คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มหินทร์ สุรดินทร์กูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การละเมิด, และการส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาท จนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาท จึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทและขอบเขตอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงบางส่วน
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาทจนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาทจึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาทและตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆและเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้ เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้องแต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้นเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ศาลวินิจฉัยสิทธิครอบครองแล้ว การฟ้องขับไล่ซ้ำจึงไม่รับ
คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลง โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้ให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินแปลงเดียวกันนี้ โดยอ้างว่าจำเลยถือสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของที่ดินก็ตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เป็นประเด็นที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้วินิจฉัยมาแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยการรับชำระด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการโอนทรัพย์สินเดิม สิทธิระงับเมื่อเจ้าหนี้รับชำระหนี้แล้ว
ว.เป็นสามีธ.และเป็นบุตรของจำเลยว.และธ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์2 จำนวน คือหนี้เกิดจากการซื้อหุ้นและออกเช็คกับหนี้เงินกู้รวมเป็นเงิน 24,128,385 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยยินยอมให้ ว.นำที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่พิพาทโอนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อมาโจทก์แจ้งให้ ว.จัดการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และ/หรือใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหักทรัพย์สินที่ไม่ชำระหนี้ออกไปและหาก ว.ม่ดำเนินการโจทก์ขอถือหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแจ้งว่าโจทก์ขอตั้งผู้ตีราคาทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ช.เป็นผู้ตีราคาและผู้ตีราคาได้ตีราคาทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้ไม่ได้เป็นเงิน 2,930,000 บาทต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ว.ดำเนินการดังที่แจ้งไว้อีกครั้ง แต่ ว.มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด โจทก์จึงยื่นฟ้องว.และธ.เป็นคดีล้มละลาย โดยนำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเป็นเงิน 2,930,000 บาทเพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้หักออกจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นำไปเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องและขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์สินที่ ว.และ ธ.นำมาทำสัญญาเพื่อโอนชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้แก่ที่ดินและบ้าน ที่ดินและที่พิพาทกับรถยนต์นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และ ว.กับส.ลูกหนี้ระบุไว้ว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวรายใดไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ก็ต้องหักออกไปตามราคาที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้ผู้ตีราคาซึ่งโจทก์เป็นผู้ตั้งขึ้นมาตีราคา คำวินิจฉัยของผู้ตีราคาดังกล่าวให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการตกลงราคาหรือตีราคาทรัพย์สินแล้ว ก็จะต้องนำไปหักออกจากยอดเงินที่ระบุไว้ในสัญญา และถือว่า ว.และธ.ยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เป็นหนี้เงินตามจำนวนเงินที่มีการตกลงหรือตีราคาทรัพย์สินนั้นเมื่อปรากฏว่า หลังจากจำเลยปฏิเสธไม่ยอมโอนที่พิพาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือถึง ว.และธ.ขอให้ตีราคาที่พิพาทจนต่อมาได้มีการตั้งผู้ตีราคาและตีราคาที่พิพาท แล้วโจทก์นำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ไปรวมกับยอดเงินที่โจทก์ฟ้องว.และธ. เป็นคดีล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นจากลูกหนี้แทนการชำระหนี้โดยการรับโอนที่ดินพิพาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้หนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะต้องโอนที่พิพาทแก่โจทก์เป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีก การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 198 และมาตรา 199 ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ว.และธ. ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องจำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการยอมรับชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ว.เป็นสามี ธ.และเป็นบุตรของจำเลย ว.และ ธ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 2 จำนวน คือหนี้เกิดจากการซื้อหุ้นและออกเช็คกับหนี้เงินกู้รวมเป็นเงิน 24,128,385 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยยินยอมให้ ว.นำที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่พิพาทโอนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อมาโจทก์แจ้งให้ ว.จัดการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และ/หรือใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหักทรัพย์สินที่ไม่ชำระหนี้ออกไป และหาก ว.ไม่ดำเนินการโจทก์ขอถือหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแจ้งว่าโจทก์ขอตั้งผู้ตีราคาทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ช.เป็นผู้ตีราคาและผู้ตีราคาได้ตีราคาทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้ไม่ได้เป็นเงิน 2,930,000 บาท ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ว.ดำเนินการดังที่แจ้งไว้อีกครั้ง แต่ ว.มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด โจทก์จึงยื่นฟ้อง ว.