คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพล สัตยาอภิธาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9148/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ฟ้องแย้งขาดสาระสำคัญหากไม่แสดงความรับผิดของผู้เอาประกันภัยต่อจำเลย
สัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก และวินาศภัยนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ คดีนี้แม้จำเลยจะฎีกาว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องของโจทก์เป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนก็ตาม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยมิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยในวินาศภัยที่เกิดขึ้นแต่อย่างใดเลย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ผู้รับประกันภัย ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9148/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งประกันภัยค้ำจุน: จำเลยต้องแสดงความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจึงจะฟ้องได้
สัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก และวินาศภัยนั้นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ คดีนี้แม้จำเลยจะฎีกาว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องของโจทก์เป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนก็ตาม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยมิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยในวินาศภัยที่เกิดขึ้นแต่อย่างใดเลย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ผู้รับประกันภัย ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: ศาลไม่อาจบังคับจำเลยจดทะเบียนแทนโจทก์
กรณีศาลพิพากษาว่าโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความมิใช่พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ จึงไม่จำต้องออกคำบังคับจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนให้แก่โจทก์ กรณีที่ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมนั้นจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำบังคับดังกล่าวเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาดและดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารออมสิน
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่่าทดแทนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดโจทก์โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด60วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ทั้งคดีไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินค่าทดแทนดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่งก่อน สัญญาซื้อขายที่ดิน1งาน50ตารางวาและสัญญาซื้อขายที่ดิน12ตารางวาโจทก์และจำเลยทำต่างวันกันและเป็นคนละฉบับต่างกันอีกทั้งคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่21พฤษภาคม2534อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนที่ดิน1งาน50ตารางวาส่วนคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่19กันยายน2534ก็อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนเฉพาะที่ดิน12ตารางวาเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากและเป็นคำอุทธรณ์ที่พ้นระยะเวลา60วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดิน1งาน50ตารางวาดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน12ตารางวาเป็นส่วนหนึ่งของคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน1งาน50ตารางวาเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น เมื่อปรากฎว่ามีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่โจทก์จึงต้องบังคับตามมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งตามมาตรา21(1)ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาออกตามมาตรา6ประกอบด้วยประการหนึ่งแต่ทั้งโจทก์และจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาคือวันที่1มกราคม2531เป็นราคาเท่าไรส่วนที่โจทก์นำสืบราคาซื้อขายที่ดินรวม68โฉนดก็ปรากฎว่าทีดินดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงใหญ่อยู่ติดถนน3ด้านคือถนนเจริญกรุงถนนสีลมและถนนศรีเวียง แต่ที่ดินของโจทก์ติดซอยธนวัฒน์ มิได้ติดถนนใหญ่ทั้งระยะเวลาที่ซื้อขายก็เป็นเวลาภายหลังและห่างจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาถึง2ปีราคาประเมินก็เพียงตารางวาละ70,000บาทจึงไม่น่าเชื่อว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ในวันที่1มกราคม2531จะเป็นตารางวาละ252,800บาทที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับค่่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ150,000บาทนั้นจึงเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21(1)ถึง(5)เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและศาลอุทธรณ์พิพากษาในตอนท้ายว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแสดงว่าศาลอุทธรณ์ยังคงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีคงที่นั้นไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามซึ่งบัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสิน ที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีเนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิค่าทดแทน, การกำหนดราคา, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด โดยโจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ ทั้งคดีไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินค่าทดแทน ดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่งก่อน
สัญญาซื้อขายที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา และสัญญาซื้อขายที่ดิน 12 ตารางวา โจทก์และจำเลยทำต่างวันกันและเป็นคนละฉบับต่างกันอีกทั้งคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2534 อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา ส่วนคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 19กันยายน 2534 ก็อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนเฉพาะที่ดิน 12 ตารางวา เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากและเป็นคำอุทธรณ์ที่พ้นระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่า คำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน 12 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน 1 งาน 50 ตารางวา เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น
เมื่อปรากฏว่ามีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนี้ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่โจทก์จึงต้องบังคับตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งตามมาตรา 21 (1) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ออกตามมาตรา 6 ประกอบด้วยประการหนึ่ง แต่ทั้งโจทก์และจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.คือวันที่ 1 มกราคม 2531เป็นราคาเท่าไร ส่วนที่โจทก์นำสืบราคาซื้อขายที่ดินรวม 68 โฉนด ก็ปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงใหญ่อยู่ติดถนน 3 ด้าน คือถนนเจริญกรุง ถนนสีลม และถนนศรีเวียง แต่ที่ดินของโจทก์ติดซอยธนวัฒน์ มิได้ติดถนนใหญ่ ทั้งระยะเวลาที่ซื้อขายก็เป็นเวลาภายหลังและห่างจากวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ถึง 2 ปี ราคาประเมินก็เพียงตารางวาละ 70,000 บาท จึงไม่น่าเชื่อว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ในวันที่ 1 มกราคม 2531 จะเป็นตารางวาละ 252,800 บาทที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 150,000 บาทนั้น จึงเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1)ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและศาลอุทธรณ์พิพากษาในตอนท้ายว่า นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าศาลอุทธรณ์ยังคงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีคงที่นั้น ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างสิทธิในการติดตามเอาคืนทรัพย์สิน
เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมมรดกย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาททันทีโจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่1โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่2ซึ่งไม่ใช่ทายาทถือได้ว่าจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกโจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความกรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา164เดิมคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินพิพาททั้งแปลงระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกเกินอำนาจของผู้จัดการมรดก เจ้าของมรดกมีสิทธิเรียกคืน
เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรม มรดกย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาททันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ทายาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 164 เดิม คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินพิพาททั้งสามแปลงระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: การนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. และผลของการยื่นคำร้องล่าช้า
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2537 ขอขยายระยะเวลามีกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้อง จึงครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตวันที่ 3 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 4กันยายน 2537 เมื่อขอขยายเวลาอีก 15 วัน จึงครบกำหนดในวันที่ 18 กันยายน2537 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: การนับระยะเวลาที่ถูกต้องและการปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่19สิงหาคม2537ขอขยายระยะเวลามีกำหนด15วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้องจึงครบกำหนดเวลาที่ได้อนุญาตวันที่3กันยายน2537ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการแม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่5กันยายน2537อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตามแต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ1ตั้งแต่วันที่4กันยายน2537เมื่อขอขยายเวลาอีก15วันจึงครบกำหนดในวันที่18กันยายน2537ซึ่งเป็นวันอาทิตย์หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่19กันยายน2537ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่20กันยายน2537จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าวกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6898/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาทำสัญญาหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264, 265, 268 วรรคสอง, 341 เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จำคุก 6 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219
จำเลยที่ 2 และผู้เสียหายทราบแล้วว่า ย.ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่ 2 ยังนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความคงมีแต่ลายพิมพ์นิ้วมือของ ย.ในช่องผู้มอบอำนาจเรียบร้อยแล้วมาบอกให้ ส. กรอกข้อความ ส.กรอกข้อความว่า ย.มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินแทน การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นการกระทำโดยพลการ เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้เสียหาย แม้เป็นการกระทำที่ตรงกับความประสงค์ของย.ก็ตาม แต่การมอบอำนาจยังไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตาย การมอบอำนาจก็สิ้นผล แต่จำเลยที่ 2 กลับทำให้การมอบอำนาจซึ่งยังมิได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความ การกระทำดังกล่าวแม้ผู้เสียหายจะไม่เสียหายแต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง
of 43