คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพล สัตยาอภิธาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน: การแปลงหนี้ใหม่ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่มีสัญญาโดยตรงกับผู้ขาย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับอ. ข้อ2วรรคสองที่กำหนดไว้ว่า"ส่วนเงินที่เหลือจำนวน6,900,000บาทผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่ผู้ขายครบถ้วนในวันที่ผู้ขายไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อหรือบุคคลอื่นที่ผู้ซื้อกำหนดเป็นผู้รับโอนแทนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณสำนักงานที่ดิน"นั้นมิได้มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยกับอ.ตกลงกันให้อ.โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใดได้เลยข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความต่อเนื่องจากวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการชำระราคาที่พิพาทว่าจะชำระกันอย่างไรเมื่อใดโดยระบุเป็นข้อตกลงไว้ว่าผู้รับโอนที่พิพาทอาจเป็นอ.ผู้ซื้อหรือหากไม่รับโอนด้วยตนเองก็จะให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับโอนแทนก็ได้คำว่า"บุคคลอื่น"จึงมีความหมายเพียงเป็นบุคคลผู้ที่จะมีชื่อในขณะที่รับโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อการซื้อขายนั้นสำเร็จสมบูรณ์แทนชื่อของผู้ซื้อที่แท้จริงเท่านั้นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทรายนี้ก็คือจำเลยกับอ. โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่าจำเลยยินยอมให้อ. โอนสิทธิการซื้อที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349วรรคสามซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา306เรื่องโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปรากฏว่าการโอนหนี้ระหว่างโจทก์กับอ. ได้ทำเป็นหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ไม่อาจใช้ยันจำเลยได้และมิใช่เป็นกรณีรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา226ส่วนการที่โจทก์ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับจ.และอ.ในการซื้อที่พิพาทเพื่อนำไปขายเอากำไรก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองจำเลยมิได้รู้เห็นหรือรู้ด้วยแต่อย่างใดถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจากอ. โจทก์มิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่อาจมีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาซื้อขาย: การแปลงหนี้และการรับช่วงสิทธิ
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับ อ. ข้อ 2 วรรคสองที่กำหนดไว้ว่า "ส่วนเงินที่เหลือจำนวน 6,900,000 บาท ผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่ผู้ขายครบถ้วนในวันที่ผู้ขายไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ หรือบุคคลอื่นที่ผู้ซื้อกำหนดเป็นผู้รับโอนแทน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน" นั้น มิได้มีข้อความใดที่แสดงว่า จำเลยกับ อ.ตกลงกันให้ อ.โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใดได้เลย ข้อความดังกล่าว เป็นเพียงข้อความต่อเนื่องจากวรรคหนึ่ง เกี่ยวกับการชำระราคาที่พิพาทว่าจะชำระกันอย่างไร เมื่อใด โดยระบุเป็นข้อตกลงไว้ว่า ผู้รับโอนที่พิพาทอาจเป็น อ.ผู้ซื้อ หรือหากไม่รับโอนด้วยตนเองก็จะให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับโอนแทนก็ได้ คำว่า "บุคคลอื่น" จึงมีความหมายเพียงเป็นบุคคลผู้ที่จะมีชื่อในขณะที่รับโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อการซื้อขายนั้นสำเร็จสมบูรณ์แทนชื่อของผู้ซื้อที่แท้จริงเท่านั้น คู่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทรายนี้ก็คือ จำเลยกับ อ.
