คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อร่าม หุตางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลไม่รับฟ้อง แม้มีการแก้ไขหลายครั้ง โจทก์อุทธรณ์ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเพราะคำฟ้องเขียนฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจโจทก์อุทธรณ์อ้างเพียงว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งดังกล่าวและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กับอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55ศาลตัดสิทธิโจทก์ทั้งที่ทราบว่าคดียังไม่ถึงที่สุดเท่านั้นมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลแรงงานกลางว่าคำฟ้องมิได้เขียนฟุ่มเฟือยและสามารถอ่านเข้าใจได้ พร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นและจับกุมเมื่อพบของผิดกฎหมาย (ยาเสพติด) เป็นความผิดซึ่งหน้า
การค้นในคดีนี้เป็นการค้นเพื่อพบและยึดยาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดตามที่ได้รับแจ้งจากสายลับ การออกหมายค้นจึงกระทำได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 69 (2) และไม่จำต้องออกหมายจับบุคคลตามมาตรา 70 ด้วยเมื่อตรวจค้นแล้วพบว่าจำเลยมีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจจึงมีอำนาจจับจำเลยได้ตามมาตรา 78 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้นและจับกุมคดียาเสพติด: อำนาจตามหมายค้นและอำนาจจับซึ่งหน้า
การค้นในคดีนี้เป็นการค้นเพื่อพบและยึดยาเสพติดซึ่งเป็น สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดตามที่ได้รับแจ้งจากสายลับ การออกหมายค้นจึงกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 69(2) และไม่จำต้องออกหมายจับบุคคลตามมาตรา 70 ด้วย เมื่อตรวจค้นแล้วพบว่าจำเลยมีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ใน ครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจจึงมี อำนาจจับจำเลยได้ตามมาตรา 78(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับสวัสดิการพนักงาน: การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเป็นสิทธิโดยชอบธรรม หาใช่ดุลพินิจของนายจ้าง
กฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน ข้อ 2 ว่าด้วยเงินสะสมพนักงานระบุเจตนารมณ์การจัดให้มีเงินสะสมขึ้นเพื่อช่วยเหลือและเป็นหลักประกันให้เกิดความมั่นคงในอนาคตของพนักงาน ที่ลาออกหรือเกษียณอายุว่าหลังจากพ้นสภาพพนักงานด้วยเหตุ ดังกล่าวจะได้เงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินที่จะได้รับนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่หักไว้จากค่าจ้างของโจทก์ในแต่ละเดือน และอีกส่วนหนึ่งจำเลยจะต้องสมทบซึ่งต้องมอบเงินให้พนักงาน ที่ลาออกในจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกกรณีเสมอ ไม่ใช่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของจำเลยเป็นผู้พิจารณาว่า ควรจะสมทบเงินหรือควรจะมอบเงินให้หรือไม่เพราะถ้าให้อยู่ ในดุลพินิจของจำเลย ย่อมเป็นการไม่แน่นอนว่าจำเลยจะ สมทบเงินหรือจะมอบเงินให้หรือไม่ จึงไม่เป็นหลักประกัน ที่แน่นอนและไม่ก่อให้เกิดความมั่นคงในอนาคตของโจทก์ ทั้งไม่มีสวัสดิการที่จำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ตาม เจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ข้อความในกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน ข้อ 2(7)(8) ที่ระบุว่าจำเลยจะสมทบเงินหรือจะพิจารณามอบเงิน คำว่า "จะ" หมายความเพียงว่าในเวลาข้างหน้าถัดจากมีกฎระเบียบข้อบังคับ การทำงานแล้ว จำเลยจึงจะต้องปฏิบัติและจ่ายเงินตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และคำว่า "จะพิจารณา" ก็มีความหมาย เพียงว่าให้จำเลยพิจารณาก่อนว่าโจทก์ออกจากงานเนื่องจาก การกระทำความผิดหรือไม่ และถ้ามีสิทธิได้รับเงินที่จำเลย จะสมทบและจะมอบให้ โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎระเบียบข้อบังคับ การทำงานข้อใดเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของ จำเลยที่จะพิจารณาว่าควรจะสมทบเงินหรือควรจะมอบเงิน ให้โจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด, ความผิดพยายามจำหน่าย, และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อ ยาเสพติดให้โทษจากจำเลยมิได้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย มิได้ผิดศีลธรรมหรือทำนองคลองธรรม มิได้เป็นการใส่ร้าย ป้ายสีหรือยัดเยียด ความผิดให้จำเลย หากจำเลยมิได้มี ยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อสายลับ ไปขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย จำเลยย่อมไม่มียาเสพติดให้โทษ จะจำหน่ายให้แก่สายลับ ความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน รับฟังลงโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 จำเลยรับเงินจากสายลับ แล้วจำเลยไปหยิบฝิ่นมา แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบฝิ่นให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับ จำเลยเสียก่อน จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานจำหน่ายฝิ่น คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้นปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด ความผิดพยายามจำหน่าย และการพิสูจน์ความผิดโดยชอบ
การที่โจทก์ไม่ได้นำสายลับมาเบิกความ ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ให้สายลับนำเงินไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย การกระทำดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนกฎหมาย มิได้ผิดศีลธรรมหรือทำนองคลองธรรม มิได้เป็นการใส่ร้ายป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้จำเลย หากจำเลยมิได้มียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อสายลับไปขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย จำเลยย่อมไม่มียาเสพติดให้โทษจะจำหน่ายให้แก่สายลับความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมรับฟังลงโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
