คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพล สัตยาอภิธาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินเมื่อมีคำสั่งศาลขัดแย้ง: การโต้แย้งสิทธิของบุคคลภายนอกและการจดทะเบียน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ยังผูกพันอยู่แต่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งให้พ.ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวโดยการครอบครองเช่นเดียวกันและสำนักงานที่ดินได้ออกใบแทนโฉนดให้แล้วก่อนที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์คดีนี้คำสั่งศาลดังกล่าวถึงที่สุดแล้วไม่อาจเพิกถอนได้ไม่อาจเพิกถอนได้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าไม่ต้องจดทะเบียนให้ผู้ใดให้คู่กรณีไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไปไม่เป็นการแก้หรือกลับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองการที่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามสิทธิของตนเนื่องจากพ.ผู้ร้องในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก่อนอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงเป็นบุคคลภายนอกมีอำนาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าพ.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)จึงชอบที่เสนอคดีต่อศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทไม่อาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: เสพยาขณะขับรถ และการวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยศาลได้แม้ไม่มีคู่ความอ้าง
จำเลยเสพ แอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ขณะที่ขับรถยนต์เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก และผลของการผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
จำเลยที่3ฟ้องจำเลยที่1และที่2ขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยครอบครองปรปักษ์จำเลยที่3กับจำเลยที่1และที่2ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่1และที่2จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่3ศาลพิพากษาคดีไปตามยอมไม่ใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งที่ดินพิพาทจึงไม่ผูกพันหรือใช้ยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)ศาลไม่จำต้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีครอบครองปรปักษ์: ศาลชอบที่จะรับคำร้องสอดเพื่อวินิจฉัยสิทธิของผู้ร้องสอด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดที่ดินบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่โฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทั้งแปลง ผู้ร้องสอดจึงมีส่วนได้เสียในคดีนี้ ดังนั้น การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ซึ่งยังอยู่ในระหว่างพิจารณาโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการร้องสอดด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องสอดของผู้ร้องสอดไว้เพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดให้ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีครอบครองปรปักษ์: ผู้มีส่วนได้เสียยื่นร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดที่ดินบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์แต่โฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทั้งแปลงผู้ร้องสอดจึงมีส่วนได้เสียในคดีนี้ดังนั้นการที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ซึ่งยังอยู่ในระหว่างพิจารณาโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการร้องสอดด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องสอดของผู้ร้องสอดไว้เพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดให้ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีครอบครองปรปักษ์: สิทธิผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิมมีส่วนได้เสียและจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง
การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองปรปักษ์โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดดังกล่าวนั้นเป็นการร้องสอดด้วยความสมัครใจเองเพราะเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: กำหนด 1 ปีนับจากวันพ้นกำหนด 60 วัน หรือวันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 4 มิถุนายน 2533และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน คือวันที่ 3สิงหาคม 2533 แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2533 โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2534 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งคือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: สิทธิฟ้องภายใน 1 ปีหลังรัฐมนตรีวินิจฉัยช้า หรือไม่วินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 4 มิถุนายน 2533 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน คือวันที่ 3 สิงหาคม 2533 แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2533 โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2534 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบ-เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืน: การนับอายุความเมื่อรัฐมนตรีวินิจฉัยช้ากว่ากำหนด และผลของประกาศ คสช.
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 ปี นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความการที่มี ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์และฟ้องคดีเวนคืน: หากพ้นกำหนด 1 ปี โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี ดังนี้เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 วันที่ 20 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 มิถุนายน 2537 จึงฟ้องหลังจากพ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีต้องวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้
of 43