พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดีแรงงานต้องอยู่ภายในคำท้าของคู่ความ ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจลงโทษเหมาะสม
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยไม่สืบพยานว่า ตามกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ข้อที่ 2เพียงว่าหากศาลวินิจฉัยว่า พนักงานมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเริ่มทำงานในปีที่ 2 โดยมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้6 วัน การที่ผู้คัดค้านยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีในวันที่ 15และวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 และหยุดงานไปในวันดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเกินกว่าที่ผู้ร้องกำหนด ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ และขาดงานเท่านั้น หาได้มีข้อตกลงหรือคำท้าว่า หากศาลวินิจฉัย ความหมายของกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ข้อที่ 2 เป็นไปตามความหมายที่ผู้ร้องอ้างแล้ว ผู้คัดค้าน จะต้องถูกลงโทษตามที่ผู้ร้องได้ร้องขอด้วยไม่ ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานพิจารณากฎระเบียบดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเกินกว่าที่ผู้ร้อง กำหนดเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ของผู้ร้องจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามคำท้าครบถ้วนแล้ว หาใช่วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำท้า ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงแต่ตักเตือนเป็นหนังสืออย่างเดียว โดยไม่อนุญาตให้ลงโทษปรับลดผู้คัดค้านมาเป็นพนักงานรายวัน เพราะเห็นว่าการที่ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องดังกล่าวก็โดยเข้าใจว่าสิทธิในการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของผู้คัดค้านยังเหลืออยู่ มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่ หรือขาดงานไปโดยไม่มีเหตุอันควร อันเป็นการใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านตามความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์ซึ่งศาลแรงงานชอบที่จะกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนและการใช้ดุลพินิจลงโทษ: ศาลแรงงานวินิจฉัยการใช้สิทธิลาพักร้อนเกินกำหนดและดุลพินิจในการลงโทษ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยไม่สืบพยานว่า ตามกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ข้อที่ 2 เพียงว่าหากศาลวินิจฉัยว่า พนักงานมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเริ่มทำงานในปีที่ 2 โดยมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 6 วัน การที่ผู้คัดค้านยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีในวันที่ 15 และวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 และหยุดงานไปในวันดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเกินกว่าที่ผู้ร้องกำหนด ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และขาดงานเท่านั้น หาได้มีข้อตกลงหรือคำท้าว่า หากศาลวินิจฉัยความหมายของกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีข้อที่ 2 เป็นไปตามความหมายที่ผู้ร้องอ้างแล้ว ผู้คัดค้านจะต้องถูกลงโทษตามที่ผู้ร้องได้ร้องขอด้วยไม่ ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานพิจารณากฎระเบียบดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเกินกว่าที่ผู้ร้องกำหนดเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามคำท้าครบถ้วนแล้ว หาใช่วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำท้า
ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงแต่ตักเตือนเป็นหนังสืออย่างเดียว โดยไม่อนุญาตให้ลงโทษปรับลดผู้คัดค้านมาเป็นพนักงานรายวัน เพราะเห็นว่าการที่ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องดังกล่าวก็โดยเข้าใจว่าสิทธิในการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของผู้คัดค้านยังเหลืออยู่ มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่หรือขาดงานไปโดยไม่มีเหตุอันควร อันเป็นการใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านตามความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์ ซึ่งศาลแรงงานชอบที่จะกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงแต่ตักเตือนเป็นหนังสืออย่างเดียว โดยไม่อนุญาตให้ลงโทษปรับลดผู้คัดค้านมาเป็นพนักงานรายวัน เพราะเห็นว่าการที่ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องดังกล่าวก็โดยเข้าใจว่าสิทธิในการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของผู้คัดค้านยังเหลืออยู่ มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่หรือขาดงานไปโดยไม่มีเหตุอันควร อันเป็นการใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านตามความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์ ซึ่งศาลแรงงานชอบที่จะกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการอนุญาตลงโทษทางวินัย ต้องพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำผิดและระเบียบข้อบังคับของบริษัท
