พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเพียงพอของฟ้องอาญา: การระบุช่วงเวลาการกระทำความผิดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสองว่า เมื่อระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 เวลากลางวันและกลางคืน ติดต่อกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองร่วมกัน ครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายเพื่อนำไปดำเนินการอัด เป็นเม็ดแล้วนำส่งกลับคืนให้ผู้เสียหาย แต่ในวันเวลาดังกล่าว จำเลยทั้งสองได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองไปเป็น ของจำเลยทั้งสองโดยทุจริต อันเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและ สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจ ข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำผิด เป็นช่วงวัน เวลา ในตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายระบุวันเวลาที่แน่ชัดว่าจะต้องเป็น วันที่เท่าใดเดือนใดเวลาอะไรที่แน่นอนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลไม่ตัดสิทธิโจทก์แม้ไม่ได้ระบุชัดเจนในฟ้อง
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาบอกเลิกจ้างโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ขอให้จ่ายเงินต่างๆตามสิทธิที่โจทก์จะได้รับ รวมทั้งค่าเสียหายที่จำเลย เลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ย่อมเป็น การเพียงพอที่จะถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างถึงการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ด้วยแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวหรือบรรยายมาในฟ้อง โดยชัดแจ้งหรือต้องนำสืบถึงการกระทำอื่นใด ว่าไม่เป็นธรรมอย่างไรอีกไม่ ฉะนั้น ที่ศาลแรงงาน พิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จึงชอบแล้วมิได้ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: คำฟ้องเพียงพอ ศาลไม่ต้องรอการนำสืบ
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาบอกเลิกจ้างโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ขอให้จ่ายเงินต่าง ๆ ตามสิทธิที่โจทก์จะได้รับ รวมทั้งค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างถึงการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวหรือบรรยายมาในฟ้องโดยชัดแจ้งหรือต้องนำสืบถึงการกระทำอื่นใดว่าไม่เป็นธรรมอย่างไรอีกไม่ ฉะนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จึงชอบแล้วมิได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความรับผิดทางละเมิดจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นอันตราย – การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากการทำงานยังถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคดังกล่าวเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ปล่อยให้ฝุ่นฝ้ายฟุ้งกระจายเกินมาตรฐานที่ทางราชการกำหนด จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่าฝุ่นฝ้ายที่ฟุ้งกระจายนั้นย่อมเกิดอันตรายต่อโจทก์ การเจ็บป่วยของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากการทำงานยังถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคดังกล่าวเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ปล่อยให้ฝุ่นฝ้ายฟุ้งกระจายเกินมาตรฐานที่ทางราชการกำหนด จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่าฝุ่นฝ้ายที่ฟุ้งกระจายนั้นย่อมเกิดอันตรายต่อโจทก์ การเจ็บป่วยของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การขับรถยนต์ของโจทก์เป็นการขับรถโดยประมาทนั้น โจทก์เห็นว่ายังไม่เข้าองค์ประกอบของหลักกฎหมายที่ถือเป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาท คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าเสียงที่โจทก์ได้ยินเป็นเสียงดังมาจากเครื่องยนต์ การที่เครื่องยนต์มีเสียงดังผิดปกติในระหว่างที่โจทก์ทำหน้าที่พนักงานขับรถ แต่โจทก์มิได้หยุดรถเพื่อตรวจดู กลับขับรถต่อไปจนเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับและได้รับความเสียหายมากเช่นนี้ ถือว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์เข้าใจว่าเสียงดังนั้นเป็นเสียงของตู้คอนเทนเนอร์ มิใช่เสียงที่ดังมาจากเครื่องยนต์ และอุทธรณ์ต่อไปว่า คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของจำเลยมิได้โดยสารไปกับรถด้วย จึงมิอาจวินิจฉัยว่าเสียงที่ว่าโจทก์ได้ยินดังกล่าวเป็นเสียงดังมาจากเครื่องยนต์ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ค่าเสียหายที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างชำระแก่จำเลยภายในระยะที่กำหนดเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้แก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ผิดนัด จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
แม้หนี้ที่เกิดขึ้นของโจทก์ในคดีนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 12 ได้บัญญัติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวในเวลาที่กำหนด และมาตรา 13 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วยเท่านั้น พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวหาได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ดังนั้น จึงนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยเรื่องหนี้มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ได้
ค่าเสียหายที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างชำระแก่จำเลยภายในระยะที่กำหนดเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้แก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ผิดนัด จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
แม้หนี้ที่เกิดขึ้นของโจทก์ในคดีนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 12 ได้บัญญัติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวในเวลาที่กำหนด และมาตรา 13 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วยเท่านั้น พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวหาได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ดังนั้น จึงนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยเรื่องหนี้มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง, การประมาท, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากความเสียหายที่ลูกจ้างกระทำ
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การขับรถยนต์ ของโจทก์เป็นการขับรถโดยประมาทนั้น โจทก์เห็นว่ายังไม่ เข้าองค์ประกอบของหลักกฎหมายที่ถือเป็นความผิดฐานกระทำ โดยประมาท คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าเสียงที่โจทก์ได้ยินเป็นเสียงดังมาจากเครื่องยนต์การที่เครื่องยนต์มีเสียงดังผิดปกติในระหว่างที่โจทก์ทำหน้าที่ พนักงานขับรถ แต่โจทก์มิได้หยุดรถเพื่อตรวจดู กลับขับรถต่อไป จนเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับและได้รับความเสียหายมากเช่นนี้ ถือว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์เข้าใจว่าเสียงดังนั้นเป็นเสียงของตู้คอนเทนเนอร์ มิใช่เสียงที่ดังมาจากเครื่องยนต์ และอุทธรณ์ต่อไปว่า คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของจำเลยมิได้โดยสารไปกับรถด้วย จึงมิอาจวินิจฉัยว่าเสียงที่ว่าโจทก์ได้ยินดังกล่าวเป็นเสียงดัง มาจากเครื่องยนต์ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ค่าเสียหายที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็น ลูกจ้างชำระแก่จำเลยภายในระยะที่กำหนดเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ ไม่ชำระหนี้แก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ผิดนัด จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แม้หนี้ที่เกิดขึ้นของโจทก์ในคดีนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแต่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 12 ได้บัญญัติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวในเวลาที่กำหนด และมาตรา 13 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบและพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วยเท่านั้น พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวหาได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ดังนั้น จึงนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องหนี้มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ศาลต้องยกฟ้องเมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบ นำพาของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร หรือจำเลยได้ซื้อ รับไว้ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของกลางดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นของผู้อื่นลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษี ข้างต้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นคนละฐานกัน และโจทก์มี ความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหนึ่งเพียงฐานเดียว จะลงโทษจำเลยในเรื่องเดียวกันทั้งสองฐานไม่ได้ คำให้การ ของจำเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการยังไม่ชัดเจน พอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด ย่อมเป็นหน้าที่ ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานต่อไปให้ได้ความถึงการกระทำผิด ของจำเลยว่าได้กระทำความผิดฐานใดแน่หาใช่เป็นหน้าที่ ของศาลที่จะสอบถามจำเลยว่าจะให้การรับสารภาพในฐานความผิดใดเมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยาน คำให้การรับสารภาพของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องและคดี ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณา สอบถามคำให้การของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากอุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไรทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษา ลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้ โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลล่าง ศาลไม่รับวินิจฉัย
ป.วิ.อ. มาตรา 193, 216, 225
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไร ทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไร ทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย