พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวน อย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจ หยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัย ไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิด ชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อน ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริง หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลง ค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกันในคดีค่าจ้างและค่าชดเชย จำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยใหม่
จำเลยให้การว่า ค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดสำนวนจำเลยได้จ่ายให้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดสำนวน อันแสดงถึงข้อต่อสู้ของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าเมื่อจำเลยไม่ค้างจ่ายค่าจ้างตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดสำนวน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินค้างชำระทุกระยะเวลา 7 วัน ตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดสำนวนด้วย
ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยประสบภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่จากคำแถลงรับของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานที่ว่า ก่อนที่จำเลยจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดนั้น มีการประชุมระดับผู้บริหารว่าบริษัทจำเลยขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องลดพนักงานลง ประกอบคำเบิกความของพยานจำเลยซึ่งเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้และการนำสืบของจำเลย รวมตลอดทั้งข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยที่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยโดยถูกจำเลยเลิกจ้างเสียก่อน ในปัญหานี้ศาลแรงงานได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด อันหมายถึงว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าการที่ต่อมาศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยไม่ได้ให้การว่าเลิกจ้างหรือไม่ และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ 19 คน ส่วนอีก12 คน ไม่ได้เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง แต่กลับพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดและกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ไม่ปรากฏว่าถูกเลิกจ้าง ยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ให้กลับมีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความด้วยเช่นนี้ ย่อมเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกันเอง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนหรือเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง ถือได้ว่าศาลแรงงานยังไม่ได้วินิจฉัยตามข้อหาทุกข้อ ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนนี้แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยในประเด็นนี้ใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2540 ตามฟ้องของโจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงินรวม 24,570 บาท และ 87,540 บาท แต่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 ไปแล้ว 10,200 บาท และ 8,500 บาทจึงยังคงเหลือค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 14,370 บาท และ79,040 บาท ตามลำดับ แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 143,370 บาท และ 108,220 บาท จึงเป็นการไม่ถูกต้องและเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยประสบภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่จากคำแถลงรับของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานที่ว่า ก่อนที่จำเลยจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดนั้น มีการประชุมระดับผู้บริหารว่าบริษัทจำเลยขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องลดพนักงานลง ประกอบคำเบิกความของพยานจำเลยซึ่งเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้และการนำสืบของจำเลย รวมตลอดทั้งข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยที่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยโดยถูกจำเลยเลิกจ้างเสียก่อน ในปัญหานี้ศาลแรงงานได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด อันหมายถึงว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าการที่ต่อมาศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยไม่ได้ให้การว่าเลิกจ้างหรือไม่ และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ 19 คน ส่วนอีก12 คน ไม่ได้เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง แต่กลับพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดและกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ไม่ปรากฏว่าถูกเลิกจ้าง ยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ให้กลับมีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความด้วยเช่นนี้ ย่อมเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกันเอง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนหรือเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง ถือได้ว่าศาลแรงงานยังไม่ได้วินิจฉัยตามข้อหาทุกข้อ ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนนี้แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยในประเด็นนี้ใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2540 ตามฟ้องของโจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงินรวม 24,570 บาท และ 87,540 บาท แต่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 ไปแล้ว 10,200 บาท และ 8,500 บาทจึงยังคงเหลือค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 14,370 บาท และ79,040 บาท ตามลำดับ แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 143,370 บาท และ 108,220 บาท จึงเป็นการไม่ถูกต้องและเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางบางส่วน กรณีเลิกจ้างและค่าชดเชย เนื่องจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน