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยยินยอมให้ อ.โอนสิทธิการซื้อที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 349 วรรคสาม ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 306 เรื่องโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปรากฏว่า การโอนหนี้ระหว่างโจทก์กับ อ.ได้ทำเป็นหนังสือ การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ ไม่อาจใช้ยันจำเลยได้ และมิใช่เป็นกรณีรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 226 ส่วนการที่โจทก์ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับ จ.และ อ.ในการซื้อที่พิพาทเพื่อนำไปขายเอากำไร ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้เป็นหุ้นส่วนกันเอง จำเลยมิได้รู้เห็นหรือรับรู้ด้วยแต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจาก อ. โจทก์มิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเมื่อจำเลยเริ่มกระทำการบนที่ดินพิพาทก่อนยื่นคำขอคุ้มครอง
คดีมีประเด็นพิพาทว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทุ่งทำเลเลี้ยงสัตว์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาโดยยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าว และตามคำฟ้องของโจทก์กับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น หากจำเลยได้ใช้ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเข้าไปปักป้ายโฆษณา ไถปรับพื้นดิน และทำการก่อสร้างในที่ดินพิพาทซึ่งแม้จะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากฟ้องคดี แต่ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี แม้โจทก์จะร้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามมิให้กระทำการใด ๆ ในที่ดินพิพาทตามคำร้องของโจทก์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 254 (2) (เดิม) ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์เองว่า จำเลยได้เข้าไปทำการบนที่ดินพิพาทของโจทก์และลงมือปรับพื้นที่ทำการก่อสร้างตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นเวลา 5 เดือนเศษ ดังนั้น การยื่นคำขอของโจทก์จึงล่วงเลยเวลาอันสมควร ทั้งหากจะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์มาใช้แก่จำเลยในคดีนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยเช่นเดียวกัน ตามพฤติการณ์ในกรณีเช่นนี้จึงยังไม่สมควรที่ศาลจะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (2)มาใช้แก่จำเลยตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องไม่ล่าช้า และคำนึงถึงความเสียหายของคู่กรณี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทห้ามจำเลยทั้งสามเกี่ยวข้อง กับให้จำเลยทั้งสามออกเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้โจทก์จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทุ่งทำเลเลี้ยงสัตว์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง ขอให้ขับไล่โจทก์ออกไป คดีจึงมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาโจทก์เป็นผู้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสามใช้ให้ หจก.ค.เข้าไปปักป้ายโฆษณาไถปรับพื้นดินทำการก่อสร้างสวน และวิทยาลัยในที่ดินพิพาท ย่อมอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามมิให้กระทำการใด ๆในที่ดินพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)แต่ปรากฎว่าโจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาล หลังจากที่จำเลยทั้งสามได้เข้าดำเนินการก่อสร้างในที่ดินพิพาทแล้ว เป็นเวลานานถึง 5 เดือนเศษ การยื่นคำขอของโจทก์จึงล่วงเลยเวลาอันสมควร ทั้งหากจะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาใช้ก็ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้งสามเช่นเดียวกัน ตามพฤติการณ์เช่นนี้จึงยังไม่สมควรที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) มาใช้แก่จำเลยทั้งสาม ในการยื่นฎีกาคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท เมื่อโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนเงินส่วนที่เกินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีครอบครองที่ดิน: พิจารณาความล่าช้าในการยื่นคำร้องและการก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย
คดีมีประเด็นพิพาทว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทุ่งทำเลเลี้ยงสัตว์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือหมู่ ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาโดยยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวและตามคำฟ้องของโจทก์กับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทดังนั้น หากจำเลยได้ใช้ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเข้าไปปักป้ายโฆษณาไถปรับพื้นดิน และทำการก่อสร้างในที่ดินพิพาทซึ่งแม้จะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากฟ้องคดี แต่ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีแม้โจทก์จะร้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามมิให้กระทำการใด ๆในที่ดินพิพาทตามคำร้องของ โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)(เดิม) ก็ตามแต่เมื่อปรากฏตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์เองว่า จำเลย ได้เข้าไปทำการบนที่ดินพิพาทของโจทก์และลงมือปรับพื้นที่ทำการก่อสร้างตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นเวลา 5 เดือนเศษดังนั้น การยื่นคำขอของโจทก์จึงล่วงเลยเวลาอันสมควร ทั้งหากจะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์มาใช้แก่จำเลย ในคดีนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยเช่นเดียวกัน ตาม พฤติการณ์ในกรณีเช่นนี้จึงยังไม่สมควรที่ศาลจะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) มาใช้แก่ จำเลยตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10224/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะค่าเสียหายตามฟ้อง ไม่ใช่ข้อต่อสู้ของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์จากโจทก์และจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ ๑ ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นเหตุให้สัญญาเช่าซื้อระงับสิ้นไปขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ หากส่งมอบคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนให้ใช้ค่าขาดประโยชน์ และค่าเสียหาย จำเลยที่ ๑ ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ ๒ ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง ฉะนั้น ประเด็นเรื่องค่าเสียหายของโจทก์มีหรือไม่เพียงใดจึงเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ดังกล่าวเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกันตามฟ้องข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองที่ว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแก่โจทก์จึงเป็นอันตกไป จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ส่วนจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเพียงใดนั้น ก็ต้องพิจารณาจากค่าเสียหายตามฟ้องโจทก์ว่าสมควรให้จำเลยทั้งสองรับผิดแก่โจทก์เพียงใด จะนำข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองมาวินิจฉัยเพื่อเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หาได้ไม่ เพราะประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้หามีไม่ ที่ศาลชั้นต้นนำมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วฟังว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย พิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9885/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทน, อัตราดอกเบี้ย, และการอุทธรณ์
ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 3 กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมทางหลวงและอธิบดีเพื่อเรียกค่าทดแทนเพิ่มได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 26วรรคแรกได้บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้มีสิทธิได้รับภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10ซึ่งโจทก์กับกรมทางหลวงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันตามมาตรา 10เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535อันเป็นวันสุดท้ายที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนฯ กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 8เมษายน 2535 และโจทก์ได้รับหนังสือของกรมทางหลวงให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2535 โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์ฉบับที่ 2 ต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535อันเป็นการอุทธรณ์ภายในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 25 วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิม และการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลไม่อนุญาต
ที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับจำนวน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิมเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นกรณีเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1)(2)ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากข้ออ้างเดิม และการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวว่าจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงพัฒนาที่ดินและนำไปขายต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ทั้งจำเลยทั้งสองจะแบ่งแยกที่ดินให้ทำถนนต่อมาโจทก์จำเลยทั้งสองและบุคคลภายนอกได้ทำบันทึกการให้ทางดังกล่าวไว้ต่างหากอีกฉบับหนึ่งด้วยแต่โจทก์ไม่สามารถพัฒนาและทำถนนให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงกันได้เนื่องจากจำเลยที่2คอยขัดขวางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายและข้อตกลงในบันทึกการให้ทางทั้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันถอนคำคัดค้านที่ให้ไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวงกับชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ซึ่งตามคำฟ้องเดิมโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดอันจะทำให้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้อีกหนึ่งเท่าตัวตามสัญญาจะซื้อขายดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิมจึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิมที่เสนอต่อศาลแต่แรกมิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา179(1)(2)ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยจึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิมและขอบเขตสัญญาซื้อขาย
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวว่าจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงพัฒนาที่ดินและนำไปขายต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งจำเลยทั้งสองจะแบ่งแยกที่ดินให้ทำถนน ต่อมาโจทก์จำเลยทั้งสองและบุคคลภายนอกได้ทำบันทึกการให้ทางดังกล่าวไว้ต่างหากอีกฉบับหนึ่งด้วย แต่โจทก์ไม่สามารถพัฒนาและทำถนนให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงกันได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 คอยขัดขวางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฎิบัติตามสัญญาจะซื้อขายและข้อตกลงในบันทึกการให้ทางทั้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันถอนคำคัดค้านที่ให้ไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวง กับชำระค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องเดิมโจทก์มิได้ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดอันจะทำให้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้อีกหนึ่งเท่าตัว ตามสัญญาจะซื้อขาย ดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิม จึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิมที่เสนอต่อศาลแต่แรก มิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 179 (1) (2) ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
of 43