พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมฟ้องแย้งอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ
จำเลยในคดีนี้เคยฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งธนบุรีซึ่งโจทก์ในคดีนี้ได้ให้การและฟ้องแย้งในคดีดังกล่าวแต่ศาลแพ่งธนบุรีเห็นว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ได้มาฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อคำฟ้องคดีนี้กับฟ้องแย้งในคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกันและฟ้องแย้งในคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คำฟ้องในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสองแม้ว่าศาลในคดีก่อนจะยังไม่ได้มีคำสั่งรับฟ้องแย้งก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเรื่องเดียวกันระหว่างโจทก์-จำเลย แม้ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง ก็ถือเป็นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา
เดิมจำเลยในคดีนี้เคยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งธนบุรีอ้างว่าจำเลยซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์ขออาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้อาศัยอีกแจ้งให้ออกขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย โจทก์ได้ให้การและฟ้องแย้งว่าสัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางโจทก์โอนบ้านและที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อเป็นการประกันหนี้เงินกู้ขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ ศาลแพ่งธนบุรีเห็นว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งและพิพากษาให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาท โจทก์อุทธรณ์ ขณะที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยและให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคืนแก่โจทก์โดยอ้างว่าสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นนิติกรรมอำพราง ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง โจทก์ฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน & อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายเฉพาะ
คำฟ้องโจทก์ระบุโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่2ในฐานะผู้ว่าราชการจำเลยที่1ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฯพ.ศ.2531โดยระบุเน้นให้รู้ว่าในขณะนั้นจำเลยที่2ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจำเลยที่1คำฟ้องโจทก์มิได้บ่งบอกว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดเป็นการส่วนตัวแต่ประการใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ในฐานะผู้ว่าราชการจำเลยที่1 ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในทำเลที่เจริญการคมนาคมสะดวกสามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้การกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพียงตารางวาละ10,000บาทย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ผู้ต้องถูกเวนคืนที่ดินไปทั้งแปลงที่ศาลล่างกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มให้แก่โจทก์อีกตารางวาละ10,000บาทนับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมต่อโจทก์แล้ว เมื่อจำเลยที่1และที่2ต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามคำขอของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวมีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายพิเศษให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจะนำมาตรา224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่ป่าสงวนออกคำสั่งรื้อถอนและการดำเนินคดีอาญา การขอคุ้มครองชั่วคราว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนแก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน30วันแม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานก็เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานป่าสงวนมีอำนาจสั่งรื้อถอนและดำเนินคดีอาญาได้ โจทก์ไม่มีสิทธิห้าม
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ออกคำสั่งจังหวัด โดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอน แก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน 30 วัน แม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตาม แต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ป.ที่ดินมาตรา 9, 108, 108 ทวิ ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานออกคำสั่งรื้อถอนที่ดินบุกรุกป่าสงวน การแจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ใช่ละเมิดที่ศาลคุ้มครองชั่วคราวได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507ออกคำสั่งจังหวัดโดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอนแก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน30วันแม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตามแต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา368ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108,108ทวิฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและการระงับสิทธิ การโอนสิทธิการเช่า และความสุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การต่อว่าญาติ, การกล่าวถึงบุพการี, และการขับไล่ออกจากบ้าน ไม่ถือเป็นเหตุหย่าโดยตรง
การที่ภริยาต่อว่าญาติและเพื่อนของสามีต่อหน้าสามีว่าทำไมไม่ออกเงินค่าสุราอาหารเองบ้างและการที่ภริยากล่าวว่าตนโตมาได้เพราะพ่อแม่ชุบเลี้ยงไม่ใช่เพราะแม่ของสามียังไม่ถึงขนาดทำให้สามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงหรือเป็นการเหยียดหยามบุพการีของสามีอย่างร้ายแรงไม่เป็นเหตุหย่าตามกฎหมาย การที่ภริยาออกจากบ้านที่อยู่กินกับสามีเพราะสามีนำหญิงอื่นมาพักอาศัยในบ้านแล้วขับไล่ภริยาออกจากบ้านถือไม่ได้ว่าภริยาจงใจละทิ้งร้างสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การต่อว่า-ขับไล่ ไม่ถึงขั้นร้ายแรง/จงใจละทิ้ง
การที่ภริยาต่อว่าญาติและเพื่อนของสามีต่อหน้าสามีว่า ทำไมไม่ออกเงินค่าสุราอาหารเองบ้าง และการที่ภริยากล่าวว่า ตนโตมาได้เพราะพ่อแม่ชุบเลี้ยงไม่ใช่เพราะแม่ของสามี ยังไม่ถึงขนาดทำให้สามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงหรือเป็นการเหยียดหยามบุพการีของสามีอย่างร้ายแรงไม่เป็นเหตุหย่าตามกฎหมาย
การที่ภริยาออกจากบ้านที่อยู่กินกับสามี เพราะสามีนำหญิงอื่นมาพักอาศัยในบ้านแล้วขับไล่ภริยาออกจากบ้าน ถือไม่ได้ว่าภริยาจงใจละทิ้งร้างสามี
การที่ภริยาออกจากบ้านที่อยู่กินกับสามี เพราะสามีนำหญิงอื่นมาพักอาศัยในบ้านแล้วขับไล่ภริยาออกจากบ้าน ถือไม่ได้ว่าภริยาจงใจละทิ้งร้างสามี