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานขับรถได้กำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาโทษไว้ดังนี้ (1) ตักเตือนด้วยวาจาและบันทึกการตักเตือน(2) การตักเตือนเป็นหนังสือ (3) พักงาน 3 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (4) พักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง และ(5) ปลดออก ดังนั้นในการพิจารณาโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป การกระทำความผิดของ ม. พนักงานขับรถในครั้งก่อนผู้ร้องได้ลงโทษไปแล้ว และการกระทำความผิดของ ม.ในครั้งนี้มีระยะห่างจากการกระทำความผิดครั้งก่อน 1 ปีเศษโดยไม่ปรากฏว่าระหว่างนั้น ม. ได้ขับรถประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกและผู้ร้องเสียหาย ทั้งความเสียหายที่ได้รับในครั้งนี้ก็คิดเป็นเงินประมาณ 3,500 บาท เมื่อ พิจารณาสภาพของรถที่ ม. ขับและเวลาที่กระทำความผิดแล้วเห็นได้ว่าความผิดของ ม. ไม่ร้ายแรง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม. ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างจึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีทั้งโทษตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้างก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ซึ่งเป็นโทษสถานเบากว่าโทษเลิกจ้างตามที่ผู้ร้องร้องขอ กรณีมิใช่ศาลแรงงานอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม. ต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันจะถือเป็นการลดโทษให้แก่ ม. คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษ ม. ดังกล่าว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตดุลพินิจศาลแรงงานในการลงโทษทางวินัย: พิจารณาความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานขับรถได้กำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาโทษไว้ดังนี้ (1) ตักเตือนด้วยวาจาและบันทึกการตักเตือน(2) การตักเตือนเป็นหนังสือ (3) พักงาน 3 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (4) พักงาน7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง และ (5) ปลดออก ดังนั้นในการพิจารณาโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป
การกระทำความผิดของ ม.พนักงานขับรถในครั้งก่อน ผู้ร้องได้ลงโทษไปแล้ว และการกระทำความผิดของ ม.ในครั้งนี้มีระยะห่างจากการกระทำความผิดครั้งก่อน 1 ปีเศษ โดยไม่ปรากฏว่าระหว่างนั้น ม.ได้ขับรถประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกและผู้ร้องเสียหาย ทั้งความเสียหายที่ได้รับในครั้งนี้ก็คิดเป็นเงินประมาณ 3,500 บาท เมื่อพิจารณาสภาพของรถที่ ม.ขับและเวลาที่กระทำความผิดแล้ว เห็นได้ว่าความผิดของ ม.ไม่ร้ายแรง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี ทั้งโทษตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้างก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ซึ่งเป็นโทษสถานเบากว่าโทษเลิกจ้างตามที่ผู้ร้องร้องขอ กรณีมิใช่ศาลแรงงานอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันจะถือเป็นการลดโทษให้แก่ ม. คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษ ม.ดังกล่าว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การกระทำความผิดของ ม.พนักงานขับรถในครั้งก่อน ผู้ร้องได้ลงโทษไปแล้ว และการกระทำความผิดของ ม.ในครั้งนี้มีระยะห่างจากการกระทำความผิดครั้งก่อน 1 ปีเศษ โดยไม่ปรากฏว่าระหว่างนั้น ม.ได้ขับรถประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกและผู้ร้องเสียหาย ทั้งความเสียหายที่ได้รับในครั้งนี้ก็คิดเป็นเงินประมาณ 3,500 บาท เมื่อพิจารณาสภาพของรถที่ ม.ขับและเวลาที่กระทำความผิดแล้ว เห็นได้ว่าความผิดของ ม.ไม่ร้ายแรง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี ทั้งโทษตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้างก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ซึ่งเป็นโทษสถานเบากว่าโทษเลิกจ้างตามที่ผู้ร้องร้องขอ กรณีมิใช่ศาลแรงงานอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันจะถือเป็นการลดโทษให้แก่ ม. คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษ ม.