พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับตามฟ้อง vs. การปฏิเสธข้อกล่าวหาในคดีหย่า: ศาลฎีกาวินิจฉัยการฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐาน
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับตามฟ้องโจทก์ในประเด็นว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันเป็นเหตุหย่าหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
คำให้การจำเลยบรรยายว่า "ข้อ 1 จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น" และ "ข้อ 3 โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัว กล่าวคือ ไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัวซึ่งเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้าน" เมื่อพิจารณาประกอบกันเห็นว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์
คำให้การจำเลยบรรยายว่า "ข้อ 1 จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น" และ "ข้อ 3 โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัว กล่าวคือ ไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัวซึ่งเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้าน" เมื่อพิจารณาประกอบกันเห็นว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ไม่ชอบ และประเด็นการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้ยกฟ้องโจทก์เฉพาะความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ข้อหาฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับร่วมกันพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น ส่วนข้อหาฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยแก้โทษเฉพาะจำเลยที่ 2 และระยะเวลาการควบคุมเพื่อฝึกอบรมของจำเลยทั้งสองโดยลดโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสี่ คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี 6 เดือน และให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำคนละ 2 ปี และขั้นสูงคนละ 3 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 ปี แต่การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยโดยส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดคนละ 3 ปี แทนการลงโทษอาญาแก่จำเลยทั้งสองนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดโทษให้จำเลยที่ 2 และแก้กำหนดระยะเวลาส่งตัวจำเลยทั้งสองไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนขั้นต่ำคนละ 2 ปี และขั้นสูงคนละ 3 ปี เป็นการพิพากษายืนในเรื่องการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และ ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไป ในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคนละ 50 บาท ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาลงโทษในความผิดฐานนี้จำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพยานโจทก์ทุกปากมีพิรุธ ทั้งลักษณะแห่งคดีนับว่าเป็นพิรุธ ควรยกประโยชน์แห่งข้อสงสัยให้แก่จำเลยทั้งสอง เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร และที่จำเลยทั้งสองฎีกา ขอให้ลงโทษต่ำกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
ตาม ป.วิ.อ. แม้จะมิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าหน้าที่หรือภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตกอยู่แก่โจทก์ แต่ตามมาตรา 158 (5) กำหนดให้คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีกับมาตรา 15 กำหนดว่า วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 กำหนดว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใด ๆ เพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน ให้หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้าง แต่ว่า (1) คู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่มีข้อโต้แย้งได้ หรือซึ่งศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว (2) ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์แต่เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวในคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสาม ทั้ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้ (คือหมวด 1 อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน) แก่?(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ?" ซึ่งบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลย่อมรู้ได้เอง ประกอบกับข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่อาจโต้แย้งได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งสองยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า นายทะเบียนอาวุธปืนย่อมไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนให้แก่จำเลยทั้งสองได้ตามบทกฎหมายข้างต้นถือได้ว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะแล้ว
ตาม ป.วิ.อ. แม้จะมิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าหน้าที่หรือภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตกอยู่แก่โจทก์ แต่ตามมาตรา 158 (5) กำหนดให้คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีกับมาตรา 15 กำหนดว่า วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 กำหนดว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใด ๆ เพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน ให้หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้าง แต่ว่า (1) คู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่มีข้อโต้แย้งได้ หรือซึ่งศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว (2) ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์แต่เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวในคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสาม ทั้ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้ (คือหมวด 1 อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน) แก่?(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ?" ซึ่งบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลย่อมรู้ได้เอง ประกอบกับข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่อาจโต้แย้งได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งสองยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า นายทะเบียนอาวุธปืนย่อมไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนให้แก่จำเลยทั้งสองได้ตามบทกฎหมายข้างต้นถือได้ว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานในคดีเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนจำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งจำคุก 1 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 7 ปี รวมจำคุก 8 ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โดยกำหนดโทษและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีจึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่งก็ตามแต่คงให้ลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยหลายประการฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานในคดีเยาวชนและครอบครัว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุก 1 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 7 ปี รวมจำคุก 8 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โดยกำหนดโทษและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีจึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่งก็ตาม แต่คงให้ลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยหลายประการฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในคดีเยาวชนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ไม่มีอำนาจอนุญาตฎีกา
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การห้ามฎีกาในคดีเยาวชนและครอบครัว แม้ผู้พิพากษาอนุญาตก็ไม่ชอบ
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผัดฟ้องต่ออัยการสูงสุดในคดีเยาวชน ส่งผลให้ศาลไม่รับฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่มีการผัดฟ้องต่อหรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุด คดีโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 53 จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับฟ้องคดีเยาวชนและครอบครัวเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผัดฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่มีการผัดฟ้องต่อหรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุดคดีโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 53 จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสที่สมบูรณ์ แม้ไม่มีตราประทับนายทะเบียน และผลของการสมรสซ้อน
แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียน ก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะ เพราะพระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัวฯ กำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้มีบทบัญญัติว่าต้องประทับตรานายทะเบียนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากมีการสมรสก่อนและไม่จดทะเบียนหย่า แม้ทะเบียนสมรสไม่มีตรานายทะเบียนก็ไม่เป็นเหตุให้โมฆะ
แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียน ก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะไม่ เพราะ พ.ร.บ.การจดทะเบียนครอบครัวฯ กำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้มีบทบัญญัติว่าต้องประทับตรานายทะเบียนแต่อย่างใด เมื่อจำเลยและ ก. จดทะเบียนสมรสในปี 2534 ขณะที่โจทก์และ ก. จดทะเบียนสมรสอยู่ก่อนแล้ว และยังมิได้มีการจดทะเบียนหย่า การสมรสระหว่างจำเลยกับ ก. จึงตกเป็นโมฆะ