และ ธ.เป็นคดีล้มละลาย โดยนำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเป็นเงิน 2,930,000 บาท เพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้หักออกจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นำไปเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องและขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้วดังนี้ เมื่อทรัพย์สินที่ ว.และ ธ.นำมาทำสัญญาเพื่อโอนชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้แก่ที่ดินและบ้าน ที่ดินและที่พิพาทกับรถยนต์นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์และ ว.กับ ส.ลูกหนี้ระบุไว้ว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวรายใดไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ก็ต้องหักออกไปตามราคาที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้ผู้ตีราคาซึ่งโจทก์เป็นผู้ตั้งขึ้นมาตีราคา คำวินิจฉัยของผู้ตีราคาดังกล่าวให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการตกลงราคาหรือตีราคาทรัพย์สินแล้ว ก็จะต้องนำไปหักออกจากยอดเงินที่ระบุไว้ในสัญญา และถือว่า ว.และ ธ.ยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เป็นหนี้เงินตามจำนวนเงินที่มีการตกลงหรือตีราคาทรัพย์สินนั้น เมื่อปรากฏว่า หลังจากจำเลยปฏิเสธไม่ยอมโอนที่พิพาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือถึง ว.และ ธ.ขอให้ตีราคาที่พิพาท จนต่อมาได้มีการตั้งผู้ตีราคาและตีราคาที่พิพาท แล้วโจทก์นำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคา เพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ไปรวมกับยอดเงินที่โจทก์ฟ้อง ว.และ ธ.เป็นคดีล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นจากลูกหนี้แทนการชำระหนี้โดยการรับโอนที่พิพาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอม-ยอมความ ย่อมทำให้หนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะต้องโอนที่พิพาทแก่โจทก์เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีก
การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยก ป.พ.พ.มาตรา 198 และมาตรา 199ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ ว.และ ธ.ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของ ป.พ.พ.มาตรา 198 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าต้องระบุการกระทำต่อเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108 ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 110 ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเครื่องหมายการค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง: ศาลแก้ไขคำพิพากษาข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าเนื่องจากคำฟ้องไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา108และศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108ดังกล่าวคงบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา108ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา110ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา108เท่านั้นกรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา108แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534ได้ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวันเวลาเกิดเหตุในฟ้อง และการนำสืบแก้ข้อกล่าวหาที่ไม่ถือว่าหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่าเหตุเกิดวันที่4สิงหาคมแต่นำสืบว่าเหตุเกิดวันที่4มิถุนายนเป็นข้อแตกต่างเพียง รายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามมิให้ถือว่าต่างกันใน ข้อสาระสำคัญ ในชั้นแรกจำเลยให้การปฏิเสธลอยต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าตามวันเวลาในฟ้องจำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุแต่จำเลยเบิกความว่าในวันเกิดเหตุตามที่โจทก์นำสืบผู้เสียหายและน้องชายจำเลยมาขอให้จำเลยไกล่เกลี่ยเรื่องที่บุคคลทั้งสองมีเรื่องชกต่อยกันขณะบุคคลทั้งสองอยู่ที่บ้านจำเลยก็เกิดทะเลาะต่อสู้ทำร้ายกันจนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการกระทำผิดด้วยถือได้ว่าจำเลยนำสืบแก้ข้อกล่าวหาโดยมิได้ หลงต่อสู้ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินระหว่างเจ้าของที่ดิน ผู้มีสิทธิครอบครอง และผู้เช่า: การกระทำที่ไม่เป็นการละเมิด
ข.เป็นบิดาโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรียนและที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนโดยโจทก์เป็นเพียงผู้มีสิทธิดำเนินกิจการโรงเรียนเท่านั้น แม้โจทก์จะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองที่ดินที่โรงเรียนตั้งอยู่ก็ตาม ก็เป็นการครอบครองแทน ข.เมื่อต่อมาภายหลังข.ได้แบ่งแยกที่ดินที่โรงเรียนตั้งอยู่ออกเป็น5 แปลง และยกกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกให้แก่บุตรทั้ง 4 คน รวมทั้งโจทก์และจำเลยคนละแปลง ส่วนที่เหลือเป็นของ ข. ซึ่งให้จำเลยเช่า จำเลยทำรั้วขึ้นในเขตพื้นที่ที่ดินของจำเลย ส่วนบริเวณที่จำเลยขนโต๊ะเก้าอี้และเครื่องเล่นเด็กสนามไปไว้เป็นบริเวณที่ดินของข.ซึ่งได้ให้จำเลยเช่าจำเลยย่อมมีสิทธิในที่ดินส่วนนี้ตามสัญญาเช่า เมื่อจำเลยไม่ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยและที่ดินส่วนที่จำเลยเช่าจากข. จำเลยจึงมีสิทธิที่จะกระทำการใด ๆในที่ดินได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องดำเนินการทางศาลก่อนการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินและการเช่า: การกระทำของผู้เช่าบนที่ดินเช่าไม่เป็นการละเมิดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินส่วนอื่น
โจทก์เป็นผู้ขออนุญาตเป็นเจ้าของจัดตั้งโรงเรียนและเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงเรียน แต่โรงเรียนและที่ดินที่ตั้งโรงเรียนเป็นของ ข. บิดาโจทก์ ต่อมา ข. แบ่งที่ดินออกเป็น 5 แปลง ยกให้ โจทก์ จำเลย บ. และ ป.คนละแปลง ส่วนที่เหลือเป็นของ ข. และ ข. ได้ให้จำเลยเช่าที่ดินส่วนของ ข.การที่จำเลยกั้นแนวรั้วในเขตที่ดินของจำเลยก็ดี การที่จำเลยขนสิ่งของไปไว้บนที่ดินส่วนที่จำเลยเช่าจาก ข. ก็ดี เป็นสิทธิของจำเลยที่กระทำได้ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
of 20