ดังกล่าว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จเกษียณอายุตามระเบียบสวัสดิการพนักงาน การยอมรับข้อกล่าวอ้างของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินบำเหน็จว่า ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามฉบับที่ได้จดทะเบียน เกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุและที่มีอายุการทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามหลักเกณฑ์ โดยนำค่าจ้างอัตราสุดท้ายคูณจำนวนปีของอายุงาน บวกด้วยค่าครองชีพคูณจำนวนปีของอายุงานลบด้วยเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วย 6 เดือน บวกด้วยค่าครองชีพคูณ 6 เดือน และตกลงว่าจะจ่ายเงินบำเหน็จภายใน 30 วัน นับแต่วันครบเกษียนอายุ และโจทก์ทำงานติดต่อกันมา 30 ปี 1 เดือน 23 วัน มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวน 477,030.40 บาทเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีปฏิเสธเกี่ยวกับเงินบำเหน็จที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จดังกล่าวเพราะเหตุใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามฟ้องแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จหลังเกษียณอายุ: จำเลยยอมรับสิทธิโจทก์โดยไม่ปฏิเสธถือว่ายอมรับตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินบำเหน็จว่า ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามฉบับที่ได้จดทะเบียน เกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุและที่มีอายุการทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี ขึ้นไปมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามหลักเกณฑ์ โดยนำค่าจ้างอัตราสุดท้ายคูณจำนวนปีของอายุงาน บวกด้วยค่าครองชีพคูณจำนวนปีของอายุงานลบด้วยเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วย 6 เดือน บวกด้วยค่าครองชีพคูณ 6 เดือน และตกลงว่าจะจ่ายเงินบำเหน็จภายใน30 วัน นับแต่วันครบเกษียนอายุ และโจทก์ทำงานติดต่อกันมา30 ปี 1 เดือน 23 วัน มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวน477,030.40 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีปฏิเสธเกี่ยวกับเงินบำเหน็จที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จดังกล่าวเพราะเหตุใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสภายหลังเกิดเหตุพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา ผลกระทบต่อความผิดทางอาญา
ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ม. มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์จึงมิอาจสมรสได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 กรณีที่จำเลยต้องการอยู่กินฉันสามีภริยากับเด็กหญิง ม. โดยนาง จ.มารดาเด็กหญิง ม. ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขออนุญาตให้เด็กหญิง ม. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้วแม้ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะอนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก็มิอาจลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำมา ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงชอบแล้ว แต่เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้อนุญาตให้จำเลยและเด็กหญิง ม. สมรสกันการกระทำของจำเลยในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคท้ายแม้จำเลยจะมิได้ฎีกามาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: การระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับ ลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้นย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: วันที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539 มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับค่าเสียหายจากทรัพย์สินหาย: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบได้
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของจำเลยและในช่วงเวลาที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของโจทก์ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยที่โชว์รูมของจำเลย รถจักรยานยนต์ 1 คัน ของ ก.พนักงานของจำเลยซึ่ง ก.เช่าซื้อมาและจอดไว้ที่บริเวณหน้าโชว์รูมดังกล่าวได้หายไป ต่อมาโจทก์มีหนังสือชี้แจงแก่จำเลยว่าโจทก์ไม่อาจชดใช้ค่ารถจักรยานยนต์ให้ได้เนื่องจากเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพนักงานจำเลย และมิได้เก็บไว้ในสถานที่แน่นหนา หรือได้แจ้งส่งมอบโดยลงบันทึกในสมุดรายงานประจำวันของพนักงานรักษาความปลอดภัยตามเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จากนั้นโจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อกัน โดยจำเลยไม่ได้ชำระค่าจ้างก่อนบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ การที่โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคารถจักรยานยนต์ดังกล่าวแก่จำเลยสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไป จึงเป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยผู้ว่าจ้างจึงไม่อาจเอามาหักกลบลบหนี้กับค่าจ้างค้างจ่ายต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 344 และจำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องฟ้องร้องกันเป็นคดีต่างหาก