คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ม. 1

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติไทยของผู้เกิดในไทยภายหลังมารดาถูกถอนสัญชาติ และการโต้แย้งสิทธิโดยเจ้าพนักงาน
ง. มารดาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อพ.ศ. 2493 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2456 มาตรรา 3 (3)ต่อมา ง.ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 14 ธันวาคม 2515 แต่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยขณะเกิด ง.มารดายังคงมีสัญชาติไทยอยู่จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ที่บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา7 (1) ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์ที่ 4 และที่ 5 แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยภายหลัง ง.มารดาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยกลายเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 แล้วก็ตาม แต่ ง.เกิดในราชอาณาจักรไทยมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 กรณีของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508มาตรา 7 (3) เดิมก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมและไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ทวิ ที่แก้ไขใหม่เพราะโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีบิดาซี่งมิได้มีการสมรสกับมารดาเป็นคนสัญชาติไทย จึงไม่เข้ากรณีที่ต้องเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ยังคงมีสัญชาติไทย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับกิจการญวนอพยพ และเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยได้ขอสูติบัตรของโจทก์คืน โดยอ้างว่าเป็นคนญวนอพยพและได้จัดทำทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยเพิ่มเติมชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ ทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย และสูติบัตรกับสำเนาทะเบียนบ้านก็ระบุสัญชาติของโจทก์ว่าสัญชาติไทย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติภายหลังเกิด และผลกระทบต่อสิทธิในการได้สัญชาติ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสัญชาติไทย ถูกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติและพระราชบัญญัติบัตรประจำตัว ประชาชนเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสี่ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ และปฏิเสธไม่รับคำร้องขอของโจทก์ที่ 2ที่ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนี้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ที่ 1 เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่เกิดมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 1 จึงย่อมเป็นผู้ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดในราชอาณาจักรไทย ส่วนมารดาคือโจทก์ที่ 1 ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) เมื่อขณะที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ยังมีสัญชาติไทย มิใช่คนต่างด้าว โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงหาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญชาติ และการถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แม้จำเลยมิใช่ผู้จดแจ้งชื่อ
แม้จำเลยเพิ่งมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกิจการญวณอพยพจังหวัด อุบลราชธานี ภายหลังจากได้มีการจดแจ้งชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแล้วก็ตาม แต่ฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีสาระสำคัญขอให้จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีคนปัจจุบันถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ เพราะลงชื่อไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะมิใช่ผู้จดแจ้งชื่อโจทก์ไว้ในทะเบียน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่เคยไปติดต่อจำเลยให้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนคนญวนอพยพก่อนฟ้องโดยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การนั้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
พ. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ที่ 1คนสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศ ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ให้กำเนิดโจทก์ที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2510 ต่อมา พ.ศ. 2512 พ. และโจทก์ที่ 1 จึงได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่ใช่บุคคลที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1เพราะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา ไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1(1) (2) และ(3) ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติและการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลังถูกถอนสัญชาติไทย
โจทก์เกิดในราชอาณาจักร ไทย จึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ต้องระบุเหตุแห่งการถอนสัญชาติให้ชัดเจน
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยขอให้ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ บรรยายเหตุที่ อ.ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เนื่องจากบิดามารดาของ อ.เป็นคนต่างด้าวไว้ 3 ประการคือ เป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามข้อกล่าวหาของผู้ร้องนี้มิได้ยืนยันให้แน่นอนว่าบิดามารดาของ อ.เป็นคนต่างด้าวประเภทใด เพราะคนต่างด้าวทั้ง 3 ประเภทไม่เหมือนกัน คำร้องในข้อนี้จึงเคลือบคลุม ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง
ส่วนข้อหาที่บรรยายว่า อ.ไม่มีคุณสมบัติในด้านการศึกษา คำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่า อ.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เคลือบคลุม(อ้างคำสั่งศาลฎีกาที่1817/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากบิดามารดาจดทะเบียนสมรส แม้บิดาเป็นคนไทยและมารดาเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต
การที่จำเลยจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและมีหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนคนญวนอพยพ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งเจ็ดถูกถอนสัญชาติไทยเป็นเหตุให้นายทะเบียนคนญวนอพยพแจ้งให้โจทก์ไปทำทะเบียนประวัติคนญวนอพยพเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
บ.บิดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและเกิดบุตรคือโจทก์ในราชอาณาจักรไทย ดังนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2408 มาตรา 7 (1) (3) และมิใช่กรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้บิดาเป็นชาวต่างชาติ การสั่งให้ทำบัตรคนญวนอพยพเป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ว่า โจทก์มิใช่คนสัญชาติไทย แต่เป็นคนสัญชาติญวนและสั่งให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แม้สำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมจะมิใช่นิติบุคคล โจทก์ก็ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ครองตำแหน่งดังกล่าวซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 เกิดในราชอาณาจักรไทยและมีมารดาคือโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงเป็นคนมีสัญชาติไทย การที่ ต.คนสัญชาติญวนเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้จดแจ้งชื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ในทะเบียนบ้านญวนอพยพตามคำสั่งจำเลย มิใช่หลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 มิใช่คนสัญชาติไทย การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 แจ้งชื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งในทะเบียนบ้านญวนอพยพและให้ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยจากประกาศคณะปฏิวัติ: กรณีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายและอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งให้ปลัดเทศบาลเมือง จำเลยที่ 5 จดข้อความลงในทะเบียนบ้านว่า โจทก์ทั้งหกเป็นญวนอพยพ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 1 และปลัดกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนี้ แม้การถอนสัญชาติไทยจะเป็นผลของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มิใช่เป็นการกระทำของจำเลย แต่ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพราะจำเลยเพิกถอนสัญชาติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของนาง ด. คนสัญชาติไทย เกิดกับ อ. คนสัญชาติญวน โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 เกิดกับ ม. คนสัญชาติญวน ส่วนโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 เกิดกับ น.โจทก์ทั้งหกเกิดในราชอาณาจักรไทยและบิดาของโจทก์ทุกคนเป็นบิดาที่มิชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ โจทก์ที่ 1 ไม่ถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เพราะ อ. เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทย โดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าว ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ที่ 1 มารดาของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คนต่างด้าว และ ม. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (2) อันจะเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ถูกถอนสัญชาติไทย กรณีเช่นเดียวกับ โจทก์ที่ 3 ถึงโจทก์ที่ 6 ที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดามิได้เป็นคนต่างด้าว จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญชาติไทยสำหรับผู้เกิดในประเทศที่ถูกถอนสัญชาติ: สิทธิในการฟ้องร้อง
มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งประสงค์จะพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลมีสัญชาติไทย และให้สิทธิบุคคลผู้นั้นยื่นคำร้องต่อศาลได้ แต่กรณีของผู้ร้องไม่เคยออกไปนอกราชอาณาจักรเลยแต่อ้างว่าถูกสั่งถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ผู้ร้องจะร้องขอต่อศาลตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ หากปรากฏว่ามีผู้โต้แย้งเกี่ยวกับสัญชาติของผู้ร้อง ก็ชอบที่จะดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาทต่อผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยจากบุคคลเกิดในไทยระหว่างบิดามารดาอยู่ในไทยโดยไม่ชอบ และการกระทำของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่โจทก์ก็เกิดระหว่างที่บิดามารดาของโจทก์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและเข้ามาโดยไม่ชอบตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์จึงถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 (2) และ (3) แล้วดังนั้นการที่จำเลยจดชื่อโจทก์ลงในทะเบียนคนญวนอพยพและยึดบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้จึงเป็นการกระทำตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
of 2