คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มหินทร์ สุรดินทร์กูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและค่าเสียหายจากการบุกรุก กรณีตึกและประตูอยู่ในกรรมสิทธิ์ของจำเลย
จำเลยที่2เป็นภริยาของจำเลยที่3จำเลยที่2และที่3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่20,22และ24โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่1ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร35ที่ดินโฉนดเลขที่2021และโฉนดเลขที่2022อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร35 ที่พิพาทและทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3การที่จำเลยที่3ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่20แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร35 ของโจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่20ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเมื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่20ใช้ถนนซอยเจริญนคร35โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่783ไปยังตึกแถวเลขที่20โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่20ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลยแล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบคดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง ตึกแถวเลขที่20และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3เองและประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่3ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด ฎีกาโจทก์ที่ว่าการที่จำเลยที่3ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1337จำเลยที่3จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม3ข้อคือข้อ(1)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบข้อ(2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ3,000บาทนับแต่วันที่1เมษายน2533จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาทและข้อ(3)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย100,000บาทแก่โจทก์หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ(1)ได้ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่2และที่3ปฏิบัติตามคำขอข้อ(1)ได้เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่2และที่3เองซึ่งจำเลยที่2และที่3ชอบที่จะทำได้และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่2และที่3ปฏิบัติตามคำขอข้อ(3)ของโจทก์เพราะคำขอบังคับตามข้อ(2)และข้อ(3)เป็นคำขอต่อเนื่องกันอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้ทางและการละเมิดสิทธิในที่ดิน การติดตั้งประตูและการใช้ทางส่วนบุคคล
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 20, 22 และ 24 โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร 33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร 35 ที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 และโฉนดเลขที่ 2022 อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร 35ที่พิพาท และทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่ 20 แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร 35 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเพื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อ คือข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1เมษายน 2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3) ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดที่ดิน การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 20,22 และ 24 โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร 33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร 35ที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 และโฉนดเลขที่ 2022 อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร 35 ที่พิพาท และทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่ 20แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร 35 ของโจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเมื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 จำเลยที่ 3จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อคือ ข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1 เมษายน2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2และที่ 3 ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3)ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีชั่วคราวรอผลคดีมรดก: ศาลมีดุลพินิจชอบธรรมเพื่อความยุติธรรม
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่ง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรม คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนี้ หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี การบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป และหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้ว การบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์ อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย และการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา292 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีรอผลคดีมรดก: ปัญหาความขัดแย้งคำพิพากษาและผลกระทบต่อคู่ความ
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่ง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรม คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนี้หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี การบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป และหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้ว การบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์ อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายและการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีมรดก: งดบังคับคดีชั่วคราวเพื่อรอผลคดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในมรดกที่ยังไม่ยุติ
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยที่1กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมคดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังนี้หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีการบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปและหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้วการบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายและการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีจึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้าต้องมีข้อตกลงโดยตรงกับผู้ขาย ไม่ใช่ผ่านบุคคลอื่น
