พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาท โดยคำนึงถึงการครอบครองพื้นที่เฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาท ซึ่งคู่ความรับกันว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างมีบ้านพักปลูกอยู่บริเวณหมายเลข 1 และหมายเลข 3 ตามแผนที่พิพาท ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงการครอบครองเป็นส่วนสัดเฉพาะตัวบ้านอยู่แล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังฟังไม่ได้ว่าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนใด เช่นนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้ไปรังวัดแบ่งแยกอาณาเขตที่ดินตามส่วนในโฉนดที่ดิน และตามแนวแผนที่พิพาทโดยกันส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออก ส่วนที่เหลือให้แบ่งกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1364 จึงเป็นการชอบแล้วหาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน โดยศาลมีอำนาจสั่งแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 แม้ไม่มีการครอบครองส่วนสัดชัดเจน
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาทซึ่งคู่ความรับกันว่าจำเลยที่2และที่3ต่างมีบ้านพักปลูกอยู่บริเวณหมายเลข1และหมายเลข3ตามแผนที่พิพาทซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงการครอบครองเป็นส่วนสัดเฉพาะตัวบ้านอยู่แล้วส่วนโจทก์และจำเลยที่1ยังฟังไม่ได้ว่าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนใดเช่นนี้การที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้ไปรังวัดแบ่งแยกอาณาเขตที่ดินตามส่วนในโฉนดที่ดินและตามแนวแผนที่พิพาทโดยกันส่วนของจำเลยที่2และที่3ออกส่วนที่เหลือให้แบ่งกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364จึงเป็นการชอบแล้วหาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: อายุจำเลยและดุลพินิจศาลในการลดโทษ
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า ขณะจำเลยกระทำความผิดจำเลยมีอายุยังไม่เกินยี่สิบปี แต่ศาลชั้นต้นมิได้ระบุไว้ในคำพิพากษาให้ลดหรือไม่ลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 แก่จำเลย เป็นการชอบหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย และมิได้เป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาคตรา 195วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 225
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นลดโทษมาตรา 76 ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และการโต้เถียงดุลพินิจศาล
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่าขณะจำเลยกระทำความผิดจำเลยมีอายุยังไม่เกินยี่สิบปีแต่ศาลชั้นต้นมิได้ระบุไว้ในคำพิพากษาให้ลดหรือไม่ลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76แก่จำเลยเป็นการชอบหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและมิได้เป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค2จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา225 ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค2อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความประมาทในคดีขับรถชน ผู้ขับต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ หากผู้ถูกชนสวนเข้ามาในช่องทางเดินรถของผู้ขับโดยไม่มีเหตุผลย่อมไม่ถือว่าผู้ขับประมาท
พยานโจทก์คือจ่าสิบตำรวจ ก. และร้อยตำรวจโท ส.เป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองหรือมีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดคำเบิกความดังกล่าวจึงมีน้ำหนักรับฟังได้เมื่อจ่าสิบตำรวจ ก. เบิกความว่าหลังเกิดเหตุรถชนกันไม่นานพยานไม่เห็นจำเลยมีอาการผิดปกติและไม่มีกลิ่นสุราจากจำเลยและร้อยตำรวจโท ส.ก็เบิกความว่าในคืนเกิดเหตุพยานได้สอบถามจำเลยจำเลยก็เล่าพฤติการณ์ที่เกิดเหตุรถชนกันให้ฟังได้ซึ่งหากจำเลยเมาสุราจ่าสิบตำรวจ ก. น่าจะสังเกตเห็นและจำเลยคงเล่าลำดับเหตุการณ์ให้ร้อยตำรวจโท ส. ฟังไม่ได้พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถในขณะเมาสุรา จำเลยขับรถยนต์มาในช่องเดินรถของจำเลยชิดไหล่ทางด้านซ้ายมือแม้จะเห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ส่ายไปส่ายมาก่อนเกิดเหตุแต่ก็ยังอยู่ในช่องเดินรถของผู้ตายจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่าผู้ตายจะขับรถตรงเข้ามาชนรถของจำเลยเพราะไม่ปรากฏเหตุจำเป็นใดๆที่ผู้ตายต้องกระทำเช่นนั้นเมื่อผู้ตายขับรถสวนเข้ามาในช่องเดินรถของจำเลยในระยะกระชั้นชิดเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะห้ามล้อรถให้หยุดได้ในทันทีทั้งไม่มีเวลาพอที่จะบังคับรถยนต์หลบหลีกรถจักรยานยนต์ของผู้ตายได้ทันจึงเกิดเหตุชนกันขึ้นพฤติการณ์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการประเมินราคาที่ดินที่เหมาะสม การคิดดอกเบี้ยชดเชย และการพิจารณาความเจริญของที่ดิน
ที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินแปลงเดียวกันการคิดราคาที่ดินจะต้องคิดราคาต่อตารางวาเท่ากันตลอดทั้งแปลง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร ออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจมีการขึ้นลงไม่คงที่จึงจะพิพากษากำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดไปมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัด: พฤติการณ์แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะอยู่กินเป็นสามีภริยา ทำให้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
พยานโจทก์และพยานจำเลยเบิกความยันกันแต่จากพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังประสงค์จะอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ส่วนโจทก์กลับไม่ประสงค์เช่นนั้นจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์อันจะเป็นการผิดสัญญาหมั้นดังฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9062/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาว่ามีดคัตเตอร์เป็นอาวุธตามกฎหมาย และความผิดฐานพาอาวุธในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร
มีดคัตเตอร์ ยาวประมาณ 1 ฟุต ตัวมีดกว้างประมาณ 2 นิ้วเป็นมีดคัตเตอร์ ขนาดใหญ่ จำเลยมีเจตนาจะใช้อย่างเป็นอาวุธ จึงเป็นอาวุธตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1)เมื่อจำเลยใช้พาติดตัวไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร จึงมีความผิดตามมาตรา 371
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน, ราคาลดลง, การชดเชย, ดอกเบี้ย, และสิทธิในการใช้ทาง
การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2531ถึง พ.ศ. 2534 ของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์กำหนด โดยกำหนดสูงกว่าราคาที่ดินที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีบำรุงท้องที่ อันเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ก่อนถูกแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ที่ให้นำมาตรา 21(2)(3) มาเป็นเกณฑ์กำหนดก็ตามแต่ก็เป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญญัติดังกล่าว มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งกำหนดราคาเบื้องต้น การจ่ายเงินค่าทดแทนในการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ และโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่14 มกราคม 2534 คดีจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่29 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับ ฉะนั้นการพิจารณาค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวจะต้องนำเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา 21(1)(4) และ (5) มาประกอบการพิจารณาด้วย อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเพราะเหตุราคาลดลงนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ครั้งนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้ จำเลยได้สร้างทางจำเป็นกว้าง 4.80 เมตร ให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางจำเป็นดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกอยู่แล้ว ที่โจทก์จะขอให้จดทะเบียนเป็นภารจำยอมให้มีความกว้าง 6 เมตรนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไปนั้นเพื่อ วัตถุประสงค์ให้เป็นทางด่วนสาธารณูปโภคและได้มีประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515ข้อ 29 บัญญัติมีใจความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นเชื่อมต่อทางพิเศษ หากมีการฝ่าฝืน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ห้ามเด็ดขาดที่จะมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือน หรือสิ่งอื่นเชื่อมทางพิเศษ ทั้งการได้ภารจำยอมในที่ดินแปลงใดก็ตามต้องได้มาโดยนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยผลกฎหมายที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เท่านั้น เมื่อกรณีของโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่อาจบังคับภารจำยอมให้โจทก์ได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ผู้ได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นจะต้องได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใด ก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราต่อปีคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินราคา, ค่าทดแทนส่วนที่เหลือ, ภาระจำยอม, และดอกเบี้ย
การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ถึง พ.ศ.2534 ของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์กำหนด โดยกำหนดสูงกว่าราคาที่ดินที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีบำรุงท้องที่ อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสี่ ก่อนถูกแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่ให้นำมาตรา 21 (2) (3) มาเป็นเกณฑ์กำหนดก็ตาม แต่ก็เป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญญัติดังกล่าว มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งกำหนดราคาเบื้องต้น การจ่ายเงินค่าทดแทนในการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ และโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2534 คดีจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับ ฉะนั้นการพิจารณาค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวจะต้องนำเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 21 (1) (4) และ(5) มาประกอบการพิจารณาด้วย
อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเพราะเหตุราคาลดลงนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสาม บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ครั้งนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้
จำเลยได้สร้างทางจำเป็นกว้าง 4.80 เมตร ให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางจำเป็นดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกอยู่แล้ว ที่โจทก์จะขอให้จดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้มีความกว้าง 6 เมตรนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไปนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นทางด่วนสาธารณูปโภคและได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ข้อ 29 บัญญัติมีใจความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นเชื่อมต่อทางพิเศษ หากมีการฝ่าฝืน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ห้ามเด็ดขาดที่จะมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือน หรือสิ่งอื่นเชื่อมทางพิเศษ ทั้งการได้ภาระจำยอมในที่ดินแปลงใดก็ตามต้องได้มาโดยนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยผลกฎหมายที่บัญญัติใน ป.พ.พ.เท่านั้น เมื่อกรณีของโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่อาจบังคับภาระจำยอมให้โจทก์ได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ผู้ได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นจะต้องได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใด ก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราต่อปีคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง
อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเพราะเหตุราคาลดลงนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสาม บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ครั้งนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้
จำเลยได้สร้างทางจำเป็นกว้าง 4.80 เมตร ให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางจำเป็นดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกอยู่แล้ว ที่โจทก์จะขอให้จดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้มีความกว้าง 6 เมตรนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไปนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นทางด่วนสาธารณูปโภคและได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ข้อ 29 บัญญัติมีใจความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นเชื่อมต่อทางพิเศษ หากมีการฝ่าฝืน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ห้ามเด็ดขาดที่จะมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือน หรือสิ่งอื่นเชื่อมทางพิเศษ ทั้งการได้ภาระจำยอมในที่ดินแปลงใดก็ตามต้องได้มาโดยนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยผลกฎหมายที่บัญญัติใน ป.พ.พ.เท่านั้น เมื่อกรณีของโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่อาจบังคับภาระจำยอมให้โจทก์ได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ผู้ได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นจะต้องได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใด ก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราต่อปีคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง