คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพล สัตยาอภิธาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: เหตุสุดวิสัย vs. พฤติการณ์พิเศษ การไม่ดำเนินการขอขยายเวลาก่อนกำหนด
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วก็ได้ติดตามเพื่อทราบคำสั่งตลอดมาแต่ไม่สามารถทราบคำสั่งได้เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลแจ้งว่าคำสั่งยังไม่ลงมาและยังหาสำนวนไม่พบโจทก์จึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดได้กรณีมีเหตุสุดวิสัยเห็นว่าพฤติการณ์ตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวหาใช่เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่แต่เป็นเพียงกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้นเมื่อโจทก์มิได้ขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ศาลจึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองการชำระเงินไม่ถือเป็นการยอมรับว่าจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินงานที่เหลือต่อไป โดยชำระค่าจ้างล่วงหน้าจำนวน 500,000 บาท จำเลยให้การว่าไม่เคยตกลงว่าจ้างโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ ฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยรับว่าชำระค่าจ้างล่วงหน้าจำนวน500,000 บาท แก่โจทก์ คงถือได้เพียงว่าจำเลยรับว่าจำเลยชำระเงิน 500,000บาท แก่โจทก์เท่านั้น แต่ไม่ใช่ค่าจ้างล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: พิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับที่สาธารณสมบัติ, การคำนวณทุนทรัพย์ในคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ของโจทก์จำนวน 45 ไร่ และเรียกค่าเสียหายอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้รับยกให้จากบิดา ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จำเลยให้การว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินดังกล่าว คดีจึงมีประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท หาใช่มีทุนทรัพย์เพียงเท่าค่าเสียหายจำนวน 20,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามโจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ.มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ, การให้สัตยาบัน, ดอกเบี้ยสัญญาเช่าซื้อ, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์มอบอำนาจให้จ. เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อต่างๆแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจได้เมื่อวันที่31ธันวาคม2531จำเลยที่1ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์สาขาชัยนาทโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวันดังกล่าวจำเลยที่1ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวต่อมาวันที่2มกราคม2532ป. ผู้จัดการฝ่ายขายของโจทก์สาขาชัยนาทได้จัดส่งสัญญาดังกล่าวไปให้จ. ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานครลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์เรียบร้อยแล้วแม้จ. เพิ่งลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อหลังจากวันที่31ธันวาคม2531ก็ตามแต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้ทักท้วงและในการลงชื่อของจ. ก็มีตราบริษัทโจทก์ประทับทั้งยังมีการชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์หลายงวดและโจทก์รับค่าเช่าซื้อดังกล่าวไว้ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การลงชื่อของจ. ในสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคหนึ่งจึงมีผลเสมือนว่าจ. ได้รับมอบหมายให้ลงชื่อแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นดังนี้สัญญาเช่าซื้อจึงมีคู่สัญญาลงชื่อครบถ้วนไม่เป็นโมฆะโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกันการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปีในจำนวน48คือ4ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใดบวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระจากนั้นเอา4ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตามก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบหาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อ
โจทก์มอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อต่าง ๆแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจได้ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์ สาขาชัยนาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวต่อมาวันที่ 2 มกราคม 2532 ป.ผู้จัดการฝ่ายขายของโจทก์ สาขาชัยนาท ได้จัดส่งสัญญาดังกล่าวไปให้ จ.ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์เรียบร้อยแล้ว แม้ จ.เพิ่งลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2531 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้ทักท้วง และในการลงชื่อของ จ.ก็มีตราบริษัทโจทก์ประทับ ทั้งยังมีการชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์หลายงวดและโจทก์รับค่าเช่าซื้อดังกล่าวไว้ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การลงชื่อของ จ.ในสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จึงมีผลเสมือนว่า จ.ได้รับมอบหมายให้ลงชื่อแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น ดังนี้สัญญาเช่าซื้อจึงมีคู่สัญญาลงชื่อครบถ้วน ไม่เป็นโมฆะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้ และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในจำนวน 48 งวด คือ 4 ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใด บวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จากนั้นเอา 4 ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตาม ก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การประเมินรายได้จากหนังสือคืน, ค่าใช้จ่ายรถยนต์, และการคืนเงินวางชำระ
บัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภท 1 ชนิด 6 กำหนดให้รายรับที่ได้จากการขายสมุด เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ ผู้ขายทอดแรกต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ส่วนข้อยกเว้นตามมาตรา 79 ตรี(7)กำหนดให้รายรับจากการขายหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวสารที่จำหน่ายแก่สาธารณชน ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า หนังสือนิตยสารสาวสยามของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นนวนิยาย มากกว่าข่าวสารจึงมิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสาร ไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 79 ตรี(7) โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 6 บัญชีคุมสินค้าของโจทก์มิได้ระบุว่ามีหนังสือคงเหลือ การที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์เพิ่มโดยถือว่าโจทก์รับหนังสือที่เหลือจากการขายคืนมาเป็นจำนวนร้อยละ 20 และขายได้กิโลกรัมละ 1 บาท โดยอาศัยตัวเลขจากถ้อยคำของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ได้ให้ไว้ในชั้นไต่สวน จึงชอบด้วยกฎหมาย หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่ แม้ทะเบียนรถยนต์จะระบุว่าโจทก์เพิ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2525 แต่หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2520รายจ่ายที่เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทนับแต่วันดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเอง ตามมาตรา 65 ตรี ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ในข้อที่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ และไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเมื่ออุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 จึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคำสั่งศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีเงินได้นิติบุคคล การประเมินรายได้จากการขายหนังสือ การหักค่าใช้จ่ายรถยนต์ และการคืนเงินวาง
บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท1ชนิด6กำหนดให้รายรับที่ได้จากการขายสมุดเอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ผู้ขายทอดแรกต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ1.5ส่วนข้อยกเว้นตามมาตรา79ตรี(7)กำหนดให้รายรับจากการขายหนังสือพิมพ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวสารที่จำหน่ายแก่สาธารณชนไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าหนังสือนิตยสารสาวสยามของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นนวนิยายมากกว่าข่าวสารจึงมิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา79ตรี(7)โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าประเภท1ชนิด6 บัญชีคุมสินค้าของโจทก์มิได้ระบุว่ามีหนังสือคงเหลือการที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์เพิ่มโดยถือว่าโจทก์รับหนังสือที่เหลือจากการขายคืนมาเป็นจำนวนร้อยละ20และขายได้กิโลกรัมละ1บาทโดยอาศัยตัวเลขจากถ้อยคำของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ได้ให้ไว้ในชั้นไต่สวนจึงชอบด้วยกฎหมาย หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่แม้ทะเบียนรถยนต์จะระบุว่าโจทก์เพิ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ตั้งแต่วันที่15ธันวาคม2525แต่หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทตั้งแต่วันที่19มกราคม2520รายจ่ายที่เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทนับแต่วันดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองตามมาตรา65ตรี ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อที่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงโดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเมื่ออุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา25จึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคำสั่งศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีหนังสือ, ค่าใช้จ่ายรถยนต์, และการไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
หนังสือนิตยสารของโจทก์มิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารแต่กลับมีเนื้อหาที่เป็นนวนิยายมากกว่าข่าวสาร จึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 79 ตรี (7) โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 6
หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่ แม้ทะเบียนรถยนต์ระบุวันเดือนปีที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองไว้ก็หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวมิใช่รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
ศาลภาษีอากรกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์บางข้อโดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยังไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อศาลฎีกาตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ข้อดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25กรณีจึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การได้มาโดยครอบครอง & บุคคลภายนอกฟ้องแย้งสิทธิ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ยังผูกพันอยู่ แต่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งให้ พ. ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวโดยการครอบครองเช่นเดียวกันและสำนักงานที่ดินได้ออกใบแทนโฉนดให้แล้วก่อนที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์คดีนี้ คำสั่งศาลดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจเพิกถอนได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าไม่ต้องจดทะเบียนให้ผู้ใด ให้คู่กรณีไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ไม่เป็นการแก้หรือกลับ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง การที่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามสิทธิของตนเนื่องจากพ. ผู้ร้องในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก่อนอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงเป็นบุคคลภายนอกมีอำนาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่า พ.ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) จึงชอบที่เสนอคดีต่อศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทไม่อาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: บุคคลภายนอกพิสูจน์สิทธิได้เหนือผู้ที่ได้สิทธิครอบครองก่อนจากคำสั่งศาล
การที่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามสิทธิของตนเนื่องจาก พ. ผู้ร้องในคดีแพ่งแดงที่211/2528ของศาลชั้นต้นจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก่อนอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงเป็นบุคคลภายนอกมีอำนาจพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่า พ. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)จึงชอบที่เสนอคดีต่อศาลอย่าง คดีมีข้อพิพาทไม่อาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องในคดีนี้ได้
of 43