คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพล สัตยาอภิธาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6898/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกเอกสารมอบอำนาจหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต และเจตนาในการใช้เอกสารนั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264,265,268วรรคสอง,341เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา268วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุดจำคุก2ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่2มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264วรรคสองประกอบมาตรา83จำคุก6เดือนคดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219 จำเลยที่2และผู้เสียหายทราบแล้วว่าย. ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่2ยังนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความคงมีแต่ลายพิมพ์นิ้วมือของย. ในช่องผู้มอบอำนาจเรียบร้อยแล้วมาบอกให้ส. กรอกข้อความส. กรอกข้อความว่าย. มอบอำนาจให้จำเลยที่1ขายที่ดินแทนการกระทำของจำเลยที่2เป็นการกระทำโดยพลการเพื่อให้จำเลยที่1นำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้เสียหายแม้เป็นการกระทำที่ตรงกับความประสงค์ของย. ก็ตามแต่การมอบอำนาจยังไม่สมบูรณ์เมื่อผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตายการมอบอำนาจก็สิ้นผลแต่จำเลยที่2กลับทำให้การมอบอำนาจซึ่งยังมิได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความการกระทำดังกล่าวแม้ผู้เสียหายจะไม่เสียหายแต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนดังนี้การกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้นออกจากค่าทดแทนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสอง ได้กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนส่วนวรรคสี่กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่า ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแต่หากขณะที่ดินถูกเวนคืนไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 21 วรรคสี่ ออกใช้บังคับ ก็ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ หาใช่ไม่ต้องนำราคาที่สูงขึ้นมาหักออกจากค่าทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน: เจ้าหน้าที่, รัฐมนตรี, และการคำนวณค่าทดแทนเมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น
ในขณะที่ทางราชการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 อยู่ แต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวาแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531อีกต่อไป การที่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวกำหนดให้ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน เป็นการกำหนดโดยตำแหน่งหน้าที่ มิใช่เป็นการกำหนดในนามส่วนตัว ดังนั้นเมื่อขณะฟ้องคดีจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 3 เข้ารับตำแหน่งหน้าที่แทนแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
กระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 4 เป็นกระทรวงในรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 เป็นผู้กำกับดูแลงานของจำเลยที่ 4 โดยตรง เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 ก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ซึ่งหมายถึงว่ารัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 กระทำการดังกล่าวในนามจำเลยที่ 4 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ส่วนในวรรคสี่ได้กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ดังนั้น หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าว เมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มี พ.ร.ฎ.ตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน: ราคาประเมินที่ใช้คือราคา ณ วันที่เกิดข้อพิพาท ไม่ใช่ ณ วันจดทะเบียน
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ในราคาตามสัญญาจะซื้อขาย โดยให้จำเลยเป็นฝ่ายชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่เกี่ยวกับราคาซื้อขายตามบัญชีกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน (ราคาประเมิน)ที่กำหนดไว้สำหรับที่ดินนั้น โดยให้โจทก์และจำเลยชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่เกินจากราคาประเมินฝ่ายละครึ่ง ซึ่งราคาประเมินตามคำพิพากษาหมายถึงราคาประเมินที่ใช้อยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทเนื่องจากเป็นวันที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะโอนที่ดินกันแต่ต่างโต้แย้งการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ราคาเกินจากราคาประเมิน จึงทำให้เกิดข้อพิพาทขึ้น หาใช่เป็นราคาประเมินในขณะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทในภายหลังไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: ราคาประเมินที่ใช้คือราคา ณ วันเกิดข้อพิพาท ไม่ใช่วันจดทะเบียน
โจทก์จำเลยพิพาทกันโดยตรงว่าโจทก์หรือจำเลยจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการโอนค่าอากรแสตมป์และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนขายในราคาตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกินจากราคาประเมินที่ออกกันฝ่ายละครึ่งโดยโจทก์จำเลยตกลงไปจดทะเบียนโอนขายกันที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ในวันที่26ตุลาคม2532เมื่อถึงวันนัดไม่อาจจดทะเบียนโอนขายกันได้เนื่องจากโจทก์จำเลยต่างโต้แย้งการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ราคาเกินจากราคาประเมินจึงเกิดข้อพิพาทกันดังกล่าวดังนี้ราคาประเมินตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองนั้นย่อมมีความหมายถึงราคาประเมินที่ใช้อยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทเมื่อวันที่36ตุลาคม2532หาใช่มีความหมายถึงราคาประเมินในขณะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่28กันยายน2537ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: ราคาประเมิน ณ วันเกิดข้อพิพาทสำคัญกว่าวันจดทะเบียน
โจทก์จำเลยพิพาทกันโดยตรงว่าโจทก์หรือจำเลยจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนขายในราคาตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกินจากราคาประเมินที่ออกกันฝ่ายละครึ่ง โดยโจทก์จำเลยตกลงไปจดทะเบียนโอนขายกันที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี ในวันที่ 26 ตุลาคม2532 เมื่อถึงวันนัดไม่อาจจดทะเบียนโอนขายกันได้เนื่องจากโจทก์จำเลยต่างโต้แย้งการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ราคาเกินจากราคาประเมินจึงเกิดข้อพิพาทกันดังกล่าว ดังนี้ราคาประเมินตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองนั้นย่อมมีความหมายถึงราคาประเมินที่ใช้อยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2532 หาใช่มีความหมายถึงราคาประเมินในขณะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2537 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตที่ดิน: ขอบเขตอำนาจฟ้อง
หลุมส้วมอันเป็นหลุมหรือบ่อสำหรับรับน้ำโสโครกจากห้องน้ำและส้วมที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในระยะ 2 เมตร จากแนวเขตที่ดินของโจทก์ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1342 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนหรือกลบถังส้วมและหลุมรับน้ำโสโครกนั้นได้ แต่ไม่อาจจะบังคับให้รื้อถอนห้องน้ำได้ เพราะการปลูกสร้างห้องน้ำมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1342 ดังกล่าว และขณะฟ้องคดีอาคารที่จำเลยปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ยังไม่มีผู้ใดใช้ห้องน้ำและส้วมดังกล่าวโจทก์จึงไม่เสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการติดตั้งสิ่งปฏิกูล การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ขัดต่อกฎหมาย
หลุมส้วมอันเป็นหลุมหรือบ่อสำหรับรับน้ำโสโครกจากห้องน้ำและส้วมที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในระยะ2เมตรจากแนวเขตที่ดินของโจทก์ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1342วรรคหนึ่งโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนหรือกลบถังส้วมและหลุมรับน้ำโสโครกนั้นได้แต่ไม่อาจจะบังคับให้รื้อถอนห้องน้ำได้เพราะการปลูกสร้างห้องน้ำมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา1342ดังกล่าวและขณะฟ้องคดีอาคารที่จำเลยปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จยังไม่มีผู้ใดใช้ห้องน้ำและส้วมดังกล่าวโจทก์จึงไม่เสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากรู้ถึงภาวะปูนซีเมนต์ขาดแคลนก่อนทำสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2532 เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการ จำเลยและผู้รับเหมาของจำเลย ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดี โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2533 เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน 24 เดือน เช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด แต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายใน24 เดือน นับแต่วันทำสัญญา คือภายในวันที่ 9 เมษายน 2535 โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535 ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ 13 วัน และในเดือนมีนาคม 2535 นั้น จำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี 8 เดือน ดังนั้น แม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุดล่าช้า: เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนมิอาจใช้แก้ตัวได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี2532เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการจำเลยและผู้รับเหมาของจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดีโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่9เมษายน2533เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน24เดือนเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิดแต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้วจำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารขุดให้เสร็จภายใน24เดือนนับแต่วันทำสัญญาคือภายในวันที่9เมษายน2535โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่27มีนาคม2535ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ13วันและในเดือนมีนาคม2535นั้นจำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน2536ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ1ปี8เดือนดังนั้นแม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที
of 43