พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9671/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: โจทก์มีสิทธิฟ้องการทางพิเศษฯ แม้ผู้ว่าฯ เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน
ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 6 ข้อ 13 ข้อ 15และข้อ 17 บัญญัติให้การทางพิเศษ จำเลยที่ 1 มีอำนาจซื้อจัดหา ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 โดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 1ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตดุสิตฯพ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโค่ลและสายพญาไท-ศรีนครินทร์โดยมาตรา 4 บัญญัติให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางการพิเศษการเวนคืนที่ดินพิพาทจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทของโจทก์ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบบพิมพ์อุทธรณ์ที่ใช้มีลักษณะใกล้เคียงกับแบบพิมพ์ศาล แม้ไม่ตรงทุกประการ ก็ถือเป็นอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว
แบบพิมพ์อุทธรณ์ที่จำเลยใช้มีสาระสำคัญเหมือนกับกระดาษแบบพิมพ์ที่ศาลจัดไว้ จะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อยและมิใช่สาระสำคัญ ทั้งศาลชั้นต้นก็สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่เสียให้ถูกต้อง ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีเช็ค การรับฟังพยานหลักฐาน และการฟ้องร้องที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
แบบพิมพ์อุทธรณ์ที่จำเลยใช้มีสาระสำคัญเหมือนกับกระดาษแบบพิมพ์ที่ศาลจัดไว้จะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อยและมิใช่สาระสำคัญทั้งศาลชั้นต้นก็สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่เสียให้ถูกต้องดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9479/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตและการงดเบี้ยปรับ กรณีผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
พระราชบัญญัติภาษีสรรพาสามิตพ.ศ.2527มาตรา100บัญญัติว่า"สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรให้ได้รับยกเว้นหรือคืนภาษีหรือลดอัตราภาษีตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง"ซึ่งก็คือกฎกระทรวงฉบับที9(พ.ศ.2527)และฉบับที่17(พ.ศ.2529)ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเช่นกันดังนั้นการที่โจทก์จะได้รับยกเว้นหรือคืนภาษีหรือลดอัตราภาษีนั้นโจทก์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวโจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่รู้หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงไม่ได้การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงย่อมมีผลให้โจทก์ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีและจะต้องเสียภาษีในอัตราภาษีที่ใช้บังคับในขณะที่นำสินค้าออกจากโรงงานตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวอีกด้วย หลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่13(พ.ศ.2527)ซึ่งมีข้อความระบุว่าให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบอุตสากรรมไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดีเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าที่ถูกประเมินภาษีเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งตามปกติได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้วการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงเพื่อให้ได้รับยกเว้นภาษีจนเป็นเหตุให้ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเช่นนี้ย่อมแสดงอยู่ในตัวเองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีประกอบกับในทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ขัดขวางการตรวจสอบภาษีของพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ประการใดพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดีกรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9479/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกและสิทธิประโยชน์ทางภาษี: การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพื่อการงดเว้น/ลดหย่อนภาษีและเบี้ยปรับ
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 100 บัญญัติว่า"สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรให้ได้รับยกเว้นหรือคืนภาษีหรือลดอัตราภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" ซึ่งก็คือกฎกระทรวงฉบับที่ 9(พ.ศ.2527) และฉบับที่ 17 (พ.ศ.2529) ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเช่นกัน ดังนั้นการที่โจทก์จะได้รับยกเว้นหรือคืนภาษีหรือลดอัตราภาษีนั้น โจทก์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่รู้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงไม่ได้การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎกระทรวงย่อมมีผลให้โจทก์ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีและจะต้องเสียภาษีในอัตราภาษีที่ใช้บังคับในขณะที่นำสินค้าออกจากโรงงานตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวอีกด้วย
หลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2527) ซึ่งมีข้อความระบุว่า ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าที่ถูกประเมินภาษีเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งตามปกติได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้ว การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงเพื่อให้ได้รับยกเว้นภาษีจนเป็นเหตุให้ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเช่นนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวเองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ประกอบกับในทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ขัดขวางการตรวจสอบภาษีของพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ประการใด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
หลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2527) ซึ่งมีข้อความระบุว่า ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าที่ถูกประเมินภาษีเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งตามปกติได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้ว การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงเพื่อให้ได้รับยกเว้นภาษีจนเป็นเหตุให้ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเช่นนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวเองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ประกอบกับในทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ขัดขวางการตรวจสอบภาษีของพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ประการใด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีภาษี: การส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์คำร้องภาษีโรงเรือนและที่ดินจำเลยทั้งสองประเมินให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินความเป็นจริงโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองที่สั่งให้โจทก์ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่มกับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยแต่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วให้ยกฟ้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นแต่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา10บัญญัติให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่คำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้นและเมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น ประธานศาลฎีกาเป็นผู้ชี้ขาด
ปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 10 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ และปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลฎีกา เมื่อขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีภาษีอากร – การชี้ขาดอำนาจโดยประธานศาลฎีกา
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์คำร้องภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยทั้งสองประเมินให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินความเป็นจริงโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองที่สั่งให้โจทก์ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่ม กับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยแต่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วให้ยกฟ้องเสียตาม ป.วิ.พ. จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น แต่ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา10 บัญญัติให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น และเมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9214/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีมรดก: ฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายนำที่ดิน 6 แปลง อันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสิทธิการเป็นทายาทโดยธรรม ส่วนจำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองรื้อถอนกำแพงและยุ้งข้าวออกไปจากที่ดิน พร้อมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทั้งสองไม่ยอมออกไปจากที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นของจำเลยที่ได้รับการยกให้มาจากผู้ตายก่อนแล้ว กับขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยดำเนินการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยบางส่วนตามที่โจทก์ทั้งสองได้ตกลงกับจำเลยไว้ก่อนว่าจะร่วมเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ให้แก่จำเลยในภายหลัง ดังนี้ ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสิทธิการเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองรับผิดต่อจำเลยเป็นการส่วนตัวทั้งสิ้นจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่ศาลจะรับฟ้องแย้งของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9214/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดกและการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากทายาท ศาลไม่รับฟ้องแย้งหากเป็นคนละประเด็น
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายนำที่ดิน6แปลงอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสิทธิการเป็นทายาทโดยธรรมส่วนจำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองรื้อถอนกำแพงและยุ้งข้าวออกไปจากที่ดินพร้อมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทั้งสองไม่ยอมออกไปจากที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นของจำเลยที่ได้รับการยกให้มาจากผู้ตายก่อนแล้วกับขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยดำเนินการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยบางส่วนตามที่โจทก์ทั้งสองได้ตกลงกับจำเลยไว้ก่อนว่าจะร่วมเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ให้แก่จำเลยในภายหลังดังนี้ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสิทธิการเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายแต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองรับผิดต่อจำเลยเป็นการส่วนตัวทั้งสิ้นจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่ศาลจะรับฟ้องแย้งของจำเลยได้