พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงในคดีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และการลงโทษความผิดฐานครอบครองเพื่อขาย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้อยู่ในขณะกระทำผิดกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์เมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิน้ำหนักไม่เกิน0.500กรัมแต่ต่อมาภายหลังได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ดังกล่าวแล้วกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ตามมาตรา106ทวิน้ำหนักซึ่งได้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วไม่เกิน0.500กรัมประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)เป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดจึงต้องใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3 โจทก์มิได้นำสืบว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีน้ำหนักซึ่งได้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วมีปริมาณเท่าใดเกิน0.500กรัมตามที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิได้การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา62วรรคหนึ่ง,106วรรคหนึ่งเท่านั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา13ทวิวรรคหนึ่ง,89เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา89ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา106วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการให้การเกี่ยวกับลายมือชื่อ ทำให้ถูกดำเนินคดีอาญา ผู้ให้การและนายจ้างต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชีของจำเลยที่1ย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าบุคคลธรรมดาการที่จำเลยที่2ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็คคล้ายลายมือโจทก์ย่อมถือเป็นการยืนยันว่าลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นลายมือชื่อของโจทก์นั่นเองคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่2จึงเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์หาใช่เกิดจากดุลพินิจในการพิจารณาพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนตามลำพังไม่การกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยลงลายมือชื่อเป็นพยานพร้อมประทับตราของจำเลยที่1กำกับไว้และเบิกความตอบคำถามค้านรับว่าตนให้การในฐานะที่เป็นพนักงานของจำเลยที่1ซึ่งจำเลยที่1ก็มิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นคำให้การของจำเลยที่2ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในตำแหน่ง หน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายจากจำเลยที่1ฉะนั้นการที่จำเลยที่2ให้การต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่1จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วย การที่จำเลยที่2ได้ให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนจนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาต้องถูกออกหมายจับและถูกควบคุมตัวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เสรีภาพและชื่อเสียงของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงระยะเวลาที่โจทก์ถูกจับและถูกควบคุมตัวจนถึงได้รับการประกันตัวเป็นเวลาเพียงประมาณ5ถึง6ชั่วโมงประกอบกับหลังเกิดเหตุถูกจับแล้วโจทก์ซึ่งเป็นนักธุรกิจก็ยังได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศนักธุรกิจดีเด่นแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่2กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้นมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงนักที่โจทก์ขอค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสื่อมเสียเสรีภาพ1,000,000บาทและเกี่ยวกับชื่อเสียงอีก1,000,000บาทนั้นสูงเกินไปเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายทั้งสองส่วนนี้ให้รวม300,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องชัดเจน ระบุข้อหาและพยานหลักฐานครบถ้วน เอกสารเพิ่มเติมไม่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมสมบูรณ์
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องจึงต้องบรรยายคำร้องให้แจ้งชัดสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องรวมทั้งคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา การอ้างเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง มิใช่ส่วนหนึ่งของคำร้องคัดค้าน เมื่อคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งเป็นคำร้องที่เคลือบคลุมเอกสารดังกล่าวจึงไม่ทำให้คำร้องที่เคลือบคลุมเป็นคำร้องที่สมบูรณ์ขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฎีกาและการถอนตัวจากความเป็นผู้อนุบาล: ศาลใช้ดุลพินิจไม่อนุญาต แม้ไม่มีการคัดค้าน
จำเลยขอถอนฎีกาและขอถอนตัวจากการเป็นผู้อนุบาล ส. แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ค้าน ศาลฎีกาก็ใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา และสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาล ส.ตามความประสงค์ของจำเลยได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฎีกาและการถอนตัวจากตำแหน่งผู้อนุบาล: ศาลไม่อนุญาตถอนฎีกา แต่เห็นสมควรให้ถอนจำเลยออกจากตำแหน่งผู้อนุบาลตามความประสงค์
จำเลยขอถอนฎีกาและขอถอนตัวจากการเป็นผู้อนุบาล ส.แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ค้าน ศาลฎีกาก็ใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา และสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลส ตามความประสงค์ของจำเลยได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฎีกาและการขอถอนตัวจากตำแหน่งผู้อนุบาล ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฎีกา แต่สั่งถอนจำเลยจากตำแหน่งตามความประสงค์
จำเลยขอถอนฎีกาและขอถอนตัวจากการเป็นผู้อนุบาลส.แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ค้านศาลฎีกาก็ใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาและสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลส ตามความประสงค์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฎีกาและการถอนตัวจากตำแหน่งผู้อนุบาล ศาลอนุญาตตามความประสงค์โดยไม่ต้องวินิจฉัยฎีกา
จำเลยขอถอนฎีกาและขอถอนตัวจากการเป็นผู้อนุบาลส.แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ด้านศาลฎีกาก็ใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาและสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลส. ตามความประสงค์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือ, การชำระดอกเบี้ย, และหลักเกณฑ์การประเมินราคา
