พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานแน่นหนา ไม่เข้าเหตุบรรเทาโทษ ฎีกาไม่รับ
โจทก์มีพยานแวดล้อมกรณีมาสืบอย่างมั่นคงปราศจากสงสัยว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบเสื้อผ้าของจำเลยที่จำเลยสวมใส่ ขณะเกิดเหตุมีคราบโลหิตมนุษย์ติดอยู่ และผลการตรวจพิสูจน์ พบรอยนิ้วมือของจำเลยที่ขาเก้าอี้ที่ใช้เป็นอาวุธตีทำร้ายผู้ตาย กับพบเส้นผมของจำเลยติดอยู่ที่คราบโลหิตตรงขาของ ผู้ตายทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังตรวจพบรอยขีดข่วนและ รอยถลอกใหม่ที่บริเวณแขนและนิ้วมือทั้งสองข้างของจำเลย จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายเพื่อปกปิด ความผิดอื่นของตน ซึ่งลำพังแต่พยานโจทก์ที่นำสืบมาก็เพียงพอ ที่จะลงโทษจำเลยได้แล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยรับสารภาพก็เพราะ เกิดจากจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่ การพิจารณาแต่อย่างใด ไม่มีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบกับพฤติการณ์ แห่งคดีมีลักษณะร้ายแรง จึงไม่สมควรลดโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีสินสอดเป็นคดีครอบครัว ต้องส่งประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
เมื่อปรากฏจากคำให้การและอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินสอดเป็นคดีครอบครัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจ ยื่นฟ้องคดีที่ศาลแขวงขอนแก่น เป็นการชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ซึ่งกำหนดถึงกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจ ศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1พิจารณาพิพากษาคดีนี้ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย บทกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นหรือไม่ ขึ้นมาสู่การพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเก็บรถยนต์ ผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินเช่นเดียวกับของตนเอง หากโจทก์ไม่พิสูจน์การกระทำของผู้รับฝาก ก็ต้องรับผิด
โจทก์นำรถยนต์จอดฝากจำเลยไว้ที่หน้าร้านของจำเลย โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากต่อมารถยนต์ของโจทก์หายไป ข้อเท็จจริง ที่โจทก์จำเลยนำสืบรับกันว่ารถยนต์ของจำเลยจอดไว้ที่หน้าร้าน ของจำเลยเป็นประจำเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยผู้รับฝาก ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินรถยนต์ของโจทก์เหมือนเช่นเคย ประพฤติในกิจการของจำเลยแล้ว โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ล็อกกุญแจ ประตูทุกบาน ล็อกเบรคและพวงมาลัยล็อกเกียร์ หรือตัดสัญญาณไฟ โดยถอดหัวเทียนรถยนต์ของจำเลยก่อนจอดรถยนต์ทิ้งไว้หรือไม่ เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติต่อรถยนต์ของโจทก์เช่นเดียวกัน จึงเป็น หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรถยนต์ของโจทก์เหมือนเช่นเคย ปฏิบัติในการดูแลรถยนต์ของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบธนาคารอย่างร้ายแรง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่า ลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลย จึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคารของจำเลย การที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่บริษัท ด.ในวงเงิน 162 ล้านบาท ก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ ส.รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน จะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัท ด.อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหายนี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับเงินอื่นตามฟ้อง และกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุฝ่าฝืนระเบียบสำคัญของธนาคาร ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่าลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่งซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลยจึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคารของจำเลย การที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่บริษัทด.ในวงเงิน 162 ล้านบาทก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ส.รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญก่อนจะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้และการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัทด.อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหายนี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อไม่การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบสำคัญของธนาคาร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่าลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลย จึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคาร ของจำเลยการที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ บริษัทด. ในวงเงิน 162 ล้านบาท ก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ส. รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน จะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลย และเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัทด. อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหาย นี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อไม่ การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือ คำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออก เงื่อนไขการจ่ายเงิน และหน้าที่ของนายจ้างเมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับ ของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับ อนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วม ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40 เพื่อตอบข้อซักถาม ของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อ ผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับ ตามระเบียบร้าน ฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณา ในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์ นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลย ถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิ จะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อ โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า "ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี 2539ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติลาออกภายใต้เงื่อนไข และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อสิทธิการรับเงินของลูกจ้าง
จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อเมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและ ข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯมีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ดังนั้น การที่ คณะกรรมการจำเลยมีมติดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามเงื่อนไขทั้งสี่ข้อต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกภายใต้เงื่อนไขและการสิ้นสุดความรับผิดชอบทางสัญญา
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40 เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม
แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"...ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี2539 ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที..." ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"...ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี2539 ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที..." ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกภายใต้เงื่อนไข และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จหลังการอนุมัติลาออก หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงดังกล่าวได้ หลังจากนั้น ค.กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการปิดบัญชีประจำปี 2539 ให้เสร็จภายในกำหนดแต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์