จำเลยให้การว่า ค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนจำเลยได้จ่ายให้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้อง รับผิดชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวน อันแสดงถึงข้อต่อสู้ของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า เมื่อจำเลยไม่ค้างจ่ายค่าจ้างตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ร้อยละสิบห้าของเงินค้างชำระทุกระยะเวลา 7 วัน ตามฟ้อง โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยประสบภาวะซบเซา ทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่จากคำแถลงรับ ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด กับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณา ของศาลแรงงานที่ว่า ก่อนที่จำเลยจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด นั้น มีการประชุมระดับผู้บริหารว่าบริษัทจำเลย ขาดสภาพคล่อง จำเป็นต้องลดพนักงานลง ประกอบคำเบิกความ ของพยานจำเลยซึ่งเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้และการนำสืบ ของจำเลย รวมตลอดทั้งข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน โดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัย ที่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยโดยถูกจำเลย เลิกจ้างเสียก่อน ในปัญหานี้ศาลแรงงานได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดอันหมายถึงว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าการที่ต่อมาศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยไม่ได้ให้การว่าเลิกจ้างหรือไม่ และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ 19 คน ส่วนอีก 12 คน ไม่ได้เลิกจ้างโดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง แต่กลับพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดและกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ไม่ปรากฏว่าถูกเลิกจ้าง ยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ให้กลับมีสิทธิ นำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความด้วยเช่นนี้ ย่อมเป็นการ วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกันเอง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลย เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด คนหรือเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง ถือได้ว่าศาลแรงงานยังไม่ได้วินิจฉัยตามข้อหาทุกข้อ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนนี้แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยในประเด็นนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2540 ตามฟ้อง ของโจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงินรวม 24,570 บาท และ 87,540 บาท แต่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 ไปแล้ว 10,200 บาท และ 8,500 บาท จึงยังคงเหลือค่าจ้างค้างจ่าย แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 14,370 บาท และ 39,040 บาท ตามลำดับ แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างค้างจ่าย แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 143,370 บาท และ 108,220 บาท จึงเป็นการไม่ถูกต้องและเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลย ไม่อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4967/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วมผู้เสียหาย ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุดเมื่อปรากฏตามคำร้องของ โจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีอาญากับจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่คัดค้านแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์ แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วม เช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4967/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถอนคำร้องทุกข์คดีอาญาโดยโจทก์ร่วม ย่อมระงับการดำเนินคดี
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีอาญากับจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์ แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วม เช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยลักษณะสัญญาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน แม้เอกสารระบุเป็นสัญญาเช่าซื้อ
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลย และโจทก์เบิกความว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยตามเอกสารที่ระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายตามที่โจทก์ฟ้องและเบิกความ หรือเป็นสัญญาเช่าซื้อตามข้อความที่ระบุในเอกสาร ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อแต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้าและสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดิน ให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลา ที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความใน เอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่อง การเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มี เรื่องการกลับเข้าครอบที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอัน จะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็น ส่วนสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก ดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึง เป็นสัญญาจะซื้อขาย โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อศาลฎีกา โดยข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำ กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน กับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัย ต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญา หรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้น ยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจ วินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น วินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษา ใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อ ศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงิน ให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญา หรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหา ว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเภทสัญญา และส่งกลับให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นการชำระเงินและผิดสัญญา
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลย และโจทก์เบิกความว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยตามเอกสารที่ระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายตามที่โจทก์ฟ้องและเบิกความ หรือเป็นสัญญาเช่าซื้อตามข้อความที่ระบุในเอกสาร
ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ แต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้า และสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลาที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความในเอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่องการเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มีเรื่องการกลับเข้าครองที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอันจะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 574 วรรคแรกดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อขาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ และศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาช่าซื้อดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญาหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหาว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ แต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้า และสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลาที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความในเอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่องการเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มีเรื่องการกลับเข้าครองที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอันจะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 574 วรรคแรกดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อขาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ และศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาช่าซื้อดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญาหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหาว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้รับเหมาชั้นต้นในฐานะนายจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 และหลักการนอกเหนือคำฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสองได้จ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างสร้างสถานีอนามัยและบ้านพักสถานีอนามัย โดยได้ระบุวันที่อ้างว่าจำเลยจ้างโจทก์ และระบุประเภท ตำแหน่ง อัตราค่าจ้าง กำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้ด้วย รวมทั้งจำเลยทั้งสองค้างค่าจ้างโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใด และเมื่อโจทก์ทวงถาม จำเลยทั้งสองปฏิเสธไม่ยอมจ่ายให้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 เป็นบทบังคับในกรณีที่ผู้รับเหมาช่วงเป็นนายจ้างของลูกจ้าง แต่ผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของลูกจ้างด้วยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้รับเหมาช่วงที่เป็นนายจ้างของลูกจ้างในหนี้เงินบางประเภทดังที่กำหนดไว้เท่านั้น กรณีมิได้หมายความว่า ผู้รับเหมาชั้นต้นมีฐานะเป็นนายจ้างของลูกจ้างไปด้วย สภาพของการเป็นนายจ้างก็ดี หรือลูกจ้างก็ดี เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หากโจทก์ประสงค์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 แล้ว ก็ชอบที่จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงถึงฐานะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ตรงกับบทกฎหมายดังกล่าวให้แจ้งชัด
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานฟังมาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นโดยมีโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วง ส่วนโจทก์ที่ 2ถึงที่ 15 เป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 มิใช่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่15 และคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบและศาลฎีกาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมายว่าด้วยอายุความ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 เป็นบทบังคับในกรณีที่ผู้รับเหมาช่วงเป็นนายจ้างของลูกจ้าง แต่ผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของลูกจ้างด้วยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้รับเหมาช่วงที่เป็นนายจ้างของลูกจ้างในหนี้เงินบางประเภทดังที่กำหนดไว้เท่านั้น กรณีมิได้หมายความว่า ผู้รับเหมาชั้นต้นมีฐานะเป็นนายจ้างของลูกจ้างไปด้วย สภาพของการเป็นนายจ้างก็ดี หรือลูกจ้างก็ดี เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หากโจทก์ประสงค์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 แล้ว ก็ชอบที่จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงถึงฐานะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ตรงกับบทกฎหมายดังกล่าวให้แจ้งชัด
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานฟังมาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นโดยมีโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วง ส่วนโจทก์ที่ 2ถึงที่ 15 เป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 มิใช่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่15 และคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบและศาลฎีกาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาชั้นต้นต่อลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง: การฟ้องไม่ชัดเจนและฐานะนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสองได้จ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างสร้างสถานีอนามัยและบ้านพักสถานีอนามัย โดยได้ระบุวันที่อ้างว่าจำเลยจ้างโจทก์ และระบุประเภท ตำแหน่ง อัตราค่าจ้างกำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้ด้วย รวมทั้งจำเลยทั้งสองค้างค่าจ้างโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใด และเมื่อโจทก์ทวงถาม จำเลยทั้งสองปฏิเสธไม่ยอมจ่ายให้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วคำฟ้องโจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7เป็นบทบังคับในกรณีที่ผู้รับเหมาช่วงเป็นนายจ้างของลูกจ้างแต่ผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของลูกจ้างด้วยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้รับเหมาช่วงที่เป็นนายจ้างของลูกจ้างในหนี้เงินบางประเภทดังที่กำหนดไว้เท่านั้น กรณีมิได้หมายความว่า ผู้รับเหมาชั้นต้นมีฐานะเป็นนายจ้างของลูกจ้างไปด้วย สภาพของการเป็นนายจ้าง ก็ดี หรือลูกจ้างก็ดี เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หากโจทก์ประสงค์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ข้อ 7 แล้ว ก็ชอบที่จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงถึงฐานะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ตรงกับบทกฎหมาย ดังกล่าวให้แจ้งชัด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานฟังมาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นโดยมีโจทก์ที่ 1เป็นผู้รับเหมาช่วง ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 เป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 มิใช่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 ตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 และคำให้การของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ และศาลฎีกาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 จะนำคำฟ้อง มายื่นใหม่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายความผิดทางอาญา: เพียงระบุช่วงเวลาที่เกิดเหตุก็เพียงพอแล้ว
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสองว่า เมื่อระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองร่วมกันครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายเพื่อนำไปดำเนินการอัดเป็นเม็ดแล้วนำส่งกลับคืนให้ผู้เสียหาย แต่ในวันเวลาดังกล่าวจำเลยทั้งสองได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองไปเป็นของจำเลยทั้งสองโดยทุจริต อันเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดเป็นช่วงวัน เวลา ใดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายระบุวันเวลาที่แน่ชัดว่าจะต้องเป็นวันที่เท่าใดเดือนใดเวลาอะไรที่แน่นอนไม่