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา845และ846แสดงให้เห็นว่าสัญญานายหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการตกลงกันระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะทำสัญญากับบุคคลที่จะทำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาที่เรียกว่านายหน้าเมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่เคยรู้จักจำเลยพ. น้องจำเลยเป็นผู้ติดต่อขอให้โจทก์ช่วยเสนอขายที่ดินของจำเลยโดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจากพ. พ. ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จำเลยจะให้ในอัตราร้อยละ3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้นพ. จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ2ส่วนพ. จะเอาไว้ร้อยละ1โจทก์ไม่เคยตกลงเรื่องค่านายหน้ากับจำเลยในวันทำสัญญาจะซื้อขายโจทก์ได้รับเงินค่านายหน้าจากพ. และในวันที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยกับจ. โจทก์ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินจ. เป็นคนรับเงินค่านายหน้าไว้แทนโจทก์200,000บาทและบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อพ. แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จ.มาซื้อที่ดินจำเลยแม้โจทก์ตกลงร่วมกับพ. ทำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้จ. เข้าทำสัญญากับจำเลยหรือจัดการให้จ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจากพ. ก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับพ. เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ร่วมกับพ.ทำหน้าที่ชี้ช่องให้จำเลยกับจ. เข้าทำสัญญากันแล้วโจทก์ย่อมไม่ใช่นายหน้าของจำเลยโจทก์ได้รับแบ่งค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้จากพ. และจ. มาบางส่วนก็เป็นเพราะเหตุที่มีข้อตกลงกันไว้ระหว่างโจทก์กับพ. และจ.แต่โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับเรียกเอาค่านายหน้าจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้าต้องมีข้อตกลงโดยตรงกับจำเลย แม้มีส่วนแบ่งค่านายหน้าจากผู้อื่นก็ไม่ผูกพันจำเลย
สัญญานายหน้าจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการตกลงกันระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะทำสัญญากับบุคคลที่จะทำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาที่เรียกว่านายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา845และมาตรา846โจทก์ไม่เคยรู้จักจำเลยพ. น้องจำเลยเป็นผู้ติดต่อขอให้โจทก์ช่วยเสนอขายที่ดินของจำเลยโดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจากพ. โดยพ. ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จำเลยจะให้ในอัตราร้อยละ3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้นพ. จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ2ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยกับจ. โจทก์ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินจ.เป็นคนรับเงินค่านายหน้าไว้แทนโจทก์200,000บาทและบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อพ. แสดงให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จ. มาซื้อที่ดินจำเลยการที่โจทก์ตกลงร่วมกับพ. ทำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้จ. เข้าทำสัญญากับจำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจากพ. จึงเป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับพ. เท่านั้นโจทก์ย่อมไม่ใช่นายหน้าของจำเลยเพราะเหตุไม่มีนิติสัมพันธ์ข้อตกลงต่อกันโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับเรียกเอาค่านายหน้าจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้าต้องมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างจำเลยกับนายหน้า การตกลงกับบุคคลอื่นไม่ใช่หลักฐานเพียงพอ
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 845 และ 846 แสดงให้เห็นว่า สัญญานายหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการตกลงกันระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะทำสัญญากับบุคคลที่จะทำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาที่เรียกว่านายหน้า เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่เคยรู้จักจำเลย พ.น้องจำเลยเป็นผู้ติดต่อขอให้โจทก์ช่วยเสนอขายที่ดินของจำเลย โดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจาก พ. พ.ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จำเลยจะให้ในอัตราร้อยละ 3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้น พ.จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ 2 ส่วน พ.จะเอาไว้ร้อยละ 1 โจทก์ไม่เคยตกลงเรื่องค่านายหน้ากับจำเลยในวันทำสัญญาจะซื้อขายโจทก์ได้รับเงินค่านายหน้าจาก พ. และในวันที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยกับ จ.โจทก์ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดิน จ.เป็นคนรับเงินค่านายหน้าไว้แทนโจทก์ 200,000 บาท และบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อ พ. แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้ จ.มาซื้อที่ดินจำเลย แม้โจทก์ตกลงร่วมกับ พ.ทำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้ จ.เข้าทำสัญญากับจำเลย หรือจัดการให้ จ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจาก พ. ก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ พ.เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ร่วมกับ พ.ทำหน้าที่ชี้ช่องให้จำเลยกับ จ.เข้าทำสัญญากันแล้ว โจทก์ย่อมไม่ใช่นายหน้าของจำเลย โจทก์ได้รับแบ่งค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้จาก พ.และ จ.มาบางส่วน ก็เป็นเพราะเหตุที่มีข้อตกลงกันไว้ระหว่างโจทก์กับ พ.และ จ.แต่โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับเรียกเอาค่านายหน้าจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซ้ำ: การฟ้องขอแก้ไขแบบก่อสร้างหลังศาลมีคำพิพากษาให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
โจทก์ทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนจำเลยที่2โดยผู้อำนายการเขตจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองระงับการก่อสร้างและให้โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนภายในเวลาที่กำหนดแต่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาจำเลยที่2จึงฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่22886/2532ให้โจทก์ทั้งสองดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตหากโจทก์ทั้งสองไม่แก้ไขโจทก์ทั้งสองต้องรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนออกเสียโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวในขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนแต่ผู้อำนวยการเขตไม่อนุญาตโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขแบบแปลนเช่นเดียวกันโจทก์ทั้งสองจึงมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ดังนั้นประเด็นในคดีนี้มีว่าคำสั่งของผู้อำนายการเขตและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับคำขออนุญาตแก้ไขแบบแปลนอาคารพิพาทของโจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งก็จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาคารพิพาทก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องได้หรือไม่หรือจะต้องรื้อถอนปรากฎว่าในคดีแพ่งดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่โจทก์ทั้งสองก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบเป็นการก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่หรือจะต้องรื้อถอนทั้งหมดดังนี้ประเด็นในคดีนี้ดังกล่าวจึงรวมอยู่ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่22886/2532ดังกล่าวนั้นด้วยเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีแรกไปแล้วจึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144
of 20