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสามและวรรคสี่กำหนดให้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงโดยคำนวณตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเป็นเรื่องให้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเป็นฝ่ายถือปฏิบัติเมื่อมีกรณีอสังหาริมทรัพย์เหลือจากการเวนคืนอันทำให้ราคาลดลงเกิดขึ้นเพื่อให้การคำนวณราคาเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันมิได้หมายความว่าหากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นไม่กำหนดราคาที่ลดลงของอสังหาริมทรัพย์เพราะไม่มีพระราชกฤษฎีกาออกมาให้กำหนดราคาแล้วผู้ที่ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงบางส่วนไม่สามารถจะเรียกเงินค่าทดแทนได้ การที่โจทก์อ้างว่าที่ดินส่วนที่เหลือมีราคาลดลงและโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นนั้นย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้ ที่ดินโจทก์ส่วนที่เหลือจำนวน351ตารางวา อยู่ด้านในไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนนี้ไม่ได้เหมือนเดิมจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าทดแทนแก่โจทก์สำหรับที่ดินส่วนที่เหลือนั้นด้วย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคท้ายบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยใน อัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร ออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ10ต่อปีคงที่จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์: ผลของการไม่ทราบคำสั่งศาลและการขอขยายเวลา
ตามฎีกาของโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดจึงขอศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป แต่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าได้วินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้ด้วยเลย คงมีแต่ศาลชั้นต้นเกษียนสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ว่า โจทก์ยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนด จึงไม่รับอุทธรณ์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่โจทก์ ดังนี้จึงเป็นฎีกาที่ซ้ำกับที่กล่าวในอุทธรณ์ อันเป็นการคัดค้านเฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้น ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องประการใดบ้าง เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2536 และโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในอุทธรณ์เพื่อมาทราบคำสั่งในวันที่ 27 เมษายน 2536 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาวันที่ 21 เมษายน 2536 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ในเบื้องต้นจึงถือได้ว่าวันที่ 27 เมษายน 2536 เป็นวันนัดที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ให้โจทก์มาฟังคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของโจทก์ และถ้าโจทก์ไม่มาก็ให้ถือว่าทราบคำสั่งดังกล่าวโดยชอบแล้วด้วย การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วได้ติดตามเพื่อทราบคำสั่งตลอดมา แต่โจทก์ไม่สามารถทราบคำสั่งได้ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลแจ้งว่าคำสั่งยังไม่ลงมาและยังหาสำนวนไม่พบ จนกระทั่งวันที่18 พฤษภาคม 2536 เจ้าพนักงานศาลหาสำนวนพบและโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โจทก์จึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดได้นั้น พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวหาใช่เป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่ แต่เป็นเพียงกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวเท่านั้นดังนี้ หากโจทก์จะไม่ให้ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 27 เมษายน 2536โจทก์ก็จะต้องขอขยายระยะเวลาที่กำหนดนัดไว้ในวันที่ 27 เมษายน 2536 ออกไปก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าวตาม มาตรา 23 แต่โจทก์หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ในวันที่ 27เมษายน 2536 แล้ว ดังนี้จึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์และมีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปได้
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2536 และโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในอุทธรณ์เพื่อมาทราบคำสั่งในวันที่ 27 เมษายน 2536 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาวันที่ 21 เมษายน 2536 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ในเบื้องต้นจึงถือได้ว่าวันที่ 27 เมษายน 2536 เป็นวันนัดที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ให้โจทก์มาฟังคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของโจทก์ และถ้าโจทก์ไม่มาก็ให้ถือว่าทราบคำสั่งดังกล่าวโดยชอบแล้วด้วย การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วได้ติดตามเพื่อทราบคำสั่งตลอดมา แต่โจทก์ไม่สามารถทราบคำสั่งได้ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลแจ้งว่าคำสั่งยังไม่ลงมาและยังหาสำนวนไม่พบ จนกระทั่งวันที่18 พฤษภาคม 2536 เจ้าพนักงานศาลหาสำนวนพบและโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โจทก์จึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดได้นั้น พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวหาใช่เป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่ แต่เป็นเพียงกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวเท่านั้นดังนี้ หากโจทก์จะไม่ให้ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 27 เมษายน 2536โจทก์ก็จะต้องขอขยายระยะเวลาที่กำหนดนัดไว้ในวันที่ 27 เมษายน 2536 ออกไปก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าวตาม มาตรา 23 แต่โจทก์หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ในวันที่ 27เมษายน 2536 แล้ว ดังนี้จึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์และมีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: เหตุสุดวิสัย vs. พฤติการณ์พิเศษ การไม่ดำเนินการขอขยายเวลาก่อนกำหนด
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วก็ได้ติดตามเพื่อทราบคำสั่งตลอดมาแต่ไม่สามารถทราบคำสั่งได้เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลแจ้งว่าคำสั่งยังไม่ลงมาและยังหาสำนวนไม่พบโจทก์จึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดได้กรณีมีเหตุสุดวิสัยเห็นว่าพฤติการณ์ตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวหาใช่เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่แต่เป็นเพียงกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้นเมื่อโจทก์มิได้ขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ศาลจึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้