พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4108/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากผู้ลงนามไม่ใช่ผู้มีอำนาจ แม้จะยอมรับประโยชน์ก็ไม่สมบูรณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง ที่กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะนั้น หมายถึงว่าเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่าย สัญญาเช่าซื้อจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อมีกรรมการของบริษัทโจทก์ลงลายชื่อในสัญญาเช่าซื้ออันไม่มีผลสมบูรณ์เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ แม้ต่อมาโจทก์จะยอมรับเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ลงชื่อเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 อันจะทำให้สัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นโมฆะกลับเป็นสัญญาเช่าซื้อที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันสามารถยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ และมีระยะเวลาฟ้องร้องหลังลูกหนี้เสียชีวิต
ผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาของลูกหนี้เพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694เมื่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อกองมรดกของลูกหนี้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญา แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทของลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญา แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทของลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย
จำเลยทั้งสองเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น หาใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในการเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่ ผู้ค้ำประกันจึงเพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 694 ดังนี้เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ ส.ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754วรรคสาม แล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ส.ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คดีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกจะต้องฟ้องร้องภายกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกสัญญาซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีไม่
คดีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกจะต้องฟ้องร้องภายกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกสัญญาซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมยกทรัพย์สินหลังทำละเมิด - การเสียเปรียบของเจ้าหนี้
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยที่ 1 กับ ฉ. จำเลยที่ 1 ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำละเมิดโจทก์แล้วและจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมยกให้ดังกล่าวได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้อง ฉ. ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นหนี้ร่วม จึงไม่ชอบที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมยกให้ในส่วนของ ฉ.ด้วย
การทำละเมิดต่อผู้อื่นเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ประเภทหนึ่งทำละเมิดวันใดหนี้ก็เกิดในวันนั้นโดยไม่จำต้องฟ้องต่อศาลก่อน เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้วนับจากวันนั้นไปหากลูกหนี้ทำนิติกรรมใดอันมีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สินก็อาจทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ โดยไม่จำต้องให้เจ้าหนี้ฟ้องต่อศาลก่อน
การทำละเมิดต่อผู้อื่นเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ประเภทหนึ่งทำละเมิดวันใดหนี้ก็เกิดในวันนั้นโดยไม่จำต้องฟ้องต่อศาลก่อน เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้วนับจากวันนั้นไปหากลูกหนี้ทำนิติกรรมใดอันมีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สินก็อาจทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ โดยไม่จำต้องให้เจ้าหนี้ฟ้องต่อศาลก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชนเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานพยายามฆ่า
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมจำคุก 7 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลามีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ฐานพาอาวุธไปในเมือง ปรับ 100 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลามีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของพยานโจทก์ขัดกันในสาระสำคัญและขาดเหตุผล ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฎีกาจำเลยมาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเนื่องจากศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นในความผิดพยายามฆ่าและโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมจำคุก 7 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยฐานพาอาวุธไปในเมืองปรับ 100 บาท ยกฟ้องข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นศาลอุทธรณ์พิพากษายืน มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดพยายามฆ่า และจำเลยมีอายุยังไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมจำคุก 7 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลามีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปีขั้นสูง 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ฐานพาอาวุธไปในเมือง ปรับ 100 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับข้อหาตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลามีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของพยานโจทก์ขัดกันในสาระสำคัญและขาดเหตุผล ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นรับฎีกาจำเลยมาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุก: คำพิพากษาไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นภูมิลำเนาตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47กำหนดภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวบทบัญญัติดังกล่าวแยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ไม่ได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินด้วยเจตนาไม่สุจริตของผู้ขายเดิมและผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อ
โจทก์รู้เห็นยินยอมในการที่ ม.นำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ม.โดยถือตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โจทก์จะอ้างว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ ม.ไม่สมบูรณ์เนื่องจากการซื้อขายครั้งก่อน ๆ ฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอน และโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) กับขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทหาได้ไม่ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943-1944/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยอาศัย น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบ โจทก์รู้เห็นยินยอม ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์รู้เห็นยินยอมในการที่น. นำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากม. โดยถือตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)โจทก์จะอ้างว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับม. ไม่สมบูรณ์เนื่องจากการซื้อขายครั้งก่อนๆฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอนและโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)กับขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทหาได้ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง