คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มหินทร์ สุรดินทร์กูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระหนี้ซื้อขาย: การคำนวณดอกเบี้ยและอายุความ
จำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้องแต่เมื่อไม่ปรากฎตามสัญญาและหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่าในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่งโจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระแล้วดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยจำนวน11,900บาทนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรกจึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)หากเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม)ซึ่งมีกำหนด10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระหนี้ซื้อขาย: อายุความ 10 ปี มิใช่ 5 ปี หากเป็นดอกเบี้ยทดแทนค่าเสียหาย
เงินที่จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้องเมื่อไม่ปรากฏตามสัญญาและหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่าในกรณีที่จำเลยที่1ค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่งโจทก์ในฐานะผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่1เพราะเหตุที่จำเลยที่1ค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยนับแต่วันที่จำเลยที่1ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)หากแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด10ปีตามมาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย/ผิดหลงเล็กน้อย และค่าธรรมเนียมผิดนัด
การที่จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำฟ้องจำเป็นต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์ซึ่งตามปกติการขอแก้ไขเพิ่มเติมสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172ถือว่าเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในข้อสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรสินเชื่อที่โจทก์ออกให้ไปใช้โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน20,620บาทจำเลยต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน20,620บาทพร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนคำนวณถึงวันฟ้องจำนวน4,646.37บาทรวมเป็นเงิน25,266.37บาทซึ่งปกติถ้าโจทก์ไม่บรรยายคำฟ้องต่อไปว่าไม่ประสงค์เรียกร้องให้ตรงจำนวนหนี้แล้วโจทก์ก็ต้องบรรยายคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดดังกล่าวแต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37บาทพร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนในต้นเงินจำนวน20,620บาทเห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนาต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180 โจทก์ได้บรรยายวิธีการใช้บัตรสินเชื่อไว้ว่าเมื่อสมาชิกผู้มีบัตรประสงค์จะซื้อสินค้าใช้บริการหรืออื่นๆสมาชิกสามารถนำบัตรดังกล่าวไปแสดงต่อบุคคลนิติบุคคลหรือร้านค้าต่างๆซึ่งตกลงรับบัตรที่โจทก์ออกให้โดยไม่ต้องชำระเงินสดซึ่งโจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกแล้วภายหลังจึงเรียกเก็บจากสมาชิกเป็นรายเดือนโดยแนบใบแจ้งยอดบัญชีกับหลักฐานซึ่งแสดงว่าสมาชิกได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการแต่ละครั้งไปด้วยฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาผิดสัญญาคำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172แล้วไม่เคลือบคลุม ตามวิธีการใช้บัตรสินเชื่อของโจทก์เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนดซึ่งกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดแต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนดโจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดโดยไม่เรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีกค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้อง, อุทธรณ์, ฎีกา, จำนวนทุนทรัพย์, ค่าธรรมเนียมผิดนัด: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การวินิจฉัยว่าการแก้ไขอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจำต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์โจทก์ขอแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในคำขอบังคับท้ายฟ้องให้สอดคล้องกับข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาซึ่งได้บรรยายในคำฟ้องของโจทก์แต่เดิมโดยคำขอท้ายฟ้องได้พิมพ์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180 คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุผลคนละเหตุและจำเลยฎีกาในข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบและศาลชั้นต้นรับฎีกามาก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249 ตามวิธีการใช้บัตรสินเชื่อ ไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยทำบัตรสินเชื่อของโจทก์ไปใช้โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนดซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดแต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดโจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนไม่ใช่ดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯแต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเล็กน้อย และการเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดบัตรเครดิต
การที่จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขคำฟ้องอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้น จำเป็นต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรไดเนอร์สคลับที่โจทก์ออกให้ไปใช้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2532 โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 20,620 บาท โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน 20,620 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 คำนวณถึงวันฟ้องจำนวน 4,646.37 บาท รวมเป็นเงิน25,266.37 บาท แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ในต้นเงินจำนวน 20,620 บาท เห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนา ต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุคนละเหตุว่า ข้ออุทธรณ์ของจำเลยนั้นจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีไว้ และจำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบก็ตามก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ตามวิธีการของการใช้บัตรไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้ โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนด ในกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัด แต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด โจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน โดยไม่ปรากฏว่าเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีก จึงเห็นได้ว่าค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และประเด็นใหม่ในชั้นฎีกา กรณีแบ่งมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทอ้างว่าเป็นมรดกของน. ผู้ตายโดยตีราคาที่ดินและบ้านเป็นจำนวนเงิน1,600,000บาทและ300,000บาทตามลำดับศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์จำนวน203.81ส่วนใน3,261ส่วนและแบ่งบ้านพิพาทจำนวน1ใน16ส่วนแก่โจทก์จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องแบ่งให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนโจทก์ไม่ฎีการาคาที่ดินและบ้านที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง99,998.77บาทและ18,750บาทตามลำดับรวมแล้วเป็นราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นฎีกา จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่าที่ดินส่วนของบ.และศ. ที่จำเลยได้รับโอนมาจำเลยได้โอนคืนให้แก่ศ.และบุตรของบ. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้วโจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งจากจำเลยไม่ได้นั้นเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาท อ้างว่าเป็นมรดกของ น. ผู้ตาย โดยตีราคาที่ดินและบ้านเป็นจำนวนเงิน 1,600,000 บาทและ 300,000 บาท ตามลำดับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์จำนวน 203.81 ส่วน ใน 3,261 ส่วน และแบ่งบ้านพิพาทจำนวน 1 ใน16 ส่วน แก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องแบ่งให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ส่วนโจทก์ไม่ฎีกา ราคาที่ดินและบ้านที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง99,998.77 บาท และ 18,750 บาท ตามลำดับ รวมแล้วเป็นราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นฎีกา
จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่า ที่ดินส่วนของ บ. และ ศ.ที่จำเลยได้รับโอนมา จำเลยได้โอนคืนให้แก่ ศ. และบุตรของ บ. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้ว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งจากจำเลยไม่ได้นั้น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบุตรบุญธรรมต่อผู้รับบุตรบุญธรรม: การตีความ 'ผู้บุพการี' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28ที่บัญญัติว่าบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมและในวรรคที่2ที่บัญญัติว่าให้นำบทบัญญัติในลักษณะ2หมวด2แห่งบรรพนี้(ตั้งแต่มาตรา1561ถึงมาตรา1584/1)มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นหมายความเพียงว่าให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมาใช้บังคับแก่บุตรบุญธรรมโดยอนุโลมเท่านั้นไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำทุนมาตรามาใช้บังคับทั้งหมดส่วนบทบัญญัติในมาตรา1562ที่บัญญัติว่าผู้ใดจะฟังบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้นั้นเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา29เดิม(มาตรา28ที่แก้ไขใหม่)ให้ความหมายของคำว่าผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดาปู่ย่าตายายทวดและผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริงจำเลยเป็นเพียงผู้รับโจกท์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม: ไม่เป็นอุทลุมตามกฎหมาย
บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมจึงมีอำนาจฟ้องผู้รับบุตรบุญธรรมได้ ไม่เป็นอุทลุมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ที่บัญญัติว่าบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม...และในวรรคที่ 2 ที่บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้(ตั้งแต่มาตรา 1561 ถึงมาตรา 1584/1) มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความเพียงว่า ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมาใช้บังคับแก่บุตรบุญธรรมโดยอนุโลมเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำทุกมาตรามาใช้บังคับทั้งหมดส่วนบทบัญญัติในมาตรา 1562 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ นั้น เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
of 20