู้มีชื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอให้รังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอไปรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินให้โจทก์จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านต่อที่ดินอำเภออ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยดังนี้แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.เป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วโจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นผู้คัดค้านการที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนเปรียบเทียบและดำเนินการตามระเบียบต่อไปโดยได้ส่งหนังสือให้จำเลยตามที่อยู่ของจำเลยแล้วแต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหนังสือนัดหมายทางพนักงานเจ้าหน้าที่จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบไม่ได้ในกรณีเช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถจะสั่งการใดๆให้โจทก์จำเลยปฏิบัติได้และตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60หาได้มีข้อห้ามมิให้โจทก์ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855-6857/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมผูกพันทายาท แม้ไม่ได้ระบุชัดในคำฟ้อง
การที่จะทราบว่าโจทก์ฟ้องในฐานะใดจะต้องพิจารณาฟ้องรวมกันทั้งฉบับมิใช่เฉพาะในแบบพิมพ์คำฟ้องในช่องโจทก์เท่านั้น คดีก่อนส. ฟ้องเรียกที่ดินพิพาททั้งหมดจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบ.ซึ่งเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่นรวมทั้งโจทก์และทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วการที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้อีกในประเด็นเดิมที่ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่จึงเป็นฟ้องซ้ำแม้ในคดีก่อนส. จะไม่ได้ระบุในช่องโจทก์ว่าส.ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการค้าในตลาดนัด: การจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับประเภทที่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526 ข้อที่ 27 ระบุว่า ผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้น มีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาต แต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้ง เช่น ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด แต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้ เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้ แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้ว และได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วย เช่น กรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิต คือ ปลาเลี้ยง ปลาสวยงามต่าง ๆ ตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลา อุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วย ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2527 ข้อ 2 ประเภทแผงค้า (4) สัตว์มีชีวิตก็ดี ตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ระบุว่าประเภทสินค้า สัตว์มีชีวิตก็ดี มิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัด ได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่ 2ว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลาย ๆ ประเภทไว้ ณ สถานที่เดียวกัน ผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่ง ช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะ ดังนั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงาม และมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าแผงค้า-การเพิกถอนสิทธิ-การปฏิบัติตามระเบียบ-อำนาจคณะกรรมการตลาด
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526ข้อที่27ระบุว่าผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้นมีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้งเช่นได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสดแต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้วและได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วยเช่นกรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิตคือปลาเลี้ยงปลาสวยงามต่างๆตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลาอุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วยย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าวนอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่3)พ.ศ.2527ข้อ2ประเภทแผงค้า(4)สัตว์มีชีวิตก็ดีตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานครระบุว่าประเภทสินค้าสัตว์มีชีวิตก็ดีมิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นและตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่2ว่าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลายๆประเภทไว้ณสถานที่เดียวกันผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่งช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะดังนั้นการที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงามและมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่ การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลาดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน