พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร แม้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยผิดพลาด ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน
คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ
ตามใบเตือนของจำเลยระบุแต่เพียงว่า โจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีก และหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45,47(4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำ
โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้ง และหลังจากจำเลยมีใบเตือนแล้ว โจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็น ประจำอีกทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เรื่องอื่น ๆ อีก การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วย
ในวันพิจารณา โจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำงานกับจำเลย โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริง อันเป็นการยอมรับว่าใบเตือน ดังกล่าวได้ออกโดยจำเลยแล้ว และศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มา ทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ การที่ โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่าใบเตือนดังกล่าวของจำเลยได้ออกโดยผู้มีอำนาจ หรือไม่ปรากฏ เป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบ ย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามใบเตือนของจำเลยระบุแต่เพียงว่า โจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีก และหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45,47(4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำ
โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้ง และหลังจากจำเลยมีใบเตือนแล้ว โจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็น ประจำอีกทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เรื่องอื่น ๆ อีก การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วย
ในวันพิจารณา โจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำงานกับจำเลย โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริง อันเป็นการยอมรับว่าใบเตือน ดังกล่าวได้ออกโดยจำเลยแล้ว และศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มา ทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ การที่ โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่าใบเตือนดังกล่าวของจำเลยได้ออกโดยผู้มีอำนาจ หรือไม่ปรากฏ เป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบ ย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: การกระทำที่เกินกว่าการช่วยเหลือเพื่อให้พ้นการจับกุม
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะพาจำเลยที่ 2 ผ่านหน้าบ้านผู้เสียหายไปประมาณ 300 เมตร แล้วจอดรถให้จำเลยที่ 2 กับพวกลงจากรถเดินย้อนกลับไปปล้นทรัพย์ที่บ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถอ้อมไปอีกทางไปจอดรถรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตรหลังจากจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้วได้มาขึ้นรถจำเลยที่ 1 ตามที่นัดแนะกันไว้ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถพาจำเลยที่ 2 กับพวกหลบหนีไป แต่ขณะจำเลยที่ 2 กับพวกทำการปล้นทรัพย์อยู่ที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างขับรถอ้อมมาและจอดรถห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 2 กับพวกได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายก่อนกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 86 เท่านั้น และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีอาวุธติดตัวไปด้วย จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามป.อ.มาตรา 340 วรรคสองได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จึงเป็นเพียงการใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้นจำเลยที่ 1 มิได้เป็นการใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วยแม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จึงเป็นเพียงการใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้นจำเลยที่ 1 มิได้เป็นการใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วยแม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 1 ขับรถส่งจำเลยที่ 2 ไปปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาตัดสินว่ามีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะพาจำเลยที่ 2 ผ่านหน้าบ้านผู้เสียหายไปประมาณ 300 เมตร แล้วจอดรถให้จำเลยที่ 2กับพวกลงจากรถเดินย้อนกลับไปปล้นทรัพย์ที่บ้านผู้เสียหายส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถอ้อมไปอีกทางไปจอดรถรอรับจำเลยที่ 2กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร หลังจากจำเลยที่ 2กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้วได้มาขึ้นรถจำเลยที่ 1ตามที่นัดแนะกันไว้ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถพาจำเลยที่ 2กับพวกหลบหนีไป แต่ขณะจำเลยที่ 2 กับพวกทำการปล้นทรัพย์อยู่ที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างขับรถอ้อมมาและจอดรถห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 2 กับพวกได้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายก่อนกระทำความผิด จำเลยที่ 1จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เท่านั้น และเมื่อจำเลยที่ 1ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีอาวุธติดตัวไปด้วย จึงไม่อาจ ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสองได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม มาตรา 340 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ1 กิโลเมตร จึงเป็นเพียงการใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้นจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วยแม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการสนับสนุนการปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลยที่ 1 เป็นผู้สนับสนุนฯ ลดบทลงโทษ
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะพาจำเลยที่ 2 ผ่านหน้าบ้านผู้เสียหายไปประมาณ 300 เมตร แล้วจอดรถให้จำเลยที่ 2 กับพวกลงจากรถเดินย้อนกลับไปปล้นทรัพย์ที่บ้านผู้เสียหาย ส่วน จำเลยที่ 1 ขับรถอ้อมไปอีกทางไปจอดรถรอรับจำเลยที่ 2 กับพวก ห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร หลังจากจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้วได้มาขึ้นรถจำเลยที่ 1 ตามที่ นัดแนะกันไว้ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถพาจำเลยที่ 2 กับพวก หลบหนีไปแต่ขณะจำเลยที่ 2 กับพวกทำการปล้นทรัพย์อยู่ที่ บ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างขับรถอ้อมมาและจอดรถห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 2 กับพวกได้ จึง ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียง การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการ ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายก่อนกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เท่านั้น และเมื่อจำเลยที่ 1ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีอาวุธติดตัวไปด้วย จึงไม่อาจ ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสองได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้าน ผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเพียง การใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ ใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วย แม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสีย ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ แม้จะใช้บัญชีผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้าบัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็ค เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียกเก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ทรงเช็คพิพาท: การนำเช็คเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีบุคคลอื่นไม่กระทบสิทธิการฟ้อง
การที่โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคาร แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชี ของโจทก์เองเพื่อเรียกเก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าว จึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุ ให้ศาลยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้องคดีเช็คแม้จะนำเช็คเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีบุคคลอื่น การนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างจากฟ้องไม่ถึงขนาดต้องยกฟ้อง
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้า บัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดย อาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็น ผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็คเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียก เก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็น เพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็น เหตุให้ศาลยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างสถาบันการบินพลเรือน สิทธิในการได้รับบำเหน็จเป็นสัญญาจ้างใหม่ ไม่ต่อเนื่องจากเดิม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือนจำเลยพิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสอง บัญญัติว่าการโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม และโดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับ โจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ เมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบดังกล่าวด้วย ซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้ กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงอ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 มิได้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและ ประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจาก สถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่า ที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้นหาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณ ด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิ โจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงานรัฐวิสาหกิจและสิทธิบำเหน็จ: สัญญาจ้างใหม่ไม่ต่อเนื่องจากเดิม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือนจำเลย (สบพ.) พิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสองบัญญัติว่าการโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ และเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใตบังคับของระเบียบดังกล่าวด้วยซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ด้วย โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ โจทก์จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างพ.ศ. 2519 มิได้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนไปยังสถาบันการบินพลเรือน และสิทธิในการได้รับเงินบำเหน็จ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จ จากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนฯ ครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมา ทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์ จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ เมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการ รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ ภายใต้บังคับของระเบียบดังกล่าวด้วย ซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ และเมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ จึงไม่อาจนำ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519มาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับศูนย์ฝึกการบินพลเรือนฯสิ้นสุดลงแล้ว พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือนฯมาตรา 38 วรรคหนึ่ง คงกำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนฯ ในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนฯ เป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ไม่ เมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์