คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อร่าม หุตางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงห้ามตั้งครรภ์กับลูกจ้างหญิง: นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้มีข้อตกลง
แม้จำเลยกับโจทก์จะมีข้อตกลงกันไว้ว่านักแสดงหญิงจะตั้งครรภ์ไม่ได้ หากตั้งครรภ์จะต้องถูกเลิกจ้างก็ตามแต่การที่โจทก์ตั้งครรภ์นั้นมิใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาแก่นายจ้าง การทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือเข้าข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่นายจ้างไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีไว้เพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดต่างกระทง
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ลักษณะของการกระทำแตกต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่าจำหน่ายว่า ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 4 ดังนี้แสดงว่าพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้วครั้นจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไปบางส่วนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดต่างกระทง
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ลักษณะของการกระทำแตกต่างกันเป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4 ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่าจำหน่ายว่าให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ดังนี้แสดงว่าพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้ว ครั้นจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไปบางส่วนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโรงงาน: การยินยอมเปรียบเทียบปรับต้องแจ้งพนักงานสอบสวนก่อน
กรณีตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 65เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณา ของศาลหาได้ไม่ คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบปรับ พ.ร.บ.โรงงาน: จำเป็นต้องยินยอมก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ
กรณีตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 65 เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณาของศาลหาได้ไม่
คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญา: การชดใช้ค่าเสียหายเป็นเหตุระงับความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
จำเลยเข้าไปตัดโค่นต้นยางพารา ในที่ดินพิพาทแล้วได้ปลูก ต้นยางพารา ใหม่ทดแทน โจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีอาญากับจำเลยในข้อหาเกี่ยวกับที่ดินพิพาทและการตัดโค่นยางพาราในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานตำรวจได้ไกล่เกลี่ยจนจำเลยตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในการโค่นต้นยางพารา ดังกล่าว หลังจากที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันได้แล้ว เจ้าพนักงานตำรวจผู้รับคำร้องทุกข์ก็หาได้ดำเนินคดีตามที่โจทก์ร้องทุกข์ไว้ไม่ เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยอีก เพราะหากจำเลยยังต้องถูกดำเนินคดีตามที่โจทก์ร้องทุกข์ไว้โดย ไม่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน จำเลยคงจะไม่ยินยอมชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) มิใช่เป็นการตกลงยอมความกันเฉพาะในทางแพ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร: ศาลลงโทษได้ตามข้อเท็จจริง แม้ฟ้องเฉพาะฐานลักทรัพย์
ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติให้การกระทำความผิดระหว่างฐานลักทรัพย์และรับของโจรมิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ แต่เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดเท่านั้น และไม่ให้ถือว่าเป็นกรณีเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษด้วย เว้นแต่จำเลยจะหลงต่อสู้ เมื่อคดีนี้แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่จำเลยให้การและนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของกลาง จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยหลงต่อสู้อันจะได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าว ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานรับของโจร แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ หากจำเลยปฏิเสธและมีเหตุผล ศาลลงโทษฐานรับของโจรได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามบัญญัติให้การกระทำความผิดระหว่างฐานลักทรัพย์และรับของโจรมิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญแต่เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดเท่านั้น และไม่ให้ถือว่าเป็นกรณีเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษด้วย เว้นแต่จะหลงต่อสู้ เมื่อคดีนี้แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่จำเลยให้การและนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของกลางจึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยหลงต่อสู้อันจะได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าว ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเกินกว่าเหตุ และเจตนาในการทำร้ายร่างกาย ศาลลดโทษฐานป้องกันเกินกว่าเหตุ
โจทก์ร่วมถามจำเลยที่ 1 ถึงเรื่องที่จำเลยที่ 1ด่าบิดาโจทก์ร่วม การที่จำเลยที่ 1 ตอบว่า "ให้กลับไปถามพ่อมึงดู" ถ้อยคำดังกล่าวหาได้มีความหมายเป็นการด่าไม่ จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1สมัครใจเข้าวิวาทกับโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยที่ 1ถูกโจทก์ร่วมเข้าทำร้ายก่อน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้ แต่โจทก์ร่วมเข้าทำร้ายจำเลยที่ 1โดยใช้มือกระชากผมและตบใบหน้าหลายครั้ง จากนั้นทั้งคู่เข้ากอดปล้ำกัน การที่จำเลยที่ 1 ใช้มีดแทงทำร้ายโจทก์ร่วมซึ่งปราศจากอาวุธที่บริเวณเอวจึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้เท่านั้นสำหรับบาดแผลที่โจทก์ร่วมได้รับนั้นแม้จะเป็นบริเวณเอวและช่องท้อง แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสที่จะเลือกแทงได้เนื่องจากกำลังกอดปล้ำกับโจทก์ร่วมอยู่ ทั้งจำเลยที่ 1หยุดทำร้ายโจทก์ร่วมทันทีเมื่อมีคนมาห้าม และส่งมีดให้ยึดไว้โดยดี แสดงให้เห็นว่าไม่ประสงค์ต่อชีวิตของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายโจทก์ร่วมจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายโดยเกินกว่ากรณีจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ค่าจ้างในคำให้การ: ศาลฎีกาชี้การตีความผิดพลาด นำไปสู่การงดสืบพยานที่ไม่ถูกต้อง
ตามคำให้การของจำเลยมีข้อความระบุไว้ว่า "จำเลยเคยเสนอเหตุผลว่า จำเลยนี้ไม่เคยติดค้างค่าจ้างแก่โจทก์กับพวกดังที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง"ย่อมมีความหมายว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยให้การปฎิเสธว่าไม่ได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าค้างจ่ายค่าจ้างจริงตามที่โจทก์ฟ้อง จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย และพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
of 94