พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมชู้และการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุให้เสียหายร้ายแรง
เดิมโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาจดทะเบียนสมรสกันมีบุตรด้วยกัน 1 คนต่อมาจดทะเบียนหย่าแล้วจดทะเบียนสมรสกันอีก ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์จำเลยแยกกันอยู่ โดยโจทก์กับบุตรอยู่ในประเทศไทย ส่วนจำเลยพักอาศัยอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาตามลำพัง โจทก์พาบุตรเดินทางไปเยี่ยมจำเลยตามปกติพบชายอื่นพักอาศัยอยู่ร่วมห้องกับจำเลยในอพาร์ตเมนต์ของจำเลย โจทก์จำเลยมีปากเสียงกันหลังจากนั้นประมาณ 3 ปี โจทก์พาบุตรเดินทางไปพบจำเลยเนื่องจากต้องการให้จำเลยลงชื่อให้ความยินยอมในการขายตึกแถวสินสมรส โจทก์ก็พบจำเลยพักอาศัยอยู่ร่วมห้องกับชายอื่นอีกคนหนึ่งในอพาร์ตเมนต์ของจำเลยอีก โจทก์จำเลยมีปากเสียงกันเช่นเคย เมื่อจำเลยเดินทางจากประเทศสหรัฐอเมริกามาที่ประเทศไทย จำเลยก็มากับชายอื่นและเช่าอพาร์ตเมนต์อยู่ด้วยกัน แทนที่จำเลยจะพักอยู่บ้านโจทก์ผู้เป็นสามีพฤติการณ์ของจำเลยจึงเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ทั้งเป็นการทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นภริยาอย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(2)(ก)(ข) และ (6) แม้ในระหว่างที่จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น และให้ความอุปการะเลี้ยงดูด้วยซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยก็ชอบที่จำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวเอาความกับโจทก์ตามสิทธิที่มีอยู่ กรณีหาเป็นเหตุทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์สิ้นไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับฟังคำซัดทอดผู้กระทำผิดร่วมกันได้ พยานแวดล้อมประกอบคำรับสารภาพเชื่อถือได้
แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ก็มีพยานแวดล้อม โดยได้ตรวจพบเอกสารแสดงการทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของผู้เสียหายอยู่กับพวกของจำเลย สำหรับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายนั้น ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ได้ให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์และได้ให้การถึงรายละเอียดวิธีการลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย เมื่อลักรถจักรยานยนต์ไปแล้วก็ได้นำไปให้จำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็เบิกความได้สอดคล้องกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การ ฉะนั้น เมื่อพิเคราะห์พยานแวดล้อมซึ่งสมเหตุสมผลสอดคล้องกับคำรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกับคำให้การของจำเลยที่ 3 แล้วน่าเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันลักทรัพย์ตามฟ้องจริง
ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้กระทำผิดด้วยกัน ฉะนั้นการที่ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 3 ให้การด้วยความสุจริตใจ พอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมามอบให้โดยบอกว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ลักมา จึงสามารถรับฟังประกอบการพิจารณาคดีได้
ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้กระทำผิดด้วยกัน ฉะนั้นการที่ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 3 ให้การด้วยความสุจริตใจ พอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมามอบให้โดยบอกว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ลักมา จึงสามารถรับฟังประกอบการพิจารณาคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9414/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงมีผลผูกพัน
ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูให้เพียงพอแก่อัตภาพ ถ้าไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/38 สิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์
บันทึกที่ระบุว่า โจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ ตกลงยินยอมรับเงินเพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12) ห้ามผู้ใช้อำนาจปกครองสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของผู้เยาว์เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้
บันทึกที่ระบุว่า โจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ ตกลงยินยอมรับเงินเพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12) ห้ามผู้ใช้อำนาจปกครองสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของผู้เยาว์เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9414/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูให้เพียงพอแก่อัตภาพ ถ้าหากไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 ดังนั้น สิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์ บันทึกที่ระบุว่าโจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ภ. ตกลงยินยอมรับเงินจำนวน 100,000 บาท เพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู ภ. จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอีก จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของ ภ. ผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) ซึ่งห้ามผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของผู้เยาว์เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น ไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ภ. ผู้เยาว์ ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8832/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าขาดจากกัน: การแยกกันอยู่ต้องเกิดจากความสมัครใจของผู้ถูกฟ้อง
จำเลยเป็นชาวต่างประเทศอยู่กินร่วมกับโจทก์ผู้เป็นสามี ต้องพึ่งพาอาศัยสามีเป็นสำคัญในการครองชีพ โดยอาศัยเงินที่โจทก์จ่ายให้เดือนละ 20,000 บาท เลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย และจำเลยตกลงจะยอมหย่าแต่เรียกร้องเงินเป็นจำนวนสูงถึง 40,000,000 บาท ซึ่งเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์คงไม่ตกลงด้วยก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่ประสงค์จะเลิกร้างไปจากโจทก์หรือสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์นั่นเอง ทั้งเหตุที่โจทก์จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานานก็เนื่องจากโจทก์ได้แยกออกไปอยู่กับบิดามารดาโจทก์เอง และภายหลังที่จำเลยไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เนื่องจากต้องไปดูแลรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ดังนั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1516 (4/2) อันเป็นเหตุฟ้องหย่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง และการครอบครองปรปักษ์
ป.วิ.อ.มาตรา 46 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติประการใดแล้ว จึงจะให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้นได้
คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา
วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13พฤศจิกายน 2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮเข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา
วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13พฤศจิกายน 2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮเข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การใช้พยานหลักฐานจากคดีอาญา และการครอบครองที่ดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ บัญญัติ เกี่ยวกับ การ รับฟัง ข้อเท็จจริง ของ คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ไว้ อย่าง ชัดแจ้ง ว่า ใน คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ศาล ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา และ คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา นั้น จะ ต้อง วินิจฉัย ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ ประการใด แล้ว จึง จะ ให้ คดี ส่วน แพ่ง ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม นั้น ได้ คดี นี้ คำพิพากษา ศาลฎีกา ใน คดี ส่วน อาญา ยัง มิได้ ฟัง ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ เพียงพอ ที่ จะ ถือ มา เป็น ข้อ วินิจฉัย ใน คดี ส่วน แพ่ง ได้ แต่ โจทก์ จำเลย ต่าง แถลง ไม่ติดใจ สืบพยาน และ ขอให้ ศาล ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม พยานหลักฐาน ใน คดีอาญา ศาล จึง นำ เอา ข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ จำเลย นำสืบ ใน คดีอาญา มา เป็น พยานหลักฐาน ใน คดี นี้ เพื่อ การ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ดัง ที่ คู่ความ แถลงรับ กัน ได้ โดย ไม่ ถือ ตาม ผล ใน คดีอาญา แต่ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง โดย ชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน ใน คดีอาญา วันเกิดเหตุ คือ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2531 จำเลย ใช้ รถแทรกเตอร์ และ รถ แบคโฮ เข้า ไป ไถ ขุด ที่พิพาท ถือว่า จำเลย เข้า ไป แย่ง การ ครอบครอง ที่พิพาท นับแต่ วัน ดังกล่าว เมื่อ นับ ถึง วันที่ โจทก์ ฟ้อง คือ วันที่ 13 มกราคม 2532 จึง ยัง ไม่เกิน ระยะเวลา 1 ปี นับแต่ เวลา ถูก แย่ง การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์ จึง ไม่ ขาด สิทธิ ฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการฟ้องคืนสิทธิครอบครอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติประการใดแล้ว จึงจะให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้นได้ คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยานและขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮ เข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาและฉ้อฉล โดยโจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอนแม้จำเลยมีทรัพย์สินอื่น
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากจำเลยที่ 1 และได้ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตกแต่งต่อเติมอาคารดังกล่าวด้วย โดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างเสร็จและนัดโจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ แล้ว โจทก์ไม่ไปจด-ทะเบียนรับโอนภายในกำหนดนัด จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาได้ ดังนี้แม้ว่าภายในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์จำเลยที่ 1 ก่อสร้างบ้านพิพาทแล้วก็ตาม แต่บ้านที่สร้างเสร็จแล้วนั้นเกิดความเสียหายขึ้นหลายแห่ง เช่น ผนังบ้านและตัวบ้านมีรอยแตกร้าวหลายแห่ง ใส่บานเกล็ดหน้าต่างไม่ครบ ท่อร้อยสายไฟฟ้าแตก ไม่มีแผงไฟฟ้า ยังเดินสายไฟฟ้าไม่เรียบร้อย ยังไม่ได้ติดตั้งสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ผนังบ้านบริเวณท่อส้วมเป็นรู งาน-ทาสียังไม่เรียบร้อย แม้ความเสียหายดังกล่าวแต่ละแห่งจะมิใช่สาระสำคัญของบ้านก็ตาม แต่ความเสียหายดังกล่าวก็มีหลายแห่งจนถือไม่ได้ว่าการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาและนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปขายแก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินระบุว่า ส่วนที่เหลือชำระเมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 จะมีที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ แต่เมื่อก่อสร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่ยอมรับโอน
จำเลยที่ 3 เป็นน้องภรรยาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการในนามของจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 3ซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์ดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ก่อนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินโฉนดที่พิพาท เพื่อจดทะเบียนโอนให้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในทรัพยสิทธิเท่านั้นที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเท่านั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในบุคคลสิทธิก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ด้วย
เมื่อวัตถุแห่งหนี้ในคดีนี้คือบ้านพร้อมที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นมาโอนแทนได้ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1จะมีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ก็ยังมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินระบุว่า ส่วนที่เหลือชำระเมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 จะมีที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ แต่เมื่อก่อสร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่ยอมรับโอน
จำเลยที่ 3 เป็นน้องภรรยาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการในนามของจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 3ซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์ดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ก่อนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินโฉนดที่พิพาท เพื่อจดทะเบียนโอนให้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในทรัพยสิทธิเท่านั้นที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเท่านั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในบุคคลสิทธิก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ด้วย
เมื่อวัตถุแห่งหนี้ในคดีนี้คือบ้านพร้อมที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นมาโอนแทนได้ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1จะมีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ก็ยังมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการซื้อขายฉ้อฉล: สัญญาจะซื้อจะขายก่อนการซื้อขายจริง, เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนได้แม้ลูกหนี้มีทรัพย์อื่น
บทบัญญัติว่าด้วยการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในทรัพยสิทธิเท่านั้นที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในบุคคลสิทธิย่อมร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ด้วยและเมื่อวัตถุแห่งหนี้คือบ้านพร้อมที่ดินอันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นมาโอนแทนได้ แม้ลูกหนี้จะมีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ ก็ยังทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้