คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพล สัตยาอภิธาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6222/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดเวลา 1 ปี หลังรัฐมนตรีวินิจฉัย หรือพ้น 60 วันจากวันรับอุทธรณ์
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่พอใจในค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดและใช้สิทธิอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25แล้วหากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือวินิจฉัยเสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจะต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา60วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินประมูลเมื่อการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย เงินดังกล่าวไม่ใช่สิทธิของผู้ซื้ออีกต่อไป
เงินที่ผู้ซื้อทรัพย์วางต่อศาลชั้นต้นในวันประมูลซื้อทรัพย์ได้นั้นเป็นเงินที่ผู้ซื้อทรัพย์ใช้ราคาทรัพย์ที่ประมูลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา515เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้วนับแต่วันที่ผู้ซื้อทรัพย์วางต่อศาลแม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตามแต่ผลที่สุดศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาว่าการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายเมื่อได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อทรัพย์แล้วเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ใช้ราคาทรัพย์ในวันที่วางเงินต่อศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อคดีไม่ถึงที่สุดเงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่กลับมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินวางประมูล: โอนเมื่อวางเงิน, ไม่กลับคืนแม้เพิกถอนการขายทอดตลาด
เงินที่ผู้ซื้อทรัพย์วางต่อศาลชั้นต้นในวันประมูลซื้อทรัพย์ได้นั้นเป็นเงินที่ผู้ซื้อทรัพย์ใช้ราคาทรัพย์ที่ประมูลได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 515 เงินจำเนวนดังกล่าวจึงไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้ว นับแต่วันที่ผู้ซื้อทรัพย์วางต่อศาล แม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่ผลที่สุดศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาว่า การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายเมื่อได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อทรัพย์แล้ว เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ใช้ราคาทรัพย์ในวันที่วางเงินต่อศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เมื่อคดีไม่ถึงที่สุดเงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่กลับมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประมูลซื้อทรัพย์ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ผู้ซื้อ แม้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดภายหลัง
เงินที่ผู้ซื้อทรัพย์วางต่อศาลในวันประมูลซื้อทรัพย์เป็นเงินที่ผู้ซื้อทรัพย์ใช้ราคาทรัพย์ที่ประมูลได้จึงไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์นับแต่วันที่วางเงินต่อศาล ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายกำหนด และสิทธิในการอุทธรณ์การประเมินภาษี แม้มีการทำบันทึกยินยอมชำระภาษี
การจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.03.3 หรือภ.พ.03.5ภายในวันที่31มกราคม2535เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบภ.พ.03.5 ในวันที่ 31 มกราคม 2535 โจทก์จึงได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาแล้วดังนั้น แม้โจทก์ทำบันทึกขอลดเบี้ยปรับ บันทึกยินยอมชำระภาษีอากรหรือขอผ่อนชำระภาษีอากรให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็คงมีอำนาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามเงื่อนไขที่กำหนด และสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยภาษี
การจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.03.3หรือ ภ.พ.03.5 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2535 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบ ภ.พ.03.5 ในวันที่ 31 มกราคม 2535 โจทก์จึงได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์ทำบันทึกขอลดเบี้ยปรับ บันทึกยินยอมชำระภาษีอากรหรือขอผ่อนชำระภาษีอากรให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็คงมีอำนาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งเดิมต่อคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลอุทธรณ์เคยมีไว้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฎว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่นั้นศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นผลก็คือโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยผู้ขอคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264เป็นฝ่ายชนะคดีและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาย่อมเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามมาตรา264วรรคสองประกอบมาตรา260(1)จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไปศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว: การจำหน่ายคดี
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่นั้น ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น ผลก็คือโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยผู้ขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 เป็นฝ่ายชนะคดีและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาย่อมเป็นอันยกเลิกไปในตัว ตามมาตรา 264 วรรคสอง ประกอบมาตรา 260 (1)จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเพื่อหักกลบลบกับค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
จำเลยที่1ที่2มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนในเวลาอันควรจำเลยที่2เพิ่งมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯพ.ศ.2516และเพิ่งพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนในปี2531ดังนั้นการที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนโดยพิจารณาในปีพ.ศ.2511เป็นเกณฑ์ย่อมไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งตอนท้ายและยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521มาตรา33วรรคสามแต่ต้องพิจารณาจากราคาที่ดินในปี2531 แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนก็ตามแต่คณะกรรมการย่อมชอบที่จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมเหตุสมผลที่วิญญูชนจะพึงพิจารณาได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 การที่จะพิจารณาว่ามีที่ดินเหลือจากการเวนคืนเพื่อหักค่าทดแทนนั้นย่อมต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดตามโฉนดที่มีอยู่ในขณะมีการเวนคืนไม่ใช่กรณีเกิดขึ้นภายหลังการเวนคืนแม้ภายหลังจะได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยและโอนไปแล้วก็ยังถือเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่เป็นธรรม โดยพิจารณาจากราคาตลาดปัจจุบัน และหักค่าที่ดินเหลือจากการเวนคืน
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์.....พ.ศ.2516 เพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของ ส.ที่ถูกเวนคืนให้ ส.ทราบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2534 และได้มีการฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2535 การกำหนดราคาค่าทดแทนเบื้องต้นจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ ส.ของคณะกรรมการฯจึงต้องพิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของ ส.เป็นการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก และตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนครพ.ศ.2506 และ พ.ศ.2511 ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2506 สิ้นอายุและได้มีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์.....พ.ศ.2511 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 16 ตุลาคม 2511 เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์..... พ.ศ.2516 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์..... พ.ศ.2511 คือวันที่16 ตุลาคม 2511 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ได้ความต่อไปว่าหลังจากที่ได้มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์....พ.ศ.2516ใช้บังคับแล้ว ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ก็มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ ส.ในเวลาอันควรและจำเลยที่ 2 เพิ่งจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์..... พ.ศ.2516 และคณะกรรมการดังกล่าวเพิ่งจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ ส.ในปี 2531 เช่นนี้ ย่อมทำให้ส.ได้รับความเสียหายและเป็นระยะเวลาล่วงเลยหลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์.....พ.ศ.2516 ใช้บังคับแล้วนานเกินสมควร การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้โดยพิจารณาราคาที่ดินในปี พ.ศ.2511เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นย่อมไม่เป็นธรรมแก่ ส.ไม่ถูกต้องตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่งตอนท้าย และยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรค 3 ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของ ส.ที่ถูกเวนคืนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่รวมทั้งราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น ในปี 2531 ซึ่งเป็นปีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงค์.....พ.ศ.2516 และเป็นปีที่คณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเงินค่าทดแทน จึงจะเป็นธรรมแก่ ส.ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21ต่างมีเจตนารมณ์ที่จะให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและราคาที่สูงขึ้นนั้นเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้ แม้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสี่ ซึ่งใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคดีนี้ จะบัญญัติให้การคำนวณอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาและไม่มีพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนก็ตาม แต่คณะกรรมการฯย่อมชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนได้ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ 2530 ทั้งนี้โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมเหตุสมผลและที่วิญญูชนจะพึงพิจารณา ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการได้เปรียบต่อรัฐและมิให้เอกชนเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วนได้ประโยชน์เกินสมควรอันไม่เป็นธรรมแก่สังคม
การที่จะพิจารณาว่ามีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดตามโฉนดของ ส.ที่มีอยู่ในขณะมีการดำเนินการเวนคืนไม่ใช่กรณีเกิดขึ้นภายหลังการเวนคืน แม้ภายหลัง ส.จะได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยและโอนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่บุตรก็ยังถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน และนำที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนเพื่อตัดถนนและทำระบบระบายน้ำมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนได้
of 43