จำเลยรับเงินจากสายลับแล้วจำเลยไปหยิบฝิ่นมา แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบฝิ่นให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยเสียก่อนจำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานจำหน่ายฝิ่น คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด การครอบครองเพื่อจำหน่าย พยายามจำหน่าย และการใช้พยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
จำเลยรับเงินจากสายลับแล้วไปเอาถุงพลาสติกใส่เมทแอมเฟตามีนและฝิ่นของกลางมาเพื่อจะมอบให้สายลับ แต่ถูกพันตำรวจโท ส.กับพวกจับเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ได้นำสายลับมาเบิกความ ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ให้สายลับนำเงินไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย การกระทำดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนกฎหมาย มิได้ผิดศีลธรรมหรือทำนองคลองธรรม มิได้เป็นการใส่ร้ายป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้จำเลย หากจำเลยมิได้มียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อสายลับไปขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย จำเลยย่อมไม่มียาเสพติดให้โทษจะจำหน่ายให้แก่สายลับความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมรับฟังลงโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.อ. มาตรา 226
จำเลยรับเงินจากสายลับ แล้วจำเลยไปหยิบฝิ่นมาแต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบฝิ่นให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยเสียก่อน จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานจำหน่ายฝิ่น คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: การอ่านคำพิพากษาจริง vs. การรับทราบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26 บัญญัติให้ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงาน มีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมเป็นบทบัญญัติไว้เฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แม้โจทก์ลงลายมือชื่อในหน้าสำนวนรับว่าศาลแรงงานกลาง ได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 แต่ตาม คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 โจทก์อ้างว่าตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ถึงปลายเดือนมิถุนายน 2541 โจทก์ติดตามผลคำพิพากษาคดีนี้ ตลอดมาก็ไม่พบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษา จนกระทั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 โจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้องของ โจทก์ดังกล่าวกรณียังถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ให้โจทก์ฟัง กรณีย่อมมีเหตุที่จะขอขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะไต่สวนคำร้อง ของโจทก์ดังกล่าวว่าเป็นจริงตามคำร้องหรือไม่ ไม่ควร ด่วนยกคำร้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้เขียนด้วยนามปากกา: พยานหลักฐานต้องชัดเจนและมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
การใช้นามปากกาแทนชื่อจริง บุคคลทั่วไปจะรู้จักแต่นามปากกาไม่สามารถรู้ชื่อจริงได้ แม้จะเป็นบุคคลหรือเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่นั้นก็ตาม เพราะการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่นั้นไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา ได้ว่านามปากกาใดเป็นของผู้ใด คำเบิกความของ พันตำรวจโท อ. ไม่ได้แสดงเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าตนรู้ได้อย่างไรว่าจำเลยที่ 2 ใช้นามปากกาว่าคมแฝกพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนัก คดีรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เขียนคอลัมน์สังคมบ้านเรา ในหนังสือพิมพ์บ.โดยใช้นามปากกาว่าคมแฝก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความสุจริต vs. ใส่ความทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการโฆษณาคำพิพากษา
ข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เรียกเงิน 5 ล้าน ในการถ่ายภาพนู้ด นั้น จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความ จริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่มีข้อความ ที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์ แต่กลับ เป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความ เพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริง เข้าใจผิด ดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ อันส่งผลกระทบต่อเกียรติยศและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติ ชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 กำหนดให้คดี หมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์ หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณานั้นเป็นการให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำขออภัยด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษา ของศาลทั้งหมดนั้นก็เกินความจำเป็น สมควรให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลโดยย่อพอได้ใจความ โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า บริษัท ข.จำเลยที่ 2 เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำ ความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและ จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป จึงไม่